LASTEST NEWS

26 พ.ย. 2567สพฐ. เข้ม สั่งครูล่วงละเมิดนักเรียนออกจากราชการทันที ย้ำดูแลสภาพจิตใจเด็กเป็นสำคัญ 26 พ.ย. 2567สพฐ.เล็งทำบัตรสุขภาพนักเรียนออนไลน์ 26 พ.ย. 2567ทำไมครูส่วนใหญ่ ไม่สนใจสมัครสอบเป็นศึกษานิเทศก์ 26 พ.ย. 2567ก.พ.ยังนิ่งปมทบทวนจ้างเหมาบริการ “ธนุ” ไม่รอแล้วสั่งทำสัญญาจ่ายเงิน ตามระเบียบกรมบัญชีกลาง 25 พ.ย. 2567ล 1932/2567 หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู และที่แก้ไขเพิ่มเติม 25 พ.ย. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย จำนวน 81 อัตรา - รายงานตัว 28 พ.ย. 2567 25 พ.ย. 2567สพป.สมุทรสาคร เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 14 อัตรา รายงานตัว 3 ธันวาคม 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนเมืองสุรินทร์ รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 25-27 พฤศจิกายน 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนบ้านระไซร์(เด่นพัฒนา) รับสมัครครูอัตราจ้าง วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 7,000.- บาท  24 พ.ย. 2567สพป.เพชรบุรี เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 11 อัตรา - รายงานตัว 4 ธันวาคม 2567

การบริหารจัดการรูปแบบ SUPAWAN (SUPAWAN Model) อ่านต่อได้ที่: h

usericon

ชื่อเรื่อง             การบริหารจัดการรูปแบบ SUPAWAN (SUPAWAN Model) ที่มีประสิทธิผล
ต่อการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น “ขนมจีนประโดก”โรงเรียนชุมชนบ้าน
ประโดก – โคกไผ่ (สถิตย์วิริยคุณ)
ผู้วิจัย             สุพวรรณ ชูกานต์กุล
ปีที่ทำการวิจัย        ปีการศึกษา 2563

