การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ เพื่อส่งเสริมทักษะ
ทางคณิตศาสตร์ สำหรับเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาล ๓
(วิมุกตายนวิทยา)
ผู้วิจัย ฟาฮาดาร์ บิลเส็ม
ปีการศึกษา 2563
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับความต้องการในการพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ เพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ สำหรับเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาล ๓ (วิมุกตายนวิทยา) 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ เพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ สำหรับเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาล ๓ (วิมุกตายนวิทยา) 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ เพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ สำหรับเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาล ๓ (วิมุกตายนวิทยา) และ 4) เพื่อประเมินและปรับปรุงรูปแบบการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ เพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ สำหรับเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาล ๓ (วิมุกตายนวิทยา) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ เด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2/5 จำนวน 33 คน ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนเทศบาล ๓ (วิมุกตายนวิทยา) สำนักการศึกษา เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก อำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบวิเคราะห์ข้อมูลการประชุมกลุ่มย่อย (Focus Group) การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ เพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ สำหรับเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาล ๓ (วิมุกตายนวิทยา) จำนวน 1 ฉบับ 2) รูปแบบการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ เพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ สำหรับเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาล ๓ (วิมุกตายนวิทยา) 3) ชุดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ เพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ สำหรับเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2 จำนวน 6 ชุด 4) แผนการจัดประสบการณ์ประกอบการใช้ชุดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ เพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ สำหรับเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2 จำนวน 30 แผน 5) แบบวัดทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ สำหรับเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2 ก่อนและหลังการใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ เพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ สำหรับเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2 จำนวน 4 ชุด ชุดละ 5 ข้อ รวม 20 ข้อ และ 6) แบบวัดเจตคติของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2 ที่มีต่อการปฏิบัติกิจกรรมโดยใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ เพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ สำหรับเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2 จำนวน 10 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ความแตกต่างโดยใช้ค่า t-test (Dependent Samples) ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ สำหรับเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาล
ปีที่ 2 ประกอบด้วยเอกสารที่หลากหลายและสภาพที่พึงประสงค์แตกต่างกัน
2. รูปแบบการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ เพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ สำหรับเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาล ๓ (วิมุกตายนวิทยา) ที่สร้างขึ้นมีชื่อว่า “WPAPR Learning Model” (ดับบลิวพาพีอาร์ เลินร์นิ่ง โมเดล) มีขั้นตอนการจัดกิจกรรม 5 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นที่ 1 การกระตุ้นการเรียนรู้ (Warm-up Activity Learning : W) ขั้นที่ 2 การนำสู่สิ่งที่ควรเรียนรู้ (Presenting New Material Learning : P) ขั้นที่ 3 การคิดวิเคราะห์จากการเรียนรู้ (Analytical Thinking Practice Learning : A) ขั้นที่ 4 การนำเสนอและอภิปรายผลการเรียนรู้ (Presentation and Discussion Learning : P) และขั้นที่ 5 ทบทวนและสรุปผลการเรียนรู้ (Review and Conclusion Learning : R)
3. รูปแบบการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ เพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ สำหรับเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาล ๓ (วิมุกตายนวิทยา) แบบ “WPAPR Learning Model” มีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 82.31/83.64 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80
4. ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2 หลังการเรียนรู้ด้วยรูปแบบ
การจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ เพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ สำหรับเด็กปฐมวัย
ชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาล ๓ (วิมุกตายนวิทยา) แบบ “WPAPR Learning Model” สูงกว่าก่อนการเรียนรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
5. เด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2 มีเจตคติต่อการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ เพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ สำหรับเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2
โรงเรียนเทศบาล ๓ (วิมุกตายนวิทยา) อยู่ในระดับพึงพอใจมาก