การประเมินรายงานผลโครงการส่งเสริมและพัฒนาวิถึพอเพียง
ของนักเรียนโรงเรียนทุ่งไทรทอง ปีการศึกษา 2563
ผู้ประเมิน : นายกิตติ บุญศรี ผู้อำนวยการโรงเรียนทุ่งไทรทอง
ปีที่ประเมิน : ปีการศึกษา 2563
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
การประเมินโครงการส่งเสริมและพัฒนาวิถีพอเพียงตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของนักเรียนโรงเรียนทุ่งไทรทอง ปีการศึกษา 2563 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 1 โดยใช้รูปแบบซิปป์ (CIPP Model) เพื่อประเมินโครงการในด้านสภาวะแวดล้อม ด้านปัจจัยเบื้องต้น ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต การประเมินครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อประเมินสภาวะแวดล้อม (Context Evaluation) ของโครงการส่งเสริมและพัฒนาวิถีพอเพียงตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของนักเรียนโรงเรียนทุ่งไทรทอง ปีการศึกษา 2563 2. เพื่อประเมินปัจจัยเบื้องต้น (Input Evaluation) ของโครงการส่งเสริมและพัฒนาวิถีพอเพียงตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของนักเรียนโรงเรียนทุ่งไทรทอง ปีการศึกษา 2563 3. เพื่อประเมินกระบวนการ (Process Evaluation) ของโครงการส่งเสริมและพัฒนาวิถีพอเพียงตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของนักเรียนโรงเรียนทุ่งไทรทอง ปีการศึกษา 2563 4. เพื่อประเมินผลผลิต (Product Evaluation) ของโครงการส่งเสริมและพัฒนาวิถีพอเพียงตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของนักเรียนโรงเรียนทุ่งไทรทอง ปีการศึกษา 2563 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษา รวมทั้งสิ้น 87 คน กลุ่มตัวอย่างได้มาจากการเลือกแบบเจาะจงและใช้กลุ่มตัวอย่างจากประชากร เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน ครั้งนี้ เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 5 ฉบับ รวมทั้งการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการตรวจสอบเอกสารหลักฐานวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ด้วยค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการประเมินและข้อเสนอแนะสรุปได้ดังนี้
ผลการประเมิน
1. ผลการประเมินความเหมาะสมของสภาวะแวดล้อม ของโครงการส่งเสริมและพัฒนาวิถีพอเพียงตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของนักเรียนโรงเรียนทุ่งไทรทอง ปีการศึกษา 2563 พบว่า ความคิดเห็นของครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวมมีความเหมาะสม ในระดับมากที่สุด
2. ผลการประเมินความพร้อมของปัจจัยเบื้องต้นในการดำเนินงานของโครงการส่งเสริมและพัฒนาวิถีพอเพียงตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของนักเรียนโรงเรียนทุ่งไทรทอง ปีการศึกษา 2563 ความคิดเห็นของครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวมมีความพร้อมอยู่ในระดับมากที่สุด
3. ผลการประเมินกระบวนการของโครงการส่งเสริมและพัฒนาวิถีพอเพียงตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของนักเรียนโรงเรียนทุ่งไทรทอง ปีการศึกษา 2563 ความคิดเห็นของครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และนักเรียน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
4. ผลการประเมินผลผลิตของโครงการส่งเสริมและพัฒนาวิถีพอเพียงตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของนักเรียนโรงเรียนทุ่งไทรทอง ปีการศึกษา 2563
4.1 ผลการประเมินผลผลิต ความคิดเห็นของครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองและนักเรียน มีผลการดำเนินงานโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
4.2 ผลการประเมินความพึงพอใจต่อกิจกรรมทั้ง 6 กิจกรรม ในโครงการส่งเสริมและพัฒนาวิถีพอเพียงตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของนักเรียนโรงเรียนทุ่งไทรทอง ปีการศึกษา 2563 ความคิดเห็นของครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองและนักเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด
ข้อเสนอแนะ
1. ข้อเสนอแนะในการนำผลการประเมินไปใช้
1.1 สภาวะแวดล้อมของโครงการ มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด ชี้ให้เห็นว่าโครงการสามารถตอบสนองนโยบายของโรงเรียนและหน่วยงานต้นสังกัดทุกระดับได้ และมีความสอดคล้องกับบริบทของชุมชน จึงควรดำเนินโครงการต่อไปและปรับปรุงผลการประเมินบางประเด็นให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
1.2 ปัจจัยเบื้องต้นของโครงการ มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด ชี้ให้เห็นว่า ผู้บริหารให้ความสำคัญ กับการพัฒนานักเรียน บุคลากร และผู้รับผิดชอบโครงการ สนับสนุนปัจจัยที่จำเป็นต่อการจัดกิจกรรมในโครงการอย่างเพียงพอ
1.3 กระบวนการของโครงการ มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด ชี้ให้เห็นว่าการดำเนินงานในโครงการเน้นให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายร่วมวางแผนดำเนินงาน และร่วมกันกำหนดกิจกรรมให้สอดคล้องกับบริบท และสามารถเกิดผลดีต่อโรงเรียน และชุมชนให้มากที่สุด
1.4 ผลผลิตของโครงการ มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด ชี้ให้เห็นว่าการดำเนินงานของโครงการ ในกิจกรรมทั้ง 6 กิจกรรม ทำให้นักเรียนได้เรียนรู้และปฏิบัติจริง จึงควรพัฒนาและต่อยอดกิจกรรมต่าง ๆ ให้เกิดเป็นทักษะพื้นฐานประจำตัวของนักเรียน และกลายเป็นวัฒนธรรมองค์กรของโรงเรียนต่อไป
2. ข้อเสนอแนะในการศึกษา และดำเนินการในครั้งต่อไป
2.1 การจัดกิจกรรมตามโครงการที่โรงเรียนจัดขึ้น ควรเชิญผู้เชี่ยวชาญโดยตรงจากหน่วยงานภายนอก เพื่อให้คำแนะนำและชี้แนะเพิ่มเติมนอกเหนือจากการได้รับความรู้จากวิทยากรชุมชน หรือปราชญ์ชาวบ้านในชุมชน รวมถึงการมีส่วนร่วมในการวางแผนเตรียมการให้มีความพร้อมทั้งทางด้านบุคลากร งบประมาณ และวัสดุอุปกรณ์ เพื่อให้มีความพร้อมในการดำเนินงานมากที่สุด มีการประเมินผลการดำเนินงานเป็นระยะ และนำปัญหาหรือข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นมาปรับปรุงการดำเนินงานในครั้งต่อไป
2.2 มีการจัดกิจกรรมเป็นค่ายวิชาการเพื่อสรุปหรือประมวลความรู้ที่นักเรียนได้รับจากการดำเนินงานโครงการ และประเมินผลในการนำไปต่อยอดและประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันของนักเรียน