LASTEST NEWS

30 ก.ค. 2567สพฐ.ผ่านการประเมิน ITA ปี 67 ได้คะแนนสูงสุดใน ศธ. 30 ก.ค. 2567สพฐ.มีหนังสือด่วนที่สุด ! แจ้งการโอนงบประมาณเหลือจ่ายฯ งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นฯ สำหรับจ้างเหมาบริการนักการภารโรง คืนส่วนกลาง 30 ก.ค. 2567ร้อง"บิ๊กอุ้ม"-กมธ.สส.ยังยั้ง ศธ.ปรับหลักสูตร-อ้างครูฯลงชื่อคัดค้านเพียบ 30 ก.ค. 2567สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA) เปิดรับสมัครวุฒิปริญญาโททุกสาขา เงินเดือน 22,750 บาท ตั้งแต่บัดนี้-20 สิงหาคม 2567 29 ก.ค. 2567ชี้ครู 80% เริ่มเข้าใจการเรียนการสอนแบบ Active Learning 29 ก.ค. 2567โรงเรียนอนุบาลนางรอง(สังขกฤษณ์อนุสรณ์) รับสมัครครูอัตราจ้าง เงินเดือน 9,140 บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 1 ส.ค.2567 29 ก.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ (ต่อ) 29 ก.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 28 ก.ค. 2567รัฐบาล เชิญชวนส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ ประชาชน สวมใส่เสื้อเหลืองตราสัญลักษณ์ฯ ทุกวันจันทร์โดยพร้อมเพรียง 28 ก.ค. 2567กรมอุตุนิยมวิทยา เปิดสอบบรรจุเข้ารับราชการ 12 อัตรา วุฒิปวส. เงินเดือน 12,650-13,920 บาท สมัครตั้งแต่บัดนี้ - 14 สิงหาคม 2567

งานวิจัย

usericon

ชื่อเรื่อง        การพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖
โดยใช้วิธีการสอนอ่านแบบ SQ ๔ R ร่วมกับแบบฝึกอ่านชุดปราจีนถิ่นของเรา
ผู้วิจัย        นางสาวนิตยา สิงห์ศุข
ปีที่วิจัย        ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563

บทคัดย่อ
การวิจัย ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ (1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของแบบฝึกอ่านชุด ปราจีนถิ่นของเรา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความความสำคัญตามเกณฑ์ 80/80 (2) เพื่อหาดัชนีประสิทธิผลของการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีการสอนอ่านแบบ SQ4R เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความความสำคัญ สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (การอ่านจับใจความสำคัญ) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้วิธีการสอนอ่านแบบ SQ4R ร่วมกับแบบฝึกอ่านชุด ปราจีนถิ่นของเรา และ (4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อวิธีการสอนอ่านแบบ SQ4R และแบบฝึกอ่าน ชุด ปราจีนถิ่นของเรา กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 โรงเรียนเทศบาล ๓ (วัดแก้วพิจิตร) สังกัดเทศบาลเมืองปราจีนบุรี ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 นักเรียน 26 คน ได้มาโดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้วิธีการสอนอ่านแบบ SQ4R เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความความสำคัญ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 14 แผน (2) แบบฝึกอ่านชุด ปราจีนถิ่นของเรา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความความสำคัญ จำนวน 4 เล่ม (3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (การอ่านจับใจความสำคัญ) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เป็นแบบประนัยเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ และ (4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อวิธีการสอนอ่านแบบ SQ4R และแบบฝึกอ่าน ชุด ปราจีนถิ่นของเรา เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับความคิดเห็น ตามแนวคิดของลิเคิร์ท จำนวน 10 ข้อ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่าร้อยละ (%) และการทดสอบ ที (t-test Dependent)
ผลการวิจัยพบว่า
1. แบบฝึกอ่านชุด ปราจีนถิ่นของเรา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีค่าประสิทธิภาพโดยเฉลี่ยทุกเล่มเท่ากับ 86.54/84.42 ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้
2. ค่าดัชนีประสิทธิผลของการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีการสอนอ่านแบบ SQ4R เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความความสำคัญ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีค่าเท่ากับ 0.7604แสดงว่า นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีทักษะการอ่านจับใจความความสำคัญ เพิ่มขึ้น 0.7604
หรือคิดเป็นร้อยละ 76.04
3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (การอ่านจับใจความสำคัญ) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังเรียนโดยใช้วิธีการสอนอ่านแบบ SQ4R ร่วมกับแบบฝึกอ่าน ชุด ปราจีนถิ่นของเราสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อวิธีการสอนอ่านแบบ SQ4R และแบบฝึกอ่าน ชุด ปราจีนถิ่นของเรา โดยมีค่าเฉลี่ยของของความพึงพอใจโดยรวม เท่ากับ 4.45 อยู่ในระดับมีความพึงพอใจมาก

ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^