LASTEST NEWS

30 ก.ค. 2567สพฐ.ผ่านการประเมิน ITA ปี 67 ได้คะแนนสูงสุดใน ศธ. 30 ก.ค. 2567สพฐ.มีหนังสือด่วนที่สุด ! แจ้งการโอนงบประมาณเหลือจ่ายฯ งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นฯ สำหรับจ้างเหมาบริการนักการภารโรง คืนส่วนกลาง 30 ก.ค. 2567ร้อง"บิ๊กอุ้ม"-กมธ.สส.ยังยั้ง ศธ.ปรับหลักสูตร-อ้างครูฯลงชื่อคัดค้านเพียบ 30 ก.ค. 2567สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA) เปิดรับสมัครวุฒิปริญญาโททุกสาขา เงินเดือน 22,750 บาท ตั้งแต่บัดนี้-20 สิงหาคม 2567 29 ก.ค. 2567ชี้ครู 80% เริ่มเข้าใจการเรียนการสอนแบบ Active Learning 29 ก.ค. 2567โรงเรียนอนุบาลนางรอง(สังขกฤษณ์อนุสรณ์) รับสมัครครูอัตราจ้าง เงินเดือน 9,140 บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 1 ส.ค.2567 29 ก.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ (ต่อ) 29 ก.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 28 ก.ค. 2567รัฐบาล เชิญชวนส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ ประชาชน สวมใส่เสื้อเหลืองตราสัญลักษณ์ฯ ทุกวันจันทร์โดยพร้อมเพรียง 28 ก.ค. 2567กรมอุตุนิยมวิทยา เปิดสอบบรรจุเข้ารับราชการ 12 อัตรา วุฒิปวส. เงินเดือน 12,650-13,920 บาท สมัครตั้งแต่บัดนี้ - 14 สิงหาคม 2567

การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ RAHE Model โดยใช้แบบฝึกทักษะคณิต

usericon

ชื่อเรื่อง     การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ RAHE Model โดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์เรื่อง เลขยกกำลัง เพื่อส่งเสริมทักษะการคิด สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเทศบาล 6 (วัดตันตยาภิรม)
ผู้วิจัย      นางระวิวรรณ แก้วมณี
ปีที่ศึกษา 2562

บทคัดย่อ
     การพัฒนาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเทศบาล 6 (วัดตันตยาภิรม) 2) เพื่อสร้างและพัฒนาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง เลขยกกำลัง เพื่อส่งเสริมทักษะการคิด สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ RAHE Model ของนักเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง เลขยกกำลัง เพื่อส่งเสริมทักษะการคิด และ 4) เพื่อประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ RAHE Model เพื่อส่งเสริมทักษะการคิด สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/1 โรงเรียนเทศบาล 6 (วัดตันตยาภิรม) สังกัดสำนักการศึกษาเทศบาลนครตรัง จังหวัดตรัง ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 43 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย 1) แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง เลขยกกำลัง เพื่อส่งเสริมทักษะการคิด สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีประสิทธิภาพ 80/80 2) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ RAHE Model ประกอบการใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง เลขยกกำลัง เพื่อส่งเสริมทักษะการคิด สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีค่าดัชนีความสอดคล้อง IOC เท่ากับ 0.5-1 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง เลขยกกำลัง เพื่อส่งเสริมทักษะการคิด สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เป็นแบบทดสอบปรนัยชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ มีค่าความยากง่ายอยู่ระหว่าง 0.26 – 0.87 ค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.06 - 0.63 และมีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.91 และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจต่อแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง เลขยกกำลัง เพื่อส่งเสริมทักษะการคิด สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.88 สถิติที่นำมาใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยใช้การทดสอบแบบทีกรณีกลุ่มตัวอย่างไม่เป็นอิสระต่อกัน
    ผลการศึกษาปรากฏ ดังนี้
        1. การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วย RAHE Model มีความเหมาะสม/สอดคล้องเชิงโครงสร้างอยู่ในระดับมากที่สุดสามารถนำไปจัดการเรียนรู้ได้
        2. ประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง เลขยกกำลัง เพื่อส่งเสริมทักษะการคิด สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีประสิทธิภาพ E1/E2 เท่ากับ 87.16/86.95 สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 ที่ตั้งไว้         
        3. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ RAHE Model โดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง เลขยกกำลัง เพื่อส่งเสริมทักษะการคิด สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
        4. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ RAHE Model โดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง เลขยกกำลัง เพื่อส่งเสริมทักษะการคิด แบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง เลขยกกำลัง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีความพึงพอใจโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.54, S.D. = 0.62)
    โดยสรุป รูปแบบการจัดการเรียนรู้ RAHE Model โดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง เลขยกกำลัง เพื่อส่งเสริมทักษะการคิด สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีประสิทธิภาพเหมาะสมทำให้นักเรียนเกิดทักษะการเรียนรู้ กลุ่มสาระคณิตศาสตร์เพิ่มขึ้น และนักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น สามารถใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญได้



