การประเมินโครงการการจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV) เพื่อยก
ชื่อผู้วิจัย นายกุมเรศ วัชโรสินธุ์
ปี พ.ศ. 2564
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
การประเมินโครงการการจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV) เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา ของโรงเรียนบ้านเชี่ยวเหลียง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระนอง
ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อประเมินบริบทของโครงการเกี่ยวกับความต้องการจำเป็น ความสอดคล้อง ความชัดเจน และความเป็นไปได้ของวัตถุประสงค์โครงการ 2) เพื่อประเมินปัจจัยนำเข้าของโครงการเกี่ยวกับความพร้อมด้านบุคลากร งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือ และองค์ประกอบที่เกี่ยวข้อง 3) เพื่อประเมินกระบวนการดำเนินโครงการเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของบุคลากรภายในและภายนอกโรงเรียน การเตรียมการก่อนการเรียนการสอน การจัดการเรียนการสอนของครู
การวัดผล และประเมินผลการเรียนรู้ การสอนซ่อมเสริมเพื่อพัฒนาศักยภาพผู้เรียน และ 4) เพื่อประเมินผลผลิตของโครงการเกี่ยวกับ คุณภาพผู้เรียน พฤติกรรมสำคัญที่เกิดจากการเรียนการสอนโดยใช้การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV) ผลการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551 ผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ผลการประเมินคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน (NT) ผลการประเมินความสามารถด้านการอ่าน (RT) ตลอดจนความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้องในการดำเนินงานโครงการการจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV) เพื่อยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียนบ้านเชี่ยวเหลียง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระนอง รูปแบบการที่ใช้ในการประเมิน CIPP Model ของสตัฟเฟิลบีมและคณะ (Stufflebeam and Other) ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ ผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 1 คน กรรมการสถานศึกษา จำนวน 9 คน ครู จำนวน 8 คน นักเรียน จำนวน 27 คน และผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 70 คน รวม 115 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินประกอบด้วย แบบสอบถาม จำนวน 7 ฉบับ แบบบันทึก จำนวน 3 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติพื้นฐาน ซึ่งได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติอ้างอิงใช้ t-test แบบไม่อิสระ สถิติที่ใช้หาค่าความตรงของเครื่องมือ (Validity) ใช้สูตร IOC หาค่าความเชื่อมั่น (Reliability) ของแบบสอบถาม โดยการหาค่าความเชื่อมั่นแบบ Alpha Co-efficient ตามสูตรของครอนบัค Cronbach
ผลการประเมิน
การประเมินโครงการการจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV) เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา ของโรงเรียนบ้านเชี่ยวเหลียง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระนอง
ในครั้งนี้ ผู้วิจัยสรุปผลการประเมินโครงการตามลำดับวัตถุประสงค์ และนำเสนอผลของส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เห็นความเป็นมาด้วย ดังนี้ 1) ผลการประเมินด้านบริบทของโครงการ พบว่า มีผลการประเมินด้านบริบทของโครงการเกี่ยวกับความต้องการจำเป็นของโครงการ ความสอดคล้องและความชัดเจนของวัตถุประสงค์ และความเป็นไปได้ของวัตถุประสงค์โครงการ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ทุกตัวชี้วัดผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ 2) ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการ พบว่า มีผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้าเกี่ยวกับความพร้อมด้านบุคลากร งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือ และองค์ประกอบที่เกี่ยวข้อง มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด ทุกตัวชี้วัดผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ 3) ผลการประเมินด้านกระบวนการของโครงการ พบว่า มีผลการประเมินกระบวนการดำเนินโครงการเกี่ยวกับ การมีส่วนร่วมของบุคลากรภายในและภายนอกโรงเรียน การเตรียมการก่อนการเรียนการสอน การจัดการเรียนการสอนของครู การวัดผล และการประเมินผลการเรียนรู้ และการสอนซ่อมเสริมเพื่อพัฒนาศักยภาพผู้เรียน อยู่ในระดับมาก ทุกตัวชี้วัดผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ ปัญหาที่พบ ได้แก่ นักเรียนเรียนไม่ทันบางวิชาสอนเร็วเกินไป
