เผยแพร่บทคัดย่อ
เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องจำนวนเชิงซ้อน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
The constructivist theory worksheet for learning development accomplishment about Complex Number of Mattayom 5
ชื่อผู้วิจัย นางสาวนิตติยา แก้วชัย
กลุ่มสาระการเรียนรู้ คณิตศาสตร์
ปีการศึกษา 2563
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง “การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องจำนวนเชิงซ้อน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5” เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) โดยมี วัตถุระสงค์ของการวิจัย 1) เพื่อศึกษาวิเคราะห์ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องจำนวนเชิงซ้อน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 2) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องจำนวนเชิงซ้อน ชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 5 3) เพื่อทดลองใช้การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องจำนวนเชิงซ้อน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 และ 4) เพื่อประเมินคุณภาพพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องจำนวนเชิงซ้อน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เนื้อหาที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ เป็นเนื้อหาสาระในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ในส่วนของตัวชี้วัด ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนปรือใหญ่วิทยบัลลังก์ จํานวน 20 คน ตัวแปรอิสระ (Independent Variable) คือ ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องจำนวนเชิงซ้อน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ตัวแปรตาม (Dependent Variables) ได้แก่ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องจำนวนเชิงซ้อน และความคิดเห็นของนักเรียนต่อการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ การดำเนินการวิจัย ดำเนินการตามขั้นของการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1. การวิจัย (Research:R1) เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน (Analysis :A) ผู้วิจัยได้ศึกษาศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน มาตรฐานและตัวชี้วัด สภาพที่คาดหวังตามมาตรฐานและตัวชี้วัดของหลักสูตร กับสภาพที่เป็นจริง ของการจัดการศึกษาสาระ การเรียนรู้คณิตศาสตร์เพิ่มเติม สังเคราะห์หลักการ แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนา ชุดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องจำนวนเชิงซ้อน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 วิเคราะห์ผู้เรียน สำรวจข้อมูลพื้นฐานวิธีการเรียนรู้ของผู้เรียน โดยการสัมภาษณ์ และผู้เชี่ยวชาญด้านการสอนคณิตศาสตร์อย่างไม่เป็นทางการ ศึกษาความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญด้านการสอนคณิตศาสตร์เกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ เพื่อกําหนดวัตถุประสงค์ของการจัดการเรียนรู้ ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนา (Development: D1) เป็นการออกแบบและพัฒนา (Design and Development D&D) ผู้วิจัยได้พัฒนาและหาคุณภาพ ประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทาง การเรียน เรื่องจำนวนเชิงซ้อน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยผู้เชี่ยวชาญ จํานวน 5 คน ตรวจสอบโครงร่างของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ และเครื่องมือประกอบการใช้ชุดกิจกรรม แล้วนําไปทดลองใช้ (Try out) กับกลุ่มนักเรียนที่มีลักษณะใกล้เคียงกับกลุ่มตัวอย่าง ขั้นตอนที่ 3 การวิจัย (Research: R2) เป็นการทดลองใช้ (Implementation: I) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ประสิทธิผลของการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ในขั้นนี้ผู้วิจัยนำกิจกรรมการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นไปทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่าง และขั้นตอนที่ 4 การพัฒนา (Development: D2) เป็นการประเมินผล (Evaluate: E) การประเมินและแก้ไขชุดกิจกรรมการเรียนรู้ การดําเนินการวิจัย ในขั้นตอนนี้เป็นการนําผลการทดลอง ใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นในขั้นตอนที่ 3 ซึ่งเป็นผลการวิเคราะห์ประสิทธิผลของชุดกิจกรรม ได้แก่ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนก่อนและหลังการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามทฤษฎี คอนสตรัคติวิสต์ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องจำนวนเชิงซ้อน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 คู่มือการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องจำนวนเชิงซ้อน และแบบสอบถามความ คิดเห็นของนักเรียนต่อการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมุติฐานใช้ t – test (Independent Samples)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องจำนวนเชิงซ้อน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ประกอบด้วยองค์ประกอบ 3 องค์ประกอบ คือ องค์ประกอบเชิงหลักการและ วัตถุประสงค์ องค์ประกอบเชิงกระบวนการ และองค์ประกอบ เชิงเงื่อนไข การนําชุดกิจกรรมการเรียนรู้ไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน มี 6 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 ขั้นเตรียมและนําเข้าสู่บทเรียน (Introduction) ขั้นที่ 2 ขั้นนําเสนอปัญหา (Problem Presentation) ขั้นที่ 3 ขั้นการวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analysis) ขั้นที่ 4 ขั้นแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Sharing) ขั้นที่ 5 ขั้นฝึกทักษะ (Practical) และขั้นที่ 6 ขั้นบูรณาการแนวคิดและเชื่อมโยงสู่ชีวิตประจําวันและชื่นชมความสําเร็จ (Integration and Linking to Life)
2. ดัชนีประสิทธิผลของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องจำนวนเชิงซ้อน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ชุดกิจกรรมการเรียนรู้มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 80.28 / 81.11
3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องจำนวนเชิงซ้อน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ตามทฤษฎี คอนสตรัคติวิสต์ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องจำนวนเชิงซ้อน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 นักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.51 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.59