LASTEST NEWS

26 พ.ย. 2567สพฐ. เข้ม สั่งครูล่วงละเมิดนักเรียนออกจากราชการทันที ย้ำดูแลสภาพจิตใจเด็กเป็นสำคัญ 26 พ.ย. 2567สพฐ.เล็งทำบัตรสุขภาพนักเรียนออนไลน์ 26 พ.ย. 2567ทำไมครูส่วนใหญ่ ไม่สนใจสมัครสอบเป็นศึกษานิเทศก์ 26 พ.ย. 2567ก.พ.ยังนิ่งปมทบทวนจ้างเหมาบริการ “ธนุ” ไม่รอแล้วสั่งทำสัญญาจ่ายเงิน ตามระเบียบกรมบัญชีกลาง 25 พ.ย. 2567ล 1932/2567 หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู และที่แก้ไขเพิ่มเติม 25 พ.ย. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย จำนวน 81 อัตรา - รายงานตัว 28 พ.ย. 2567 25 พ.ย. 2567สพป.สมุทรสาคร เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 14 อัตรา รายงานตัว 3 ธันวาคม 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนเมืองสุรินทร์ รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 25-27 พฤศจิกายน 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนบ้านระไซร์(เด่นพัฒนา) รับสมัครครูอัตราจ้าง วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 7,000.- บาท  24 พ.ย. 2567สพป.เพชรบุรี เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 11 อัตรา - รายงานตัว 4 ธันวาคม 2567

เผยแพร่งานวิจัย

usericon


บทคัดย่อ
ชื่อเรื่อง        การพัฒนารูปแบบชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อส่งเสริมความสามารถในการพัฒนา
ทักษะการคิดของนักเรียน โรงเรียนเทศบาล 3 บ้านเหล่า
ชื่อผู้วิจัย    นางสาวอารีรัตน์ นุตะภิบาล
ปีที่ทำการวิจัย    พ.ศ.2563

