การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามแนวคิดห้องเรียน
ผู้วิจัย ซารานี หะยีเจะเฮง
หน่วยงาน โรงเรียนเทศบาล ๒ (บ้านบาเละฮิเล)
ปีที่วิจัย ปีการศึกษา 2562
บทคัดย่อ
การวิจัย เรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน โดยใช้โครงงานร่วมกับกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ เรื่อง การดำรงชีวิตของพืช สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเทศบาล ๒ (บ้านบาเละฮิเล) นี้เป็นลักษณะการวิจัยและพัฒนา (Research and Development : R&D) ผสมผสานร่วมกับการออกแบบการจัดการเรียนรู้เชิงระบบ (System Approach) “ADDIE Model” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐาน พัฒนารูปแบบ ทดลองใช้ ประเมินและปรับปรุงรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้านโดยใช้โครงงานร่วมกับกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ เรื่อง การดำรงชีวิตของพืช สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนเทศบาล ๒ (บ้านบาเละฮิเล) จำนวน 78 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ นักเรียนที่กำลังเรียนอยู่ชั้นมัธยมปีที่ 1/1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนเทศบาล ๒
(บ้านบาเละฮิเล) จำนวน 40 คน ด้วยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ด้วยการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster Sampling) จำนวน 1 ห้องเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วยแผนการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน โดยใช้โครงงานร่วมกับกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ เรื่อง การดำรงชีวิตของพืช สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่พัฒนาขึ้นผ่านการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญ คู่มือการใช้แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ แบบทดสอบวัดทักษะการคิดวิเคราะห์ และแบบสอบถามความพึงพอใจต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้านโดยใช้โครงงานร่วมกับกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ เรื่อง การดำรงชีวิตของพืช สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น แล้วนำมาวิเคราะห์ข้อมูล สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที (t-test Dependent Samples)
ผลการวิจัย พบว่า
1. รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้านโดยใช้โครงงานร่วมกับกระบวนการการสืบเสาะหาความรู้ เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และจิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หรือที่เรียกว่า “6S Model” มีองค์ประกอบที่สำคัญ 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1. หลักการ คือ การที่ผู้เรียนเป็นผู้คิดวิเคราะห์ แก้ปัญหาอย่างมีระบบ โดยอาศัยการแสวงหาความรู้ด้วยการสืบเสาะหาความรู้ 2. วัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ ความสามารถในการคิดวิเคราะห์และจิตวิทยาศาสตร์ 3.กระบวนการจัดการเรียนรู้ 1. Information Service ขั้นบริการข้อมูลสารสนเทศ 2. Stimulation ขั้นกระตุ้นความสนใจ 3. Survey ขั้นสำรวจและค้นหา 4. Solve ขั้นออกแบบและแก้ปัญหา 5. Share ขั้นแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 6. Summarize ขั้นสรุปความคิดรวบยอด
2. รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้านโดยใช้โครงงานร่วมกับกระบวนการการสืบเสาะหาความรู้ เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และจิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่สร้างขึ้น มีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.56/83.78 สูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้
3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้านโดยใช้โครงงานร่วมกับกระบวนการการสืบเสาะหาความรู้ เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และจิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนที่เรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้านโดยใช้โครงงานร่วมกับกระบวนการการสืบเสาะหาความรู้ เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และจิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
5. จิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียนที่เรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้านโดยใช้โครงงานร่วมกับกระบวนการการสืบเสาะหาความรู้ เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และจิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
6. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้านโดยใช้โครงงานร่วมกับกระบวนการการสืบเสาะหาความรู้ เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และจิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 อยู่ในระดับมาก