การประเมินและถอดบทเรียนโครงการพัฒนาสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศ ของโ
ชื่อผู้วิจัย ฐิติพร รุ่งเช้า
ปีที่ศึกษา 2563
บทคัดย่อ
การประเมินผลและถอดบทเรียนโครงการพัฒนาสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศ ของโรงเรียนเทศบาล 3 (บ้านบ่อ) ครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงประเมิน (Evaluation Research) ผู้วิจัยใช้รูปแบบ CIPPiest Model ของสตัฟเฟิลบีม (Stufflebeam) มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อประเมินโครงการพัฒนาสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนเทศบาล 3 (บ้านบ่อ) ด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ ด้านผลผลิต ด้านผลกระทบ ด้านประสิทธิผล ด้านความยั่งยืน และด้านการถ่ายโยงความรู้ 2) เพื่อศึกษาแนวทางการดำเนินงานโครงการพัฒนาสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศ ของโรงเรียนเทศบาล 3 (บ้านบ่อ) 3) เพื่อถอดบทเรียนโครงการพัฒนาสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศ ของโรงเรียนเทศบาล 3 (บ้านบ่อ) กลุ่มตัวอย่าง ครูจำนวน 48 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 13 คน ผู้ปกครองนักเรียนจำนวน 274 คน นักเรียน จำนวน 274 คน และผู้ให้ข้อมูลหลักใน การสนทนากลุ่ม และการถอดบทเรียน ประกอบด้วย ครู 10 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองนักเรียน และนักเรียน กลุ่มละ 4 คน รวม 22 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามจำนวน 3 ฉบับ รวบรวมข้อมูลที่ได้ และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา สถิติที่ใช้ในการประเมิน ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบนเบี่ยงมาตรฐาน และการถอดบทเรียน ผลการประเมินพบว่า
1. การประเมินด้านบริบทสอบถามครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก
2. การประเมินด้านปัจจัยนำเข้าสอบถามครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก
3. การประเมินด้านกระบวนการสอบถามครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก
4. การประเมินด้านผลผลิตของโครงการพัฒนาสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศ ของโรงเรียนเทศบาล 3 (บ้านบ่อ)
4.1 การประเมินด้านผลผลิต สอบถามครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก
4.2 การประเมินด้านผลผลิตสอบถามผู้ปกครอง มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก
4.3 การประเมินด้านผลผลิตสอบถามนักเรียน มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก
4.4 การประเมินด้านผลผลิต สอบถามครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เรื่อง คุณภาพการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศ (EdPEx) มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก
5. การประเมินด้านผลกระทบของโครงการพัฒนาสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนเทศบาล 3 (บ้านบ่อ)
5.1 การประเมินด้านผลกระทบสอบถามครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก
5.2 การประเมินด้านผลกระทบสอบถามผู้ปกครอง มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก
5.3 การประเมินด้านผลกระทบสอบถามนักเรียน มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก
6. การประเมินด้านประสิทธิผลสอบถามครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก
7. การประเมินด้านความยั่งยืน สอบถามครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก
8. การประเมินด้านการถ่ายโยงความรู้ สอบถามครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก
9. แนวทางการดำเนินโครงการพัฒนาสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศ ของโรงเรียนเทศบาล 3 (บ้านบ่อ) สรุปได้ว่า การที่จะพัฒนาโรงเรียนเทศบาล 3 (บ้านบ่อ) มุ่งใช้แนวทางการมีส่วนร่วม จำเป็นต้องมีการพัฒนากระบวน การจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพเป็นลำดับแรก อันจะส่งผลไปยังการศึกษาระดับอื่นๆ หรือส่งเสริมการดำรงชีวิตของนักเรียนให้อยู่ในสังคมได้อย่างมีคุณภาพด้วย โดยใช้แนวทางการพัฒนาสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศ
10. การถอดบทเรียน สรุปได้ว่า ในการดำเนินโครงการพัฒนาสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนเทศบาล 3 (บ้านบ่อ) การพัฒนากระบวนการเรียนรู ควรเป็นสิ่งที่ครูยังขาด ความรูและประสบการณอย่างมาก ต้องพัฒนาเป็นลำดับแรก และสถานศึกษาควรดำเนินการเรื่อง พัฒนาครูให้เข้าใจในกระบวนการพัฒนาการเรียนรู การจัดกระบวนการเรียนรู ตามความต้องการของนักเรียนอย่างมีคุณภาพ และบรรลุตามวัตถุประสงค์ ครูและบุคลากรทางการศึกษามีทักษะในการจัดกระบวนการเรียนรู เพื่อพัฒนากระบวนการคิด คุณธรรม และจริยธรรม การส่งเสริมให้ครูและนักเรียนร่วมกันพัฒนากระบวนการเรียนรู พัฒนานวัตกรรม จัดทำแผนการเรียนรูรายวิชาและ รายภาคเรียนอย่างชัดเจน อีกทั้งมีความเห็นว่าสถานศึกษาต้องสร้างความตระหนักในกระบวนการคิดเชิงวิจัยให้กับบุคลากรไดเห็นความสำคัญของงานวิจัยและการนำงานวิจัยมาใช้ประโยชนในการจัดการศึกษาส่งเสริมครูและบุคลากรทุกคนให้มีการทำงานวิจัย นำเสนองานวิจัย