บทคัดย่อ
    การวิจัยครั้งนี้วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบริหารจัดการรูปแบบ SUPAWAN (SUPAWAN Model) ที่มีประสิทธิผลต่อการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น “ขนมจีนประโดก”โรงเรียนชุมชนบ้านประโดก–โคกไผ่ (สถิตย์วิริยคุณ) ดำเนินการวิจัย 3 ขั้นตอน ดังนี้ 1) การศึกษาสภาพและแนวทางการบริหารจัดการหลักสูตรท้องถิ่น “ขนมจีนประโดก”โรงเรียนชุมชนบ้านประโดก – โคกไผ่ (สถิตย์วิริยคุณ) โดยศึกษาสภาพจากการสอบถามความคิดเห็นของครู บุคลากร คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพิ้นฐาน ภูมิปัญญาท้องถิ่น ผู้ปกครองและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholders) เกี่ยวกับสภาพการบริหารจัดการหลักสูตรท้องถิ่น “ขนมจีนประโดก”จำนวน 70 คน ที่ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Selection) และศึกษาแนวทางการบริหารจัดการรูปแบบ SUPAWAN (SUPAWAN Model) ที่มีประสิทธิผลต่อการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น “ขนมจีนประโดก”โรงเรียนชุมชนบ้านประโดก–โคกไผ่ (สถิตย์วิริยคุณ) จากการสัมภาษณ์ครูและบุคลากร จำนวน 9 คน วิทยากรท้องถิ่นและภูมิปัญญาท้องถิ่น 10 คน รวมจำนวน 19 คน ที่ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง 2) การสร้างและตรวจสอบรูปแบบการบริหารจัดการรูปแบบ SUPAWAN (SUPAWAN Model) ที่มีประสิทธิผลต่อการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น “ขนมจีนประโดก”โรงเรียนชุมชนบ้านประโดก–โคกไผ่ (สถิตย์วิริยคุณ) โดยนำข้อมูลจากขั้นตอนที่ 1 มายกร่างรูปแบบการบริหารจัดการ แบบ SUPAWAN (SUPAWAN Model) ที่มีประสิทธิผลต่อการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น “ขนมจีนประโดก”โรงเรียนชุมชนบ้านประโดก–โคกไผ่ (สถิตย์วิริยคุณ) และตรวจสอบความเหมาะสมโดยใช้วิธีการประชุมสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ (Focus Group Discussion) จำนวน 7 คน ที่ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง 3) การประเมินความเป็นไปได้ของรูปแบบการบริหารจัดการ แบบ SUPAWAN (SUPAWAN Model) ที่มีประสิทธิผลต่อการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น “ขนมจีนประโดก”โรงเรียนชุมชนบ้านประโดก–โคกไผ่ (สถิตย์วิริยคุณ) โดยการสอบถามความคิดเห็นของครูและบุคลากร หัวหน้าฝ่ายวิชาการ ผู้แทนคณะกรรมการ สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้แทนภูมิปัญญาท้องถิ่น ผู้แทนผู้ปกครองและผู้แทนผู้แทนองค์กรท้องถิ่น จำนวน 67 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา
    ผลการวิจัย พบว่า
    1. สภาพการบริหารจัดการหลักสูตรหลักสูตรท้องถิ่น “ขนมจีนประโดก”โรงเรียนชุมชนบ้านประโดก–โคกไผ่ (สถิตย์วิริยคุณ) ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก พบว่าองค์ประกอบที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือกระบวนการบริหารจัดการหลักสูตร องค์ประกอบที่มีค่าเฉลี่ยน้อยสุดคือ ปัจจัยการบริหารจัดการหลักสูตร และแนวทางการบริหารจัดการรูปแบบ SUPAWAN (SUPAWAN Model) ที่มีประสิทธิผลต่อการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น “ขนมจีนประโดก”โรงเรียนชุมชนบ้านประโดก–โคกไผ่ (สถิตย์วิริยคุณ) ประกอบด้วย หลักการ แนวคิดในการบริหารจัดการ กระบวนการขับเคลื่อนการบริหารจัดการ ปัจจัยการบริหารจัดการหลักสูตร กระบวนการบริหารจัดการหลักสูตร และประสิทธิผลของรูปแบบการบริหารจัดการ
    2. รูปแบบการบริหารจัดการ แบบ SUPAWAN (SUPAWAN Model) ที่มีประสิทธิผลต่อการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น “ขนมจีนประโดก”โรงเรียนชุมชนบ้านประโดก–โคกไผ่ (สถิตย์วิริยคุณ) ประกอบด้วย 1) หลักการ แนวคิดในการบริหารจัดการ 2) กระบวนการขับเคลื่อนการบริหารจัดการ 3) องค์ประกอบในการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น “ขนมจีนประโดก” 4 องค์ประกอบ คือ (1) บริบท ได้แก่ สภาพแวดล้อมภายในและภายนอกโรงเรียน (2) ปัจจัยการบริหารจัดการหลักสูตร ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียน ครู หลักสูตร สื่อ/แหล่งเรียนรู้ บรรยากาศและสภาพแวดล้อม (3) กระบวนการบริหารจัดการหลักสูตร ได้แก่ การวิเคราะห์หลักสูตร การกำหนดจุดหมาย การจัดทำหลักสูตรด้วยเครือข่ายภูมิปัญญาท้องถิ่น การใช้หลักสูตรโดยใช้เทคโนโลยีและภูมิปัญญาท้องถิ่น การนิเทศหลักสูตร การประเมินหลักสูตร และ (4) ประสิทธิผลของรูปแบบการบริหารจัดการหลักสูตรท้องถิ่น ได้แก่ผลการเรียนรู้ของผู้เรียนและคุณลักษณะที่พึงประสงค์
    3. ผลการประเมินความเป็นไปได้ของการบริหารจัดการ แบบ SUPAWAN (SUPAWAN Model) ที่มีประสิทธิผลต่อการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น “ขนมจีนประโดก”โรงเรียนชุมชนบ้านประโดก–โคกไผ่ (สถิตย์วิริยคุณ) พบว่า ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

















