การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้กิจกรรมนอกห้องเรียนโดยใช้ชุมชนเป็
ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้กิจกรรมนอกห้องเรียนโดยใช้ชุมชนเป็นฐานเพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 3 (บ้านบ่อ)
ชื่อผู้วิจัย บรรจง น้อยพันธุ์
ปีที่ศึกษา 2563
การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้กิจกรรมนอกห้องเรียนโดยใช้ชุมชนเป็นฐานเพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 3 (บ้านบ่อ) ใช้ระเบียบวิธีวิจัยและพัฒนา (Research and Development : R&D) โดยมีวัตถุประสงค์ของการวิจัย 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการและแนวทางการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนโรงเรียนเทศบาล 3 (บ้านบ่อ) 2) เพื่อสร้างรูปแบบการจัดการเรียนรู้กิจกรรมนอกห้องเรียนโดยใช้ชุมชนเป็นฐานเพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ของนักเรียน โรงเรียนเทศบาล 3 (บ้านบ่อ) 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้กิจกรรมนอกห้องเรียนโดยใช้ชุมชนเป็นฐานเพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ของนักเรียน โรงเรียนเทศบาล 3 (บ้านบ่อ) 4) เพื่อประเมินผลและถอดบทเรียนรูปแบบการจัดการเรียนรู้กิจกรรมนอกห้องเรียนโดยใช้ชุมชนเป็นฐานเพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ของนักเรียน โรงเรียนเทศบาล 3 (บ้านบ่อ) ผู้ให้ข้อมูลหลักในการศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการ เป็นผู้บริหาร / ครูจำนวน 5 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 5 คน ผู้ปกครองจำนวน 5 คน และนักเรียน 5 คน กลุ่มเป้าหมายในการรับรองรูปแบบ เป็นผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน กลุ่มตัวอย่างเป็น ครู จำนวน 47 คน นักเรียนจำนวน 270 คน และกลุ่มเป้าหมายในการการถอดบทเรียน เป็นครู จำนวน 20 คน และนักเรียน จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ รูปแบบการจัดการเรียนรู้กิจกรรมนอกห้องเรียนโดยใช้ชุมชนเป็นฐานเพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ของนักเรียน โรงเรียนเทศบาล 3 (บ้านบ่อ) แบบสอบถามความรู้ความเข้าใจการจัดการเรียนรู้กิจกรรมนอกห้องเรียน แบบประเมินสมรรถนะในการจัดการเรียนรู้ของครู แบบประเมินทักษะการเรียนรู้ของนักเรียน และการถอดบทเรียน วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติ t – test (dependent) การวิเคราะห์เนื้อหา และการถอดบทเรียน ผลการวิจัยพบว่า
1) การศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการและแนวทางการพัฒนาการจัดการเรียน การสอนโรงเรียนเทศบาล 3 (บ้านบ่อ) สรุปว่า โรงเรียนเทศบาล 3 (บ้านบ่อ) ต้องมีการบริหารจัดการโดยการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น (Local Wisdom) ควรเร่งพัฒนาทั้งคน วิธีการ เครื่องมือเทคโนโลยี และระบบข้อมูลสารสนเทศเพื่อทำงานได้สำเร็จรวดเร็วยิ่งขึ้น โดยมุ่งเป้าเพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้กิจกรรมนอกห้องเรียนโดยใช้ชุมชนเป็นฐานเพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ของนักเรียนโดยเน้นไปที่การศึกษาเรียนรู้จากประสบการณ์จริง จากการเรียนการสอนที่นักเรียนมีโอกาสเป็นผู้สร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง กิจกรรมต่างๆ ถูกหล่อหลอมให้เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในวิถีชีวิตของนักเรียนและการเรียนรู้ โดยครูผู้จัดการเรียนการสอนได้นำเอาแนวคิดของความพอเพียงไปใช้เป็นแนวทางในการวางแผนและการปฏิบัติในทุกกิจกรรมการเรียนรู้ของโรงเรียน
2) รูปแบบการจัดการเรียนรู้กิจกรรมนอกห้องเรียนโดยใช้ชุมชนเป็นฐานเพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ของนักเรียน โรงเรียนเทศบาล 3 (บ้านบ่อ) ใช้รูปแบบ PKNT Model สรุปองค์ประกอบ 4 ขั้นตอนคือ 1) การวางแผน (Planning : P) 2) การให้ความรู้ (Knowledge : K) 3) เครือข่ายวิชาการ (Networking : N) และ 4) การขยายผล (Transportability : T)
3) การทดลองใช้ โดยการจัดอบรม พบว่า การทดสอบความรู้ก่อนและหลังการอบรมมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 7.63 และหลังอบรม 17.28 และเมื่อเปรียบเทียบคะแนน พบว่ามีความต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01
4) ผลการประเมินผลและถอดบทเรียนรูปแบบการจัดการเรียนรู้กิจกรรมนอกห้องเรียนโดยใช้ชุมชนเป็นฐานเพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ของนักเรียน โรงเรียนเทศบาล 3 (บ้านบ่อ) การประเมินระดับความรู้ความเข้าใจการจัดการเรียนรู้กิจกรรมนอกห้องเรียน ภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก การประเมินระดับสมรรถนะในการจัดการเรียนรู้ของครูภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก และการระดับทักษะการเรียนรู้ของนักเรียน ภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ระดับทักษะการเรียนรู้ของนักเรียน ภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก