LASTEST NEWS

26 พ.ย. 2567สพฐ. เข้ม สั่งครูล่วงละเมิดนักเรียนออกจากราชการทันที ย้ำดูแลสภาพจิตใจเด็กเป็นสำคัญ 26 พ.ย. 2567สพฐ.เล็งทำบัตรสุขภาพนักเรียนออนไลน์ 26 พ.ย. 2567ทำไมครูส่วนใหญ่ ไม่สนใจสมัครสอบเป็นศึกษานิเทศก์ 26 พ.ย. 2567ก.พ.ยังนิ่งปมทบทวนจ้างเหมาบริการ “ธนุ” ไม่รอแล้วสั่งทำสัญญาจ่ายเงิน ตามระเบียบกรมบัญชีกลาง 25 พ.ย. 2567ล 1932/2567 หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู และที่แก้ไขเพิ่มเติม 25 พ.ย. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย จำนวน 81 อัตรา - รายงานตัว 28 พ.ย. 2567 25 พ.ย. 2567สพป.สมุทรสาคร เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 14 อัตรา รายงานตัว 3 ธันวาคม 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนเมืองสุรินทร์ รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 25-27 พฤศจิกายน 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนบ้านระไซร์(เด่นพัฒนา) รับสมัครครูอัตราจ้าง วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 7,000.- บาท  24 พ.ย. 2567สพป.เพชรบุรี เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 11 อัตรา - รายงานตัว 4 ธันวาคม 2567

การพัฒนารูปแบบสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูโดยใช้กระบวนการ Desi