Title: The Effective Management of SUPAWAN Model toward Local Curriculum Development "Khanom Jeen Pradok" Ban Pradok Community School - Khok Phai (Sathit Wiriyakun)
Researcher:     Supawan Chookrankul
Academic year: 2020
Abstract
The purpose of the research was to study the management of the SUPAWAN model effecting on the development of local curriculum “Khanom Jeen Pradok” Ban Pradok-Kok Phai Community School (Sathit Wiriyakun). The research was conducted in 3 steps as follows: 1) Study the conditions and management guidelines of local curriculum "Khanom Jeen Pradok" Ban Pradok Community School - Khok Phai (Sathit Wiriyakun) by asking opinions of teachers, personnel, basic education committees, local wisdom, parents and stakeholders totaling of 70 people as selected by purposive sampling, and studying the management of the SUPAWAN model effecting on the development of local curriculum “Khanom Jeen Pradok” Ban Pradok-Kok Phai Community School (Sathit Wiriyakun) from interviews with 9 teachers and personnel, 10 local speakers and local wisdom, totaling 19 by purposive sampling. 2) Creating and examining the management model of SUPAWAN model effecting on the development of local curriculum “Khanom Jeen Pradok” Ban Pradok-Kok Phai Community School (Sathit Wiriyakun) by using the information from step 1 to draft a management model SUPAWAN model effecting on the development of local curriculum. “Khanom Jeen Pradok” Ban Pradok-Kok Phai Community School (Sathit Wiriyakun) and assessed suitability by using a focus group discussion method of 7 persons acquired by purposive sampling. 3) The evaluation results of the possibility of the management of the SUPAWAN model effecting on the development of local curriculum “Khanom Jeen Pradok” Ban Pradok-Kok Phai Community School (Sathit Wiriyakun) by asking the opinions of teachers and staff, Head of Academic Department, representatives of basic educational institutions, representatives of local wisdom, representatives of parents and representatives of local organizations, 67 people. The data was analyzed by the percentage, mean, standard deviation and content analysis.
The results of the research found that 1. The condition of curriculum management in local curriculum “Khanom Jeen Pradok” Ban Pradok-Kok Phai Community School (Sathit Wiriyakun), the overall is at a high level. The element with the highest mean was a curriculum management process. The element with least mean was curriculum management factors and management guidelines for the SUPAWAN model effecting on the development of local curriculum “Khanom Jeen Pradok” Ban Pradok-Kok Phai Community School (Sathit Wiriyakun) consisted of principles, management concepts, driven process management, curriculum management factors, curriculum management process, and the effectiveness of management model. 2. The management of the SUPAWAN model effecting on the development of local curriculum “Khanom Jeen Pradok” Ban Pradok-Kok Phai Community School (Sathit Wiriyakun) consisted of 1) principles and management concepts 2) driven process management 3) elements of local curriculum development “Knom Jeen Pradok” had 4 components: (1) the context, which is inside and outside the school environment; (2) the factors of curriculum management: school administrators, teachers, curriculum, media/learning resources, atmosphere and environment (3) curriculum management process, including curriculum analysis, goal setting, curriculum development with local wisdom cluster, using the curriculum with technology, local wisdom curriculum supervision, and (4) the effectiveness of the local curriculum management model, for instant learner learning outcomes and desirable characteristics. 3. The evaluation results of the possibility of the management of the SUPAWAN model effecting on the development of local curriculum “Khanom Jeen Pradok” Ban Pradok-Kok Phai Community School (Sathit Wiriyakun) found that the overall was at the highest level.

ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^