รายงานการดำเนินงานโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนแม
บทคัดย่อ
รายงานการดำเนินงานโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนแม่มอกวิทยา ปีการศึกษา 2563 มีวัตถุประสงค์เพื่อรายงานผลการดำเนินงานโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนแม่มอกวิทยา ปีการศึกษา 2563 เพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะในการดำเนินงานโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนแม่มอกวิทยา ปีการศึกษา 2563 เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อการดำเนินงานโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนแม่มอกวิทยา ปีการศึกษา 2563 ประชากรกลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการรายงานครั้งนี้ ได้แก่ ครูผู้สอนและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 16 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจำนวน 7 คน (ไม่รวม ผู้แทนครู และผู้บริหารสถานศึกษา) ผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 – 6 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 - 3 จำนวน 86 คน และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 – 6 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 - 3 จำนวน 86 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบสอบถามจำนวน 4 ชุด คือ แบบสอบถามชุดที่ 1 ศึกษาผลการดำเนินงานโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนแม่มอกวิทยา ปีการศึกษา 2563 สำหรับสอบถามครูผู้สอนและบุคลากรทางการศึกษา แบบสอบถามชุดที่ 2 ศึกษาความพึงพอใจในการดำเนินงานโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนแม่มอกวิทยา ปีการศึกษา 2563 สำหรับสอบถามครูผู้สอนและบุคลากรทางการศึกษา แบบสอบถามชุดที่ 3 ศึกษาความพึงพอใจในการดำเนินงานโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนแม่มอกวิทยา ปีการศึกษา 2563 สำหรับสอบถามคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและผู้ปกครองนักเรียน แบบสอบถามชุดที่ 4 ศึกษาความพึงพอใจในการดำเนินงานโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนแม่มอกวิทยา ปีการศึกษา 2563 สำหรับสอบถามนักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ย (m) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (s)
ผลการดำเนินงาน พบว่า
1. ผลการดำเนินงานโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนแม่มอกวิทยาปีการศึกษา 2563 ในภาพรวม ด้านการวางแผนการปฏิบัติ (Plan) ด้านการดำเนินงาน (Do) ด้านการตรวจสอบประเมินผล (Check) และด้านการปรับปรุงพัฒนา (Action) ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยสูงสุดเท่ากับ 4.50 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.51 อยู่ในระดับมาก
2. ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะในการดำเนินงานโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนแม่มอกวิทยา ปีการศึกษา 2563 ด้านการวางแผนการปฏิบัติ (Plan) พบว่า ผู้บริหารสถานศึกษา และครู ขาดความรู้ ความเข้าใจในกระบวนการเกี่ยวกับการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ทางโรงเรียนมีข้อมูลสารสนเทศนักเรียน แต่ไม่มีข้อมูลเชิงลึกของนักเรียน หน่วยงานต้นสังกัดไม่อธิบายกระบวนการขั้นตอนในการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างชัดเจน และการกำหนดบทบาทหน้าที่ผู้รับผิดชอบยังไม่ชัดเจน ข้อเสนอแนะ คือ ส่งเสริมและพัฒนาให้ ผู้บริหารสถานศึกษา และครู ได้รับความรู้ความเข้าใจในกระบวนการเกี่ยวกับการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน เพื่อที่จะสามารถนำไปพัฒนาจัดการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนได้ ประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หน่วยงานต้นสังกัดในการขอข้อมูลสารสนเทศนักเรียน หารูปแบบวิธีการจัดทำข้อมูลนักเรียนเชิงลึก และกระบวนการขั้นตอนในการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่ชัดเจน สร้างความตระหนักและกำหนดบทบาทหน้าที่ให้กับ ผู้บริหาร ครู ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษา