การพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้
โดยใช้สมองเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาในศตวรรษที่ 21 สำหรับเด็กปฐมวัย
ชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาล ๖ (อนุบาลในฝัน)
ผู้วิจัย นางศราภรณ์ หนูแก้ว
ปีการศึกษา 2562
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาในศตวรรษที่ 21 สำหรับเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 2) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาในศตวรรษที่ 21 สำหรับเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาในศตวรรษที่ 21 สำหรับเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 และ 4) เพื่อประเมินและปรับปรุงแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาในศตวรรษที่ 21 สำหรับเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นเด็กชายและหญิงชั้นอนุบาลปีที่ 3/4 ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนเทศบาล ๖ (อนุบาลในฝัน) สำนักการศึกษา เทศบาลนครหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา จำนวน 32 คน คนซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบวิเคราะห์ข้อมูลการสนทนากลุ่มย่อย (Focus Groups) การพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้
แบบสืบเสาะหาความรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาในศตวรรษที่ 21 สำหรับเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาล ๖ (อนุบาลในฝัน) จำนวน 1 ฉบับ 2) รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้โดยใช้สมองเป็นฐานเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาในศตวรรษที่ 21 สำหรับเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาล ๖ (อนุบาลในฝัน) 3) ชุดกิจกรรมเสริมประสบการณ์การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาในศตวรรษที่ 21 สำหรับเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 4) แผนการจัดประสบการณ์ประกอบการใช้ชุดกิจกรรมเสริมประสบการณ์การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาในศตวรรษที่ 21 สำหรับเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาล
ปีที่ 3 5) แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดแก้ปัญหาในศตวรรษที่ 21 สำหรับเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 และ 6) แบบประเมินความพึงพอใจของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 ที่มีต่อการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาในศตวรรษที่ 21 สำหรับเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าประสิทธิภาพ
ผลการวิจัยพบว่า
1. ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องต้องการให้มีการพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้
แบบสืบเสาะหาความรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาในศตวรรษที่ 21
สำหรับเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 โดยให้มีรูปแบบที่เหมาะสม มีกิจกรรมหลากหลาย
2. รูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาทักษะการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสืบเสาะ
หาความรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน สำหรับเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 มีขั้นตอนที่สร้างขึ้น มีชื่อว่า “P7A Model” (พีเซเว่นเอ โมเดล) 7 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นที่ 1 เกริ่นนำ (Warm-up Activity : P1A) ขั้นที่ 2 เข้าสู่สิ่งที่ควรเรียนรู้ (Objectives and Purposes Activity : P2A) ขั้นที่ 3 การสร้างสถานการณ์เพื่อการสืบค้นหา (Encountering and Defining the Problem Activity : P3A) ขั้นที่ 4 การฝึกปฏิบัติโดยอิสระ (Independent Activity : P4A) ขั้นที่ 5 การหาข้อมูลและรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้อง (Data collection Activity : P5A) ขั้นที่ 6 การสื่อสาร (Explain Activity : P6A) และขั้นที่ 7 การตรวจสอบสิ่งที่เด็กได้เรียนรู้ (Checking for Learning Activity : P7A) มีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 82.56/83.92 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80
3. ระดับพัฒนาการหลังการใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้
โดยใช้สมองเป็นฐานเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาในศตวรรษที่ 21 สำหรับเด็กปฐมวัย
ชั้นอนุบาลปีที่ 3 สูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน โดยมีระดับพัฒนาการเฉลี่ยก่อนเรียน เท่ากับ 7.43 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.26 ( = 7.43, S.D. = 0.26) คิดเป็นร้อยละ 61.91 และระดับพัฒนาการเฉลี่ยหลังเรียนเท่ากับ 10.07 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.34 ( = 10.07, S.D. = 0.34) คิดเป็นร้อยละ 83.92
4. เด็กชั้นอนุบาลปีที่ 3 มีความพึงพอใจต่อการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน อยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.67 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.47