คู่มือการบริหารจัดการขยะแบบมีส่วนร่วม 5 ร ของโรงเรียนแม่ก๋งวิทยา
บทนำ
1.1 ความเป็นมาและสภาพปัจจุบันปัญหา
สภาพปัญหาขยะกำลังเป็นปัญหาสำคัญระดับโลกหลายประเทศให้ความสนใจกับการแก้ปัญหาขยะที่กำลังก่อให้เกิดผลกระทบกับ ระบบต่าง ๆ อีกมากมายทั้งเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และผลกระทบโดยตรงกับสิ่งมีชีวิตทุกชีวิตที่ดำรงอยู่บนโลกใบนี้ สยามรัฐ (24 กันยายน 2561) ซึ่งจากการสรุปสถานการณ์มลพิษของประเทศไทย ปี 2561 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (2562 : 35) พบว่า ปริมาณ ขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นทั่วประเทศในปี 2560 ประมาณ 27.40 ล้านตัน หรือ 75,046 ตันต่อวัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.26 จากสภาพปัญหาข้างต้นรัฐบาลไทย มุ่งการจัดการกับปัญหาขยะมูลฝอยที่สะสมอยู่เป็นจำนวนมากอันส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและอาจเป็นอันตรายต่อ สุขภาพของประชาชน จึงควรกำหนดระเบียบการปฏิบัติราชการเพื่อกำหนดขั้นตอนการดำเนินการในการแก้ปัญหาการจัดการ ขยะมูลฝอยให้เป็นระบบและมีประสิทธิภาพ แผนพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (2560-2564) ได้กล่าวถึงการนำ ขยะที่เกิดขึ้นมาใช้ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 75 และxxxส่วนของขยะอันตรายจะต้องถูกกำจัดอย่างถูกต้องไม่น้อยกว่า ร้อยละ 30 กรอบยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560-2579) ในยุทธศาสตร์ชาติที่ 5 ด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับ สิ่งแวดล้อม สู่แผนแม่บทการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของประเทศ (พ.ศ.2559-2564) ระบุมาตรการกำจัดขยะมูลฝอยและของ เสียอันตราย ประกอบด้วย 3 มาตรการ ได้แก่ (1) มาตรการลดการเกิดขยะมูลฝอยและของเสียอันตรายที่แหล่งกำเนิด (2) มาตรการเพิ่มศักยภาพการกำจัดขยะมูลฝอยและของเสียอันตราย (3) มาตรฐานส่งเสริมการบริหารจัดการขยะและของเสีย อันตราย ในการนำหลักการด้าน 3R มาประยุกต์ใช้ให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม ของประเทศ (กรมควบคุมมลพิษ,2561)
การบริหารจัดการขยะเพื่อลดขยะมูลฝอยเป็นการช่วยลดการเพิ่มขึ้นของปริมาณขยะ ซึ่งมีวิธีการในการคัดแยกขยะ โดยขยะย่อยสลาย (ขยะอินทรีย์) เป็นของที่เน่าเสียและย่อยสลายได้ง่ายตามธรรมชาติ ได้แก่ เศษอาหาร เศษผัก เปลือกผลไม้ ใบไม้แห้ง ซากสัตว์ ฯลฯ สามารถบริหารจัดการ โดยการจัดทำภาชนะกำจัดขยะเปียกของโรงเรียน ขุดหลุมฝัง หรือนำไปแปรรูปเป็นปุ๋ยอินทรีย์ หรือน้ำหมักอินทรีย์ นำไปเลี้ยงสัตว์ และขยะรีไซเคิล เป็นขยะที่สามารถคัดแยกเพื่อนำไปรีไซเคิลใหม่ได้ (นำไปขายได้) ได้แก่ แก้ว กระดาษ พลาสติก โลหะ/อโลหะ และยาง ฯลฯ ประชาชนคัดแยกและรวบรวมนำไปจำหน่าย ณ ธนาคารขยะของโรงเรียน ขยะมูลฝอยที่เป็นพิษหรือขยะอันตรายชุมชน เป็นขยะที่มีความเป็นอันตราย หรือมีส่วนประกอบที่ เป็นสารที่เป็นอันตราย ได้แก่ ขวดหรือภาชนะใส่เคมีภัณฑ์ ถ่านไฟฉายใช้แล้ว แบตเตอรี่ กระป๋องสเปรย์บรรจุ สารเคมี ตลับหมึกใช้แล้ว หลอดไฟ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ฯลฯ ให้นำไปรวบรวมไว้ ณ ที่ทิ้งขยะของโรงเรียน เพื่อองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเป้าจะได้ดำเนินการต่อไป ส่วนขยะทั่วไปเป็นขยะที่ไม่มีคุณสมบัติตามขยะ ๓ ประเภทข้างต้น โดยย่อยสลายยาก นำไป รีไซเคิลไม่ได้ หรือนำไปรีไซเคิลไม่คุ้มทุน และไม่เป็นอันตราย ได้แก่ ซอง/ถุงขนมขบเคี้ยว ถุงบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ถุงพลาสติก/กล่องโฟมเปื้อนอาหาร หลอดกาแฟ ซองกาแฟ ฯลฯ ให้กำจัดตามความเหมาะสมโดยไม่กระทบต่อสิ่งแวดล้อม ประการสุดท้ายคือการปฏิเสธและลดการใช้ถุงพลาสติกและโฟม ร่วมกันใช้ถุงผ้า หรือถุงขนาดใหญ่ที่ย่อยสลายได้แทนการใช้ถุงพลาสติกและโฟม
