เผยแพร่งานวิจัย
ในท้องถิ่น กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (ทัศนศิลป์) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ชื่อผู้ศึกษา วินัย มะดารี
ตำแหน่ง วิทยฐานะ ชำนาญการ
ปีการศึกษา 2563
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อหาประสิทธิภาพแบบฝึกทักษะ เรื่อง การสร้างสรรค์งานทัศนศิลป์ด้วยวัฒนธรรมในท้องถิ่น กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (ทัศนศิลป์) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ก่อนและหลังเรียนด้วยแบบฝึกทักษะ เรื่อง การสร้างสรรค์งานทัศนศิลป์ด้วยวัฒนธรรมในท้องถิ่น ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และ 3) เพื่อประเมินความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการใช้แบบฝึกทักษะ เรื่อง การสร้างสรรค์งานทัศนศิลป์ด้วยวัฒนธรรมในท้องถิ่น กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (ทัศนศิลป์)
กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านจือนือแร ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 26 คน ได้มาด้วยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ศึกษาได้แก่ 1) แบบฝึกทักษะ เรื่อง การสร้างสรรค์งานทัศนศิลป์ด้วยวัฒนธรรมในท้องถิ่น กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (ทัศนศิลป์) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 6 เล่ม 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียน เรื่อง การสร้างสรรค์งานทัศนศิลป์ด้วยวัฒนธรรมในท้องถิ่น กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (ทัศนศิลป์) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 30 ข้อ นำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน โดยใช้สถิติค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษาพบว่า
1. ผลการศึกษาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะ เรื่อง การสร้างสรรค์งานทัศนศิลป์ด้วยวัฒนธรรมในท้องถิ่น กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (ทัศนศิลป์) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 สรุปได้ว่า
มีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.31/83.21
2. ผลการศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนแบบฝึกทักษะ เรื่อง การสร้างสรรค์งานทัศนศิลป์ด้วยวัฒนธรรมในท้องถิ่น กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (ทัศนศิลป์) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 คะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียน
3. ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกทักษะ เรื่อง การสร้างสรรค์งานทัศนศิลป์ด้วยวัฒนธรรมในท้องถิ่น กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (ทัศนศิลป์) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5โดยรวมอยู่ในระดับมาก