การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนสุจริตแบบมีส่วนร่วม
ชื่อผู้วิจัย นางวัลลภา โพธิโต
สถานศึกษา โรงเรียนอุบลรัตนราชกัญญาราชวิทยาลัย นครราชสีมา อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา
ปีที่รายงาน 2564
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อสร้างรูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนสุจริตแบบ มีส่วนร่วม โดยใช้หลักความรับผิดชอบสังคมขององค์กร (Corporate Social Responsibility : CSR) 2) เพื่อพัฒนาคู่มือการบริหารจัดการโรงเรียนสุจริตแบบมีส่วนร่วม โดยใช้หลักความรับผิดชอบสังคมขององค์กร (Corporate Social Responsibility : CSR) 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนสุจริตแบบมีส่วนร่วมโดยใช้หลักความรับผิดชอบสังคมขององค์กร (Corporate Social Responsibility : CSR) กลุ่มเป้าหมาย ประกอบด้วย 1) ผู้บริหารโรงเรียนอุบลรัตนราช-กัญญาราชวิทยาลัย นครราชสีมา จำนวน 7 คน ได้แก่ ผู้อำนวยการโรงเรียน จำนวน 1 คน รองผู้อำนวยการโรงเรียน จำนวน 2 คน ผู้ช่วยผู้อำนวยการโรงเรียน จำนวน 4 คน 2) ครูและบุคลากรโรงเรียนอุบลรัตนราชกัญญาราชวิทยาลัย นครราชสีมา จำนวน 153 คน ประกอบด้วย ครู จำนวน 114 คน บุคคลากรทางการศึกษา จำนวน 39 คน 3) นักเรียนโรงเรียนอุบลรัตนราชกัญญาราชวิทยาลัย นครราชสีมา คัดเลือกเป็นกลุ่มตัวอย่าง โดยคิดจากจำนวนนักเรียน 2,446 คน ได้จำนวนกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 350 คน โดยเลือกแบบเจาะจง ห้องเรียนละ 5 คน จำนวน 70 ห้องเรียน 4) บุคคลในชุมชน จำนวน 27 คน ประกอบด้วย คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 15 คน และคณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 12 คน เครื่องมือวิจัยที่ใช้ ได้แก่ 1) แบบประเมินความเหมาะสมของรูปแบบ 2) แบบประเมินความเหมาะสมของคู่มือ 3) แบบประเมินด้านการสร้างทัศนคติที่ดี ต่อการดำเนินโครงการโรงเรียนสุจริตแบบมีส่วนร่วม 4) แบบประเมินด้านการปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีตามคุณลักษณะโรงเรียนสุจริตแบบมีส่วนร่วม 5) แบบประเมินด้านการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการโรงเรียนสุจริตแบบมีส่วนร่วม 6) แบบประเมิน ด้านการจัดกระบวนการนิเทศภายในโรงเรียนสุจริตแบบมีส่วนร่วม 7) แบบประเมินด้านความสำเร็จ ของการจัดกิจกรรมการสนับสนุนโครงการโรงเรียนสุจริตแบบมีส่วนร่วม สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (X ̅) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
ผลการวิจัย พบว่า
1. การสร้างรูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนสุจริตแบบมีส่วนร่วม โดยใช้หลักความรับผิดชอบสังคมขององค์กร (Corporate Social Responsibility : CSR) ประกอบด้วย 5 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 ยุทธศาสตร์ชาติ/นโยบายโรงเรียนสุจริต ส่วนที่ 2 กรอบการบริหารจัดการ ส่วนที่ 3 หลักการ/ทฤษฎี ส่วนที่ 4 ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง และส่วนที่ 5 ตัวชี้วัดความสำเร็จ ผู้วิจัยได้นำหลักการบริหารแบบมีส่วนร่วม PAR หลัก CSR หลัก PDCA มาออกแบบเป็นรูปแบบใหม่ที่เรียกว่า PEELS4 MODEL ความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญที่มีต่อความเหมาะสมของรูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนสุจริตแบบมีส่วนร่วม โดยใช้หลักความรับผิดชอบสังคมขององค์กร (Corporate Social Responsibility : CSR) อยู่ในระดับมากที่สุด
2. การพัฒนาคู่มือการบริหารจัดการโรงเรียนสุจริตแบบมีส่วนร่วม โดยใช้หลักความรับผิดชอบสังคมขององค์กร (Corporate Social Responsibility : CSR) ประกอบด้วย 2 ส่วน
ส่วนที่ 1 บทนำ ส่วนที่ 2 รูปแบบและกระบวนการบริหารจัดการ ทำการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญ ใน 5 ด้าน ดังนี้ ด้านที่ 1 ด้านความเหมาะสมของคู่มือการบริหารจัดการโรงเรียนสุจริตแบบมีส่วนร่วม โดยใช้หลักความรับผิดชอบสังคมขององค์กร (Corporate Social Responsibility : CSR) ด้านที่ 2 ด้านความเหมาะสมของรายละเอียดด้านการวางแผน PPCSR ด้านที่ 3 ด้านความเหมาะสมของรายละเอียด ด้านการปฏิบัติการ DPCSR ด้านที่ 4 ด้านความเหมาะสมของรายละเอียด ด้านการตรวจสอบการปฏิบัติตามแผน CPCSR ด้านที่ 5 ด้านความเหมาะสมของรายละเอียด ด้านการปรับปรุง APCSR ความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญที่มีต่อคู่มือการบริหารจัดการโรงเรียนสุจริตแบบมีส่วนร่วม โดยใช้หลักความรับผิดชอบสังคมขององค์กร (Corporate Social Responsibility : CSR) อยู่ในระดับมากที่สุด
3. การทดลองใช้คู่มือการบริหารจัดการโรงเรียนสุจริตแบบมีส่วนร่วม โดยใช้หลักความรับผิดชอบสังคมขององค์กร (Corporate Social Responsibility : CSR) พบว่า ผลการประเมิน ในภาพรวม อยู่ในระดับมาก เพื่อพิจารณารายด้านพบว่า 1) ด้านการมีทัศนคติที่ดีต่อการดำเนินโครงการโรงเรียนสุจริตแบบมีส่วนร่วม โดยใช้หลักความรับผิดชอบสังคมขององค์กร (Corporate Social Responsibility : CSR) อยู่ในระดับมาก 2) ด้านการปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีตามคุณลักษณะโรงเรียนสุจริตแบบมีส่วนร่วม โดยใช้หลักความรับผิดชอบสังคมขององค์กร (Corporate Social Responsibility : CSR) อยู่ในระดับมาก 3) ด้านการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการโรงเรียนสุจริตแบบมีส่วนร่วมโดยใช้หลักความรับผิดชอบสังคมขององค์กร (Corporate Social Responsibility : CSR) อยู่ในระดับมาก 4) ผลการประเมินความคิดเห็นด้านการจัดกระบวนการนิเทศภายในโรงเรียนสุจริตแบบมีส่วนร่วม โดยใช้หลักความรับผิดชอบสังคมขององค์กร (Corporate Social Responsibility : CSR) อยู่ในระดับมาก และ 5 ) ด้านความสำเร็จของการจัดกิจกรรมการสนับสนุนโครงการโรงเรียนสุจริตแบบมีส่วนร่วม โดยใช้หลักความรับผิดชอบสังคมขององค์กร (Corporate Social Responsibility : CSR) อยู่ในระดับมากที่สุด