การพัฒนารูปแบบการนิเทศภายใน
เป็นสำคัญ ของโรงเรียนเทศบาลวัดป้อมแก้ว (อัครพงศ์ชนูปถัมภ์)
ชื่อผู้ประเมิน นางสาวณัฐพร อรรถวิวรรธน์
ปีการศึกษา 2562
บทคัดย่อ
การพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในเพื่อการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ของโรงเรียนเทศบาลวัดป้อมแก้ว (อัครพงศ์ชนูปถัมภ์) ครั้งนี้ เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development : R & D) มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการในการนิเทศภายในเพื่อการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ของโรงเรียนเทศบาลวัดป้อมแก้ว (อัครพงศ์ชนูปถัมภ์) 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในเพื่อการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ของโรงเรียนเทศบาลวัดป้อมแก้ว (อัครพงศ์ชนูปถัมภ์) 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการนิเทศภายในเพื่อการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ของโรงเรียนเทศบาลวัดป้อมแก้ว (อัครพงศ์ชนูปถัมภ์) และ 4) เพื่อประเมินผลรูปแบบการนิเทศภายในเพื่อการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ของโรงเรียนเทศบาลวัดป้อมแก้ว (อัครพงศ์ชนูปถัมภ์) ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้อำนวยการสถานศึกษา จำนวน 1 คน ครูผู้นิเทศ จำนวน 16 คน และครูผู้รับการนิเทศ จำนวน 47 คน ระยะเวลาในการวิจัยคือ ปีการศึกษา 2562 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ รูปแบบการนิเทศภายในเพื่อการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ของโรงเรียนเทศบาลวัดป้อมแก้ว (อัครพงศ์ชนูปถัมภ์) “HOME Model” แบบวิเคราะห์เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ประเด็นสนทนากลุ่ม แบบสอบถาม และแบบประเมิน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา การหาค่าเฉลี่ย และการหาส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการนิเทศภายในเพื่อการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ของโรงเรียนเทศบาลวัดป้อมแก้ว (อัครพงศ์ชนูปถัมภ์) มีชื่อว่า “HOME Model” ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 รับฟังปัญหาและความต้องการ (Hear : H) ขั้นตอนที่ 2 จัดระบบการนิเทศ (Organize : O) ขั้นตอนที่ 3 ดำเนินการนิเทศ (Manage : M) และขั้นตอนที่ 4 ประเมินผลการนิเทศ (Evaluate : E) โดยมีการกำกับ ติดตาม (Monitoring) การดำเนินงานทุกขั้นตอนอย่างต่อเนื่อง ผลการใช้รูปแบบ พบว่า ครูผู้นิเทศมีความสามารถในการนิเทศอยู่ในระดับมาก ครูผู้รับการนิเทศมีความสามารถใน การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญอยู่ในระดับมาก ครูผู้นิเทศและครูผู้รับการนิเทศมีความพึงพอใจต่อรูปแบบอยู่ในระดับมากที่สุด และผู้อำนวยการสถานศึกษา ครูผู้นิเทศ และครูผู้รับการนิเทศ มีความคิดเห็นต่อรูปแบบว่าเป็นรูปแบบการนิเทศภายในที่มีประสิทธิภาพในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และการพัฒนาคุณภาพการศึกษาโดยรวม
คำสำคัญ : รูปแบบการนิเทศภายใน, การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