usericon

ชื่อเรื่อง    การพัฒนารูปแบบสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูโดยใช้กระบวนการ Design Thinking เพื่อส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 3 (บ้านบ่อ)
ชื่อผู้วิจัย    ฐิติพร รุ่งเช้า
ปีที่ศึกษา    2563
บทคัดย่อ
การพัฒนารูปแบบสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูโดยใช้กระบวนการ Design Thinking เพื่อส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 3 (บ้านบ่อ) ใช้ระเบียบวิธีวิจัยและพัฒนา (Research and Development : R&D) โดยมีวัตถุประสงค์ของการวิจัย 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการในการพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการคิดสร้างสรรค์ของนักเรียน 2) เพื่อสร้างรูปแบบสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูโดยใช้กระบวนการ Design Thinking เพื่อส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 3 (บ้านบ่อ) 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูโดยใช้กระบวนการ Design Thinking เพื่อส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 3 (บ้านบ่อ) 4) เพื่อประเมินประสิทธิผลและถอดบทเรียนรูปแบบสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ ของครูโดยใช้กระบวนการ Design Thinking เพื่อส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 3 (บ้านบ่อ) กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ครู จำนวน 48 คน นักเรียน จำนวน 274 คน กลุ่มเป้าหมาย ในการการศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการ ในการพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการคิดสร้างสรรค์ของนักเรียน การจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และการถอดบทเรียน จำนวน 22 คน ประกอบด้วย ผู้บริหาร จำนวน 10 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 4 คน ผู้ปกครอง 4 คน และนักเรียน 4 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูล คือ แบบสอบถามความเหมาะสมของของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบ แบบประเมินสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ครูโดยใช้กระบวนการ Design Thinking เพื่อส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์ของนักเรียน แบบประเมินพฤติกรรมนักเรียน แบบประเมินความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียน แบบประเมินความคิดเห็นที่มีต่อรูปแบบสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ การถอดบทเรียน การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t-test การวิเคราะห์เนื้อหา และการถอดบทเรียน
ผลการวิจัยพบว่า
1. การศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการในการพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการคิดสร้างสรรค์ของนักเรียน จากการวิเคราะห์ควรส่งเสริมทักษะกระบวนการคิดสร้างสรรค์ของนักเรียน ตามแนวทางการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) โดยการขับเคลื่อนโรงเรียนสร้างสรรค์นวัตกรรมการคิดเชิงออกแบบ ผสมผสานกับแนวคิดการมีส่วนร่วมของชุมชนที่ส่งเสริมทักษะกระบวนการคิดวิเคราะห์ ทั้งนี้เพื่อเป้าหมายคือ สถานศึกษาสร้างสรรค์นวัตกรรมการจัดการศึกษา ที่สามารถนำมาใช้ในการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน เพื่อผลที่ได้จะลงสู่นักเรียนในการส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์ของนักเรียน
2.    การสร้างรูปแบบสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูโดยใช้กระบวนการ Design Thinking เพื่อส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 3 (บ้านบ่อ) ใช้รูปแบบ UDBP Model องค์ประกอบ 4 ขั้นตอน 1) การเรียนรู้และเข้าใจปัญหาให้ถูกต้อง (Understand : U) 2) การระบุประเด็นปัญหา (Define : D) 3) การระดมความคิดและการมีส่วนร่วม (Brainstorm and Participation : B) 4) ต้นแบบและผลกระทบ (Prototype and Feedback : P)
3. การทดลองใช้รูปแบบสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูโดยใช้กระบวนการ Design Thinking เพื่อส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 3 (บ้านบ่อ) การจัดอบรม เรื่อง การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการ Design Thinking เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการคิดสร้างสรรค์ ประกอบด้วย ครูผู้สอนจำนวน 48 คน ใน การทดสอบก่อนและหลังการอบรม พบว่า การทดสอบความรู้ความสามารถของครูก่อนและหลังการอบรม มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 9.46 และ 16.48 ตามลำดับ และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างคะแนนเฉลี่ยก่อนและหลังการอบรม พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01
การจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ พบว่า สิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้ของการจัดการเรียนคือการให้ความสำคัญกับครูผู้สอนที่จะต้องเสริมทักษะการสอนและให้ครูเข้าใจ รวมถึงเห็นความสำคัญของทักษะความคิดสร้างสรรค์ ควบคู่ไปกับการคอยสนับสนุนให้โรงเรียนสร้างเครือข่าย เพื่อให้มีการออกแบบกิจกรรมส่งเสริมทักษะความคิดสร้างสรรค์ นอกเหนือไปจากทักษะทางวิชาการ ครูควรจัดกิจกรรมที่หลากหลายท้าทาย เพื่อเป็นการกระตุ้นนักเรียนให้เกิดความสนใจกิจกรรมกลุ่ม ระดมสมอง ร่วมกับกิจกรรมการเรียนด้วยตนเอง เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้นักเรียนได้ศึกษาค้นคว้าจากแหล่งข้อมูล
4. การประเมินประสิทธิผลและถอดบทเรียนรูปแบบสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูโดยใช้กระบวนการ Design Thinking เพื่อส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 3 (บ้านบ่อ)
4.1 การประเมินสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ครูโดยใช้กระบวนการ Design Thinking เพื่อส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์ของนักเรียน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก
4.2 การประเมินระดับพฤติกรรมนักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูโดยใช้กระบวนการ Design Thinking เพื่อส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์ของนักเรียน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก
4.3 การประเมินความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก
4.4 การประเมินความคิดเห็นของครูและนักเรียน ที่มีต่อรูปแบบสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูโดยใช้กระบวนการ Design Thinking เพื่อส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 3 (บ้านบ่อ) มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก
4.5 การถอดบทเรียนผลการทดลองใช้รูปแบบสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูโดยใช้กระบวนการ Design Thinking เพื่อส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์ของนักเรียน พบว่านักเรียนมีทักษะในการแก้ไขปัญหาจากการเรียนผ่านรูปแบบสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูโดยใช้กระบวนการ Design Thinking เพื่อส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์ของนักเรียน ซึ่งเป็นการเรียนรู้แบบผสมผสานด้วยการคิดเชิงออกแบบเพื่อส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์ จึงเป็นเครื่องมือทางการคิดวิเคราะห์และแก้ปัญหาช่วยในการจัดหมวดหมู่ของปัญหาที่พบในการการเรียนรู้ และนักเรียนสามารถค้นหาคำตอบได้จากการแก้ปัญหาด้วยการใช้หลักการ Design Thinking นำไปแก้ไขปัญหาในการเรียน โดยสร้างนวัตกรรมการแก้ไข และพัฒนาทักษะการแก้ไขปัญหากับนักเรียนกลุ่มเป้าหมาย และจะเป็นแนวทางให้แก่ครูผู้สอนในการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อให้นักเรียนได้เกิดทักษะที่สำคัญต่อการแก้ไขปัญหา เพื่อมุ่งพัฒนานักเรียนให้เกิดทักษะความสามารถในการแก้ปัญหาที่พบในกระบวนการเรียนรู้ในการเรียนประจำวัน และสามารถนำไปต่อยอดในการเรียนรู้เพื่อแก้ไขปัญหาในอนาคตต่อไป
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^