Title     The development for learning management model of RAHE Mdel
    by using Mathematic drill exercise of Exponents to encourage
         thinking skill for Mathayomsuksa 1 students, Municipal School 6
(Wat Tantayapirom).
Researcher      Mrs. Rawiwan Kaewmanee
Academic year     2019

Abstract
This development aims to 1.) Develop of learning management model for Mathematics Department for Mathayomsuksa 1 students, Municipal School 6 (Wat Tantayapirom) 2.) Create and develop the efficiency of Mathematic skill drill exercise in term of Exponents to encourage thinking skill of Mathayomsuksa 1 students to be effective according to the criteria 80/80 3.) Compare academic achievement of students before and after learning using RAHE Model with skill drill exercise of Exponents to encourage thinking skill and 4.) Evaluate student’s satisfaction influence to learning management using RAHE Model to encourage thinking skill for Mathayomsuksa 1 students. The example group of 35 students which use for this research are Mathayomsuksa 1 students room 3, Municipal School 6 (Wat Tantayapirom) under the Office of Education, Trang Municipality, Trang province Semester 2 for Academic year 2017. Education instruments are 1.) Mathematic drill exercise of Exponents to encourage thinking skill for Mathayomsuksa 1 students with the efficiency 80/80 2.) Learning management by using RAHE Model composed of Mathematic drill exercise of Exponents to encourage thinking skill for Mathayomsuksa 1 students which has Index of Item Objective Congruence IOC equal to 0.5-1 3.) Academic achievement exercise for Mathematic in term of Exponents to encourage thinking skill for Mathayomsuksa 1 students. It is objective test with 30 items and has 4 choices to choose for each item. Difficulty is ranged between 0.26 – 0.87, Discrimination is ranged between 0.06 - 0.63 and Validity is equal to 0.91 and 4.) Satisfaction questionnaire influence to Mathematic drill exercise of Exponents to encourage thinking skill for Mathayomsuksa 1 students to be Rating scale 5 levels which has Validity at 0.88. Statistics which use for this research are Percentage, Average, Standard deviation and Hypothesis Testing by using test of the example dependent group.
The results of this research are:
1. The development of learning management using RAHE Model be appropriate/accord with structure at the highest level which can use with learning management.
2. The efficiency of Mathematic drill exercise of Exponents to encourage thinking skill for Mathayomsuksa 1 students. There has the efficiency E1/E2 equal to 87.16/86.95 greater than the standard 80/80.
3. Mathayomsuksa 1 students who study learning management of RAHE Model by using Mathematic drill exercise of Exponents to encourage thinking skill for Mathayomsuksa 1 students. The academic achievement for post-study is greater than pre-study with Statistical significance at .01
4. Mathayomsuksa 1 student’s satisfaction influence to learning management of RAHE Model by using Mathematic drill exercise of Exponents to encourage thinking skill for drill exercise enhance Mathematic skill in term of Exponents. Mathayomsuksa 1 students satisfy with this research at the highest (x = 4.54, S.D. = 0.62). In conclusion, learning management RAHE model using Mathematic drill exercise of Exponents to encourage thinking skill for Mathayomsuksa 1 students have the proper efficiency which cause the students to have more learning skill for Mathematic and students have higher academic achievement which able to be the guideline for the development of education quality importantly focusing on the student.
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^