ชุมชน และนักเรียน ในเรื่องระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ด้านการดำเนินงาน (Do) พบว่า ปัญหาอุปสรรค คือ ขาดทักษะในการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน เช่น การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทัศนคติในการดำเนินงาน การสื่อสารระหว่างครู นักเรียน ผู้ปกครอง การให้รายละเอียดเกี่ยวกับนักเรียน การเก็บรวบรวมข้อมูลไปวิเคราะห์ เพื่อแก้ไขปัญหาของนักเรียนโดยเฉพาะในด้านการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล และด้านการคัดกรองนักเรียน ครูมีภาระหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติมากเกิน ทำให้เวลาในการดูแลเอาใจใส่นักเรียนน้อยลงไป และนักเรียนส่วนใหญ่มักจะปรึกษาปัญหากับเพื่อนมากกว่าพ่อแม่ และครูที่ปรึกษา ข้อเสนอแนะ คือ ผู้บริหารและครูจะต้องศึกษาคู่มือการดำเนินการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างเข้าใจ และส่งเสริมครูให้เข้ารับการอบรมการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน เพื่อจะได้เพิ่มทักษะในการดำเนินการ นำชั่วโมงแนะแนวหรือชั่วโมงลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ มาทำกิจกรรมเช่น การเยี่ยมบ้านนักเรียน การวัด EQ การประเมิน SDQ และการสำรวจและให้ข้อมูลนักเรียน เพราะจะได้ช่วยให้ครูใช้เวลาในชั่วโมงนี้ไปบูรณาการกับการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน และจัดกิจกรรมโฮมรูม กิจกรรมประชุมผู้ปกครอง ให้มากขึ้น ส่งเสริมและพัฒนาครูให้เข้ารับการเรียนรู้จิตวิทยา เพื่อจะได้ทราบถึงปัญหาของนักเรียนเพื่อหาแนวทางในการแก้ไข ด้านการตรวจสอบประเมินผล (Check) พบว่า ครูมีความสับสนในรายละเอียดการประเมินกิจกรรมต่างๆ ยังเข้าใจไม่ตรงกัน กระบวนการนิเทศติดตามของทีมนิเทศไม่มีความต่อเนื่อง เนื่องจากมีภาระงานที่หลากหลาย และการติดตามประเมินผล และสรุปกิจกรรมมีความล่าช้าคลาดเคลื่อนไปจากปฏิทินการดำเนินงาน ข้อเสนอแนะ คือ ครูและคณะดำเนินงานประชุมผ่านกระบวนการ PLC ในการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน เพื่อให้มีความเข้าใจในรูปแบบการดำเนินงาน การจัดกิจกรรมและอื่นๆ เพื่อเป็นแนวทางเดียวกัน คณะกรรมการนิเทศควรดำเนินการนิเทศ กำกับ ติดตาม และตรวจสอบการปฏิบัติงานอย่างสม่ำเสมอ และสร้างขวัญและกำลังใจให้แก่คณะครูและคณะกรรมการดำเนินงาน ด้านการปรับปรุงพัฒนา (Action) พบว่า ปัญหาอุปสรรค คือ การประชาสัมพันธ์รูปแบบการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนน้อย ทำให้ผู้มีส่วนที่เกี่ยวข้องไม่ทราบวัตถุประสงค์ และรูปแบบการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนมากนัก การประชุมอภิปรายติดตามผลขาดความต่อเนื่อง การสรุปผลการดำเนินงานยังไม่ครอบคลุมและตรงประเด็น และนำผลการประเมินมาปรับปรุงพัฒนาอย่างต่อเนื่องไม่ครอบคลุมทุกประเด็น ข้อเสนอแนะ คือ ประชุมสรุปผลดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน และร่วมกันอภิปรายเพื่อแก้ไขปัญหา ผ่านกระบวนการ PLC นำผลการประเมินมาปรับปรุงพัฒนาอย่างต่อเนื่องให้ครอบคลุมทุกประเด็น เผยแพร่ผลการดำเนินงานให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หน่วยงานต้นสังกัดทราบ และวิเคราะห์ปัญหาอุปสรรค เพื่อวางแผนการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
3. ผลความพึงพอใจต่อการดำเนินงานโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนแม่มอกวิทยา ปีการศึกษา 2563 ของครูและบุคลากรทางการศึกษา มีค่าเฉลี่ยภาพรวมเท่ากับ 4.49 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.50 อยู่ในระดับมาก ผลความพึงพอใจต่อการดำเนินงานโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนแม่มอกวิทยา ปีการศึกษา 2563 ของคณะกรรมการสถานศึกษา และผู้ปกครอง มีค่าเฉลี่ยภาพรวมเท่ากับ 4.51 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.54 อยู่ในระดับมากที่สุด และผลความพึงพอใจต่อการดำเนินงานโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนแม่มอกวิทยา ปีการศึกษา 2563 ของนักเรียนนั้นมีค่าเฉลี่ยภาพรวมเท่ากับ 4.52 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.53 อยู่ในระดับมากที่สุด