และนักเรียนไม่สามารถซักถามโต้ตอบกับครูต้นทางในขณะจัดกิจกรรมได้ และ 4) ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการ พบว่า มีผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการเกี่ยวกับคุณภาพของผู้เรียนจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้การจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV) ด้านพฤติกรรมที่เกิดจากการเรียนการสอน ด้านผลการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551 ด้านผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ด้านผลการประเมินคุณภาพขั้นพื้นฐาน (NT) ด้านผลการประเมินความสามารถด้านการอ่านของนักเรียน (RT) ตลอดจนความพึงพอใจของนักเรียน
และความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียน โดยรวมอยู่ในระดับมาก ทุกตัวชี้วัดผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ ผลการประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ เขียน พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้
ผลการประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ เขียน มีค่าเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 76.00 ส่วนผลการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551 พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินตามที่กำหนดไว้ โดยนักเรียนมีผลการเรียนอยู่ในระดับดีถึงดีมาก มีค่าเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 80.44 ด้านความพึงพอใจของนักเรียน พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน อยู่ในระดับมากที่สุด และด้านความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียน พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน อยู่ในระดับมาก และผลการประเมินโครงการในภาพรวม พบว่า ผลการประเมินโครงการการจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV)
เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา ของโรงเรียนบ้านเชี่ยวเหลียง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระนอง ในภาพรวมพบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินตามที่กำหนดไว้ มีผลการดำเนินโครงการอยู่ในระดับมากที่สุด โดยได้คะแนนรวม 92.80 คะแนน จากคะแนนเต็ม 100 คะแนน และเมื่อพิจารณาถึงรายละเอียดของประเด็นการประเมินทั้ง 4 ประเด็น พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 4 ประเด็นมีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายตัวชี้วัด พบว่าผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 20 ตัวชี้วัด
ข้อเสนอแนะ
การยกระดับคุณภาพการศึกษา ของโรงเรียนบ้านเชี่ยวเหลียง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระนอง การพัฒนาคุณภาพนักเรียนอย่างสม่ำเสมอผ่านกิจกรรมต่าง ๆ ที่หลากหลายจะทำให้นักเรียนมีพัฒนาการในด้านต่าง ๆ เพิ่มสูงขึ้น มีผลการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551 ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด มีผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) มีผลการประเมินคุณภาพขั้นพื้นฐาน (NT) และผลการประเมินความสามารถด้านการอ่านของนักเรียน (RT) สูงกว่าค่าเฉลี่ยระดับประเทศ นอกจากนั้นผู้เรียนยังมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่ดี จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากหลาย ๆ ฝ่าย จากผลการประเมินโครงการการจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV) เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา
ของโรงเรียนบ้านเชี่ยวเหลียง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระนองในครั้งนี้ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 4 ประเด็น โรงเรียนบ้านเชี่ยวเหลียง จึงควรดำเนินการโครงการนี้ต่อไป
