บทคัดย่อ
ทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน โรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองชลบุรี
ผู้วิจัย : ว่าที่ ร.ต.หญิงภูริชญา ยิ้มแย้ม ตำแหน่ง ศึกษานิเทศก์
วิทยฐานะ ศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ สำนักการศึกษา เทศบาลเมืองชลบุรี
จังหวัดเมืองชลบุรี
ปีการศึกษา : 2562
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน และสภาพที่พึงประสงค์การนิเทศเพื่อพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองชลบุรี 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการนิเทศเพื่อพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองชลบุรี 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการนิเทศเพื่อพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองชลบุรี และ 4) เพื่อศึกษาผลการนํารูปแบบการนิเทศเพื่อพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองชลบุรีไปใช้ โดยใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนา (Research and Development:
R & D) กลุ่มตัวอย่างเป็นครูระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองชลบุรี จำนวน 39 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.94 แบบประเมิน แบบสัมภาษณ์เชิงลึก และแบบทดสอบ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เทคนิค Modified Priority Needs Index (PNlmodified)
ผลการวิจัย พบว่า
1. สภาพปัจจุบันของการนิเทศเพื่อพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองชลบุรี โดยรวม อยู่ในระดับปานกลาง ส่วนสภาพที่พึ่งประสงค์ของการนิเทศเพื่อพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองชลบุรี อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการนิเทศเพื่อพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองชลบุรี โดยเรียงลำดับความต้องการจำเป็นจากมากไปหาน้อย ได้แก่ หลักการนิเทศ การประเมินผลและปรับปรุงงาน และการให้ความรู้และวิธีการเรียนรู้
2. รูปแบบการนิเทศเพื่อพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองชลบุรี คือ ARPED Model มีองค์ประกอบ 5 องค์ประกอบ หลัก คือ 1) การประเมินสภาวการณ์ปัจจุบัน (Assessment : A) 2) การสร้างความสัมพันธ์ (Relationship Building : R) 3) การสร้างแนวปฏิบัติการนิเทศการสอน (Practice : P) ประกอบด้วย 3.1) หลักการ 3.2) วัตถุประสงค์ 3.3) กระบวนการนิเทศ ประกอบด้วย 3.3.1) ประชุมก่อนสังเกตการสอน (Pre Observation Conference) 3.3.2) สังเกตเหตุการณ์สำคัญในการจัดการเรียนรู้ 3.3.3) การไตร่ตรองสะท้อนคิด (Reflecting) 3.4) การเป็นพี่เลี้ยงและการสอนงาน (Mentoring and Coaching) 3.5) การประเมินผล และปรับปรุงงาน (Summative Evaluation and Improvement) 4) การประเมินผล (Evaluation) และ 5) การพัฒนาและปรับปรุงงาน (Development)
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการนิเทศเพื่อพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองชลบุรี พบว่า 1) การประเมินความรู้และทักษะการคิดวิเคราะห์ของครูก่อนการพัฒนามีค่าเฉลี่ย 22.07 คิดเป็นร้อยละ 73.56 และหลังการพัฒนามีค่าเฉลี่ย 26.13 คิดเป็นร้อยละ 87.11 และการประเมินความพึงพอใจของครูที่มีต่อรูปแบบการนิเทศ โดยรวม อยู่ในระดับมากที่สุด 2) การประเมินความรู้และทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนก่อนการพัฒนามีค่าเฉลี่ย 31.88 คิดเป็นร้อยละ 79.70 และหลังการพัฒนามีค่าเฉลี่ย 35.00 คิดเป็นร้อยละ 87.50 และการประเมินความพึงพอใจของครูที่มีต่อรูปแบบการนิเทศ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
4. ผลการนำรูปแบบการนิเทศเพื่อพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองชลบุรีไปใช้ และการประเมินรูปแบบที่พัฒนาขึ้น พบว่า การประเมินความรู้และทักษะการคิดวิเคราะห์ก่อนการพัฒนามีค่าเฉลี่ย 24.27 คิดเป็นร้อยละ 80.94 และหลังการพัฒนามีค่าเฉลี่ย 27.27 คิดเป็นร้อยละ 92.85 แสดงว่า ครูผู้ทำหน้าที่เป็นผู้รับการนิเทศมีคะแนนหลังการพัฒนาสูงกว่าคะแนนก่อนการพัฒนา และครูผู้นิเทศและครูผู้รับการนิเทศมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการนิเทศเพื่อพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองชลบุรี โดยภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด