การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (นายจักรกฤษ วงษ์ชาลี)
ความรู้และแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน วิชาการงานอาชีพ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ชื่อผู้รายงาน จักรกฤษ วงษ์ชาลี
ปีการศึกษา 2563
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีการเชื่อมโยงความรู้และแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน วิชาการงานอาชีพ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 มีค่าดัชนีประสิทธิผลตามเกณฑ์ที่กำหนด เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนกับหลังเรียน และศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีการเชื่อมโยงความรู้และแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน วิชาการงานอาชีพ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/9 โรงเรียนสตรีราชินูทิศ ภาคเรียนที่ 2
ปีการศึกษา 2563 จำนวน 40 คน ได้โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ รูปแบบการเรียนการสอนฯ มีค่าความเที่ยงตรงระหว่าง 0.80 – 1.00 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มีค่าความยากระหว่าง 0.60 – 0.80 ค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.26 – 0.75 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.80 และแบบสอบถามความพึงพอใจ มีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.43 – 0.76 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.89 สถิติที่ใช้
ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความเที่ยงตรง ค่าความยาก ค่าอำนาจจำแนก ค่าความเชื่อมั่น ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที (t-test แบบ Dependent samples)
ผลการศึกษา พบว่า
1. ประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนการสอนโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีการเชื่อมโยงความรู้
และแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน วิชาการงานอาชีพ มีค่าเท่ากับ (E1 / E2) 83.33/85.87 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด
2. ค่าดัชนีประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนการสอนโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีการเชื่อมโยงความรู้
และแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน วิชาการงานอาชีพ เท่ากับ 0.8005 แสดงว่าผู้เรียนได้รับการพัฒนาเพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 80.05
3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎี
การเชื่อมโยงความรู้และแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน วิชาการงานอาชีพ สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
ที่ระดับ .01
4. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีการเชื่อมโยงความรู้และแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน วิชาการงานอาชีพ โดยภาพรวมอยู่ในระดับ มาก (x-bar = 2.71)