และผู้เกี่ยวข้องควรนำผลการประเมินไปปรับปรุง และพัฒนาการดำเนินโครงการอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลยิ่งขึ้นตามข้อเสนอแนะดังนี้
1. จากผลการประเมินพบว่า ด้านบริบทโครงการเป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างหนึ่งในการดำเนินโครงการ เนื่องจากโครงการการจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV) เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา ของโรงเรียนบ้านเชี่ยวเหลียง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระนองมีการกำหนดวัตถุประสงค์ของโครงการให้สอดคล้องกับความต้องการจำเป็นและความเป็นไปได้ของโครงการ จึงเป็นเข็มทิศชี้นำการปฏิบัติให้ไปสู่ความสำเร็จได้ดี
2. จากผลการประเมินพบว่า ด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการที่ใช้ในการดำเนินงานนั้นเป็นทรัพยากรที่สำคัญในการขับเคลื่อนโครงการไปสู่ความสำเร็จ ในการดำเนินโครงการการจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV) เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา ของโรงเรียนบ้านเชี่ยว
เหลียง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระนอง ในครั้งนี้ มีปัจจัยโดดเด่นคือ ความพร้อมด้านบุคลากรและด้านงบประมาณที่ใช้ในการดำเนินกิจกรรมตามโครงการ ส่วนความพร้อมด้านวัสดุอุปกรณ์ ด้านเครื่องมือและด้านองค์ประกอบที่เกี่ยวข้อง ควรมีการสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือและเทคโนโลยีที่ทันสมัย ที่ต้องใช้ในการดำเนินโครงการให้เหมาะสมกับการทำกิจกรรม และควรอย่างยิ่งที่จะพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มพูนความรู้ และประสบการณ์แก่บุคลากรครูผู้รับผิดชอบโครงการก่อนที่จะปฏิบัติงาน ในการดำเนินกิจกรรมตามโครงการ
3. จากผลการประเมินพบว่า ด้านกระบวนการของโครงการ มีผลการประเมินกระบวนการดำเนินโครงการเกี่ยวกับ การมีส่วนร่วมของบุคลากรภายในและภายนอกโรงเรียน
การเตรียมการก่อนการเรียนการสอน การจัดการเรียนการสอนของครู การวัดผล และการประเมินผลการเรียนรู้ และการสอนซ่อมเสริมเพื่อพัฒนาศักยภาพผู้เรียน ประสบผลสำเร็จในระดับมาก จะเห็นได้ว่าเมื่อผู้บริหาร ครู จัดกิจกรรมส่งเสริม สนับสนุนไปในทิศทางเดียวกัน มีแผนงานและแนวทางที่ชัดเจน โรงเรียนมีการสร้างแรงจูงใจ สนับสนุนให้นักเรียนสามารถแก้ไขปัญหาที่เรียนไม่ทันในบางวิชาอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ เช่น การสอนซ่อมเสริม ให้มีความเหมาะสมกับความแตกต่างระหว่างบุคคลของผู้เรียน และสามารถนำไปบูรณาการในกระบวนการเรียนรู้ทุกกลุ่มสาระ จะส่งผลดีต่อการดำเนินโครงการอย่างเห็นได้ชัด
4. ผลผลิตของโครงการ คือสิ่งที่ต้องการให้เกิดขึ้นตามวัตถุประสงค์ จากผลการประเมินโครงการการจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV) เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา ของโรงเรียนบ้านเชี่ยวเหลียง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระนอง การพัฒนาคุณภาพผู้เรียนในด้านต่าง ๆ เช่น ด้านพฤติกรรมที่เกิดจากการเรียนการสอน ด้านผลการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551 ด้านผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ด้านผลการประเมินคุณภาพขั้นพื้นฐาน (NT) ด้านผลการประเมินความสามารถด้านการอ่านของนักเรียน (RT) ตลอดจนความพึงพอใจของนักเรียน และความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียน ก็ดี ไม่ใช่ปัจจัยสำเร็จรูปทางเดียว หากแต่ยังมีปัจจัยอื่นที่เป็นองค์ประกอบสำคัญที่ส่งผลโดยตรงต่อนักเรียน ดังนั้นจึงควรมีการอบรมให้ความรู้แก่ผู้เกี่ยวข้องอย่างสม่ำเสมอ เครื่องมือและสื่อต่าง ๆ ควรพัฒนาให้ทันต่อเหตุการณ์ ครูผู้สอนต้องสามารถจัดการเรียนรู้โดยใช้การจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมได้อย่างมีประสิทธิภาพ คอยช่วยเหลือแนะนำและตอบคำถามในเนื้อหาสาระที่นักเรียนไม่เข้าใจหรือเข้าใจคลาดเคลื่อน เพื่อพัฒนาคุณภาพนักเรียนให้มีคุณลักษณะที่ต้องการเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการจัดการศึกษาตามหลักสูตร อันจะนำมาซึ่งความพึงพอใจของนักเรียน และผู้ปกครองนักเรียน