โรงเรียนแม่ก๋งวิทยาเป็นโรงเรียนขยายโอกาสสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 1 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ มีจำนวนนักเรียน 151 คน บุคลากรทางการศึกษาจำนวน 20 คน รวม 171 คน ในปีการศึกษา 2564 โรงเรียนได้ดำเนินการศึกษาปัญหาที่เกิดขึ้นจากการจัดการขยะในโรงเรียน พบว่าขยะที่เกิดขึ้นภายในโรงเรียน คือ ขยะอินทรีย์ จำพวก เศษอาหาร เศษใบไม้ กิ่งไม้ ขยะรีไซเคิล จำพวก ขวดน้ำพลาสติกกล่องนม ถุงนม และขยะขยะทั่วไป จำพวกเศษพลาสติก ซึ่งมีจำนวนของปริมาณขยะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจึงส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมของโรงเรียนโรงเรียนแม่ก๋งวิทยา ดังนั้น การจัดกิจกรรมในการเสริมสร้างทักษะให้แก่คณะครู นักเรียน จึงเป็นแนวทาง ในการสร้างสรรค์นวัตกรรมในการนำขยะจากการเหลือใช้กลับมาใช้ประโยชน์ได้อย่างมีคุณค่าและควรพัฒนาการจัดการขยะ ที่กำลังเป็นปัญหาระดับโรงเรียน และส่งผลต่อภาพลักษณ์ รวมถึงการคัดแยกขยะ การลดการใช้ให้เหมาะสมกับการปฏิบัติงาน การบริการชุมชน ชุมชนที่เกิดสภาวะขาดความเชื่อมั่นในการบริหารจัดการ การส่งเสริมพฤติกรรมการจัดการขยะ และสืบเนื่องต่อพฤติกรรมของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในการเป็นต้นแบบที่ดีในการพัฒนาพฤติกรรม ซึ่งเน้นการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วม 5 ร จำนวน 5 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 ร่วมศึกษา ขั้นตอนที่ 2 ร่วมวางแผน ขั้นตอนที่ 3 ร่วมปฏิบัติ ขั้นตอนที่ 4 ร่วมสรุป และขั้นตอนที่ 5 ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้
ด้วยเหตุผลดังได้กล่าวมาข้างต้น จึงทำให้คณะผู้วิจัยการบริหารการจัดการขยะในโรงเรียนแม่ก๋งวิทยา โดยใช้รูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วม 5 ร จำนวน 5 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 ร่วมศึกษา ขั้นตอนที่ 2 ร่วมวางแผน ขั้นตอนที่ 3 ร่วมปฏิบัติ ขั้นตอนที่ 4 ร่วมสรุป และขั้นตอนที่ 5 ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในการสร้างความตระหนักรู้ในการจัดการขยะเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์และการจัดการบริหารขยะ ในโรงเรียนแม่ก๋งวิทยา เพื่อให้ทราบถึงกระบวนการในการดำเนินงานอย่างมีส่วนร่วมในทุกภาคส่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการบริหารจัดการขยะอินทรีย์ที่ทำให้โรงเรียนแม่ก๋งวิทยาได้นำมาใช้ประโยชน์ อาทิ การทำปุ๋ยหมักจากเศษใบไม้ เศษหญ้า และการบริหารการจัดการขยะรีไซเคิลสามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ อาทิ นำมาขวดน้ำพลาสติกมาประดิษฐ์เป็นกระถางต้นไม้ ส่วนการบริหารจัดการขยะทั่วไป ทำให้โรงเรียนเกิดความสะอาดและมีบรรยากาศที่ดีต่อการเรียนรู้ นอกจากนี้ยังเป็นการดำเนินกิจกรรมที่เสริมสร้างทักษะอาชีพที่สามารถสร้างรายได้ให้แก่นักเรียนและโรงเรียนได้อย่างยั่งยืน
https://drive.google.com/file/d/1E7QZvDOTvwZRbnd7EwiALJ1ZDK2RYB71/view?usp=sharing
like สำหรับไฟล์ฉบับเต็ม