การวิจัยเรื่อง การพัฒนารูปแบบชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อส่งเสริมความสามารถในการพัฒนาทักษะการคิดของนักเรียน โรงเรียนเทศบาล 3 บ้านเหล่า มีวัตถุประสงค์การวิจัย 1) เพื่อวิเคราะห์สภาพชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อส่งเสริมความสามารถในการพัฒนาทักษะการคิดของนักเรียน 2) เพื่อพัฒนารูปแบบชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อส่งเสริมความสามารถในการพัฒนาทักษะการคิดของนักเรียน 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อส่งเสริมความสามารถในการพัฒนาทักษะการคิดของนักเรียน และ 4) เพื่อประเมินรูปแบบชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อส่งเสริมความสามารถในการพัฒนาทักษะการคิดของนักเรียน เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) โดยใช้รูปแบบการวิจัยแบบผสมผสานวิธี (Mixed Method Research) มีระยะการวิจัย 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 วิเคราะห์สภาพชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อส่งเสริมความสามารถในการพัฒนาทักษะการคิดของนักเรียน ระยะที่ 2 การพัฒนาและหาคุณภาพของรูปแบบชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อส่งเสริมความสามารถในการพัฒนาทักษะการคิดของนักเรียน และระยะที่ 3 การทดลองและประเมินประสิทธิผลของรูปแบบชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อส่งเสริมความสามารถในการพัฒนาทักษะการคิดของนักเรียน กลุ่มผู้ให้ข้อมูลที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย ผู้บริหารการศึกษา ศึกษานิเทศก์ ผู้บริหารสถานศึกษา และครู เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และแบบประเมิน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย ("(x" ) ̅) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
    ผลการวิเคราะห์สภาพชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อส่งเสริมความสามารถในการ
พัฒนาทักษะการคิดของนักเรียน โรงเรียนเทศบาล 3 บ้านเหล่า พบว่า ด้านการกำหนดนโยบาย โรงเรียนมีนโยบายในการพัฒนาคุณภาพนักเรียนและพัฒนาครู โดยใช้กระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพในการขับเคลื่อน ด้วยร่วมมือกันดำเนินการเพื่อให้เกิดการแก้ปัญหาและพัฒนานักเรียนไปในทิศทางและวิสัยทัศน์ที่กำหนดร่วมกัน ซึ่งเป้าหมายหลักในการพัฒนานักเรียนที่ผู้บริหารสถานศึกษา ศึกษานิเทศก์และครูผู้สอน เห็นสอดคล้องกัน คือ ทักษะการคิดของนักเรียน โรงเรียนจึงได้มีนโยบายในการดำเนินการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพโดยให้ครูจัดการเรียนรู้และพัฒนานวัตกรรมด้วยกระบวนการ วิจัยเพื่อพัฒนาและส่งเสริมให้นักเรียนมีทักษะการคิด ในด้านกลยุทธ์/แผนงานโครงการ พบว่า โรงเรียนได้จัดทำโครงการการพัฒนาชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพลงในแผนพัฒนาสถานศึกษา ประจำปีการศึกษา 2563 เพื่อเตรียมความพร้อมในด้านงบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ และการดำเนินการ ด้านวิธีการขับเคลื่อนการดำเนินการ พบว่า ฝ่ายวิชาการเป็นผู้รับผิดชอบ มีการแต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนกระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ การเตรียมความพร้อมของบุคลากรโดยการสร้างความรู้ความเข้าใจ การเข้ารับการอบรม จัดตารางเวลาในการดำเนินการสอนและประชุม การสนับสนุนงบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ สื่อ มีการกำหนดแผนงานการขับเคลื่อน และมีการรายงานผลการดำเนินงานและการจัดกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ด้านการกำกับติดตามและประเมินผล พบว่า มีการสร้างความรู้ความเข้าใจในเรื่องการ
ประเมินผลการดำเนินการที่ชัดเจน มีการจัดตั้งทีมนิเทศ มีการกำหนดแผนและเครื่องมือกำกับติดตามและนิเทศ มีการนิเทศอย่างเป็นกัลยาณมิตร มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสะท้อนผล มีการนำผลการประเมินเป็นข้อมูลและแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนา ด้านประโยชน์ที่ครูและนักเรียนได้รับ พบว่า ครูมีความรู้ความเข้าใจจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และจากการอบรม ได้รับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญที่สะท้อนผล มีความมั่นใจ มีความสุข รู้สึกไม่โดดเดี่ยว มีแรงผลักดันในการทำงาน ได้รับการช่วยเหลือและสนับสนุให้กำลังใจจากเพื่อนครูและผู้บริหาร มีการพัฒนางานพัฒนาวิชาชีพ นักเรียนมีการพัฒนาทักษะการคิด มีผลการเรียนในระดับที่ดี มีความพร้อมในการอยู่ในยุคศตวรรษที่ 21 ได้มากขึ้น
    รูปแบบชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อส่งเสริมความสามารถในการพัฒนาทักษะการคิด
ของนักเรียน มีชื่อว่า “รูปแบบชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อส่งเสริมความสามารถในการพัฒนาทักษะการคิดของนักเรียน โรงเรียนเทศบาล 3 บ้านเหล่า” มี 3 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) แนวคิดเกี่ยวกับชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อส่งเสริมความสามารถของครูในการพัฒนาทักษะการคิดของนักเรียน 2) วัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาความสามารถของครูในการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิดของนักเรียน
และเพื่อพัฒนาความสามารถของครูในการเขียนงานวิจัยเพื่อพัฒนานวัตกรรมเพื่อพัฒนาทักษะการคิดของนักเรียน และ 3) กระบวนการขับเคลื่อนสู่ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อส่งเสริมความสามารถในการพัฒนาทักษะการคิดของนักเรียน มี 6 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 การนำองค์กรสู่ความร่วมมือ ขั้นที่ 2 การวางแผนและการเตรียมความพร้อม ขั้นที่ 3 การสร้างภาวะผู้นำร่วม ขั้นที่ 4 การส่งเสริมพัฒนาบุคลากร ขั้นที่ 5 การสนับสนุนทรัพยากร และขั้นที่ 6 การกำกับติดตามและประเมินผล

3. การประเมินประสิทธิผลของรูปแบบชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อส่งเสริความสามารถในการพัฒนาทักษะการคิดของนักเรียน โรงเรียนเทศบาล 3 บ้านเหล่า พบว่า ครูมีความสามารถในการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิดของนักเรียนอยู่ในระดับปานกลาง และครูมีความสามารถในการเขียนรายงานวิจัยเพื่อพัฒนานวัตกรรมเพื่อพัฒนาทักษะการคิดของนักเรียนอยู่ในระดับปานกลาง



ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^