การประเมินผลและถอดบทเรียนโครงการโรงเรียนอีโคสคูล (Eco-school) โร
ชื่อผู้ประเมิน บรรจง น้อยพันธุ์
ปีที่ศึกษา 2563
บทคัดย่อ
การประเมินผลและถอดบทเรียนโครงการโรงเรียนอีโคสคูล (Eco-school) โรงเรียนเทศบาล 3 (บ้านบ่อ) ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อประเมินโครงการโรงเรียนอีโคสคูล (Eco-school) โรงเรียนเทศบาล 3 (บ้านบ่อ) ด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ ด้านผลผลิต ด้านผลกระทบ ด้านประสิทธิผล ด้านความยั่งยืน และด้านการถ่ายโยงความรู้ 2) เพื่อศึกษาแนวทางการดำเนินงานโครงการโรงเรียนอีโคสคูล (Eco-school) โรงเรียนเทศบาล 3 (บ้านบ่อ) 3) เพื่อถอดบทเรียนการดำเนินงานโครงการโรงเรียนอีโคสคูล (Eco-school) โรงเรียนเทศบาล 3 (บ้านบ่อ) รูปแบบการประเมินใช้รูปแบบการประเมิน CIPPiest ของ Stufflebeam ใช้ข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพสำหรับการวิเคราะห์สรุปตีความผลการประเมิน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาจำนวน 4 กลุ่ม ได้แก่ ครู 48 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 13 คน ผู้ปกครองนักเรียน 274 คน และนักเรียน 274 คน โดยทดลองปีการศึกษา 2563 ข้อมูลเชิงคุณภาพเป็นการสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) กับผู้ให้ข้อมูลหลัก ประกอบด้วย ครูคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานผู้ปกครองและนักเรียน กลุ่มละ 4 คน รวมทั้งสิ้นจำนวน 16 คน โดยการคัดเลือกแบบเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป สถิติที่ใช้ในการประเมิน ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการประเมินโครงการพบว่า 1) ด้านบริบท ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีความคิดเห็นต่อการดำเนินงานโครงการระดับมาก 2) ด้านปัจจัยนำเข้า ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความคิดเห็นต่อการดำเนินงานโครงการระดับมาก 3) ด้านกระบวนการ ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความคิดเห็นต่อการดำเนินงานโครงการในระดับมาก 4) ด้านผลผลิต สอบถามครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน (1) ผลการประเมินผลด้านผลผลิตของผู้เข้ารับการฝึกอบรม การเขียนแผนการจัด การเรียนรู้ มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก (2) ผลการประเมินกรอบพันธกิจ 4 มิติ มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก (3) การดำเนินโครงการโรงเรียนอีโคสคูล (Eco-school) โรงเรียนเทศบาล 3 (บ้านบ่อ) ด้านผลผลิต มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก 5) ด้านผลกระทบ (1) ผลการประเมินด้านผลกระทบ สอบถามครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก (2) ผลการประเมินด้านผลกระทบ สอบถามผู้ปกครองนักเรียน มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก 6) ด้านประสิทธิผล ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีความคิดเห็นต่อการดำเนินงานโครงการในระดับมาก 7) ด้านความยั่งยืน ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความคิดเห็นต่อการดำเนินงานโครงการในระดับมาก 8) ด้านการถ่ายโยงความรู้ ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความคิดเห็นต่อการดำเนินงานโครงการอยู่ในระดับมาก
แนวทางการดำเนินงานโครงการโรงเรียนอีโคสคูล (Eco-school) โรงเรียนเทศบาล 3 (บ้านบ่อ) สรุปได้ว่า ควรส่งเสริมการใช้พลังงานอย่างประหยัด เร่งสร้างจิตใต้สำนึกการใช้พลังงานอย่างประหยัด การหมุนเวียนวัสดุที่นำกลับมาใช้ใหม่ เช่น ถุงพลาสติก ขวดน้ำ กล่องกระดาษ มุ่งลดการทิ้งขยะ โดยไปเพิ่มการหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่ ควรเน้นการปฏิบัติจริง ให้นักเรียนลงพื้นที่จริง และลงมือปฏิบัติ โดยมีภูมิปัญญาชาวบ้านเป็นผู้ให้ความรู้ในเรื่องการฟื้นฟูและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ การได้ลงมือปฏิบัติจริงนั้นเป็นการปลูกฝังทำให้เด็กมีจิตอาสาสำนึกรัก หวงแหนทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นซึ่งตนเองเป็นเจ้าของ เร่งส่งเสริมการนำวัสดุที่หาได้ในท้องถิ่นนำมาใช้ในการเรียนการสอน การลดการทิ้งขยะหรือการหมุนเวียนกลับมาผลิตใหม่
การถอดบทเรียน สรุปว่า โรงเรียนเทศบาล 3 (บ้านบ่อ) ควรกำหนดกิจกรรมในโครงการ กำหนดมาตรการการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่องตลอดปีการศึกษา อีกทั้งบุคลากร ในโรงเรียนเทศบาล 3 (บ้านบ่อ) ควรดำเนินชีวิตเป็นต้นแบบให้กับชุมชนทางด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม เช่น การนำขยะกลับมาใช้ใหม่อีกครั้ง การหมุนเวียนสิ่งของที่สามารถใช้ซ้ำได้ การลดการใช้ถุงพลาสติก การใช้น้ำแบบหมุนเวียน การลดรายจ่ายเรื่องพลังงานในภารกิจของโรงเรียน ผลลัพธ์ของโครงการโรงเรียนอีโคสคูล (Eco-school) ควรลดรายจ่ายค่าไฟฟ้าในแต่ละเดือนอีกทั้งค่าน้ำประปาควรจะลดลง อย่างน้อย 5%