การพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์เรียนรู้บูรณาการตามหลักปรัชญาฯ
เพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดแก้ปัญหาและความสามารถในการแสวงหาความรู้
สำหรับเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3
ผู้วิจัย นางพัทธนันท์ ธาราวุฒิ ตำแหน่งครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
โรงเรียนหรเทพ (รุ่งเรืองประชาสามัคคี) สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสระบุรี
ปีที่ศึกษา 2563
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเพื่อพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์เรียนรู้บูรณาการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดแก้ปัญหาและความสามารถในการแสวงหาความรู้ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 สรุปสาระที่ได้จากการวิจัย โดยมีวัตถุประสงค์ 4 ประการ (1) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับความสามารถในการคิดแก้ปัญหา และความสามารถในการแสวงหาความรู้ของเด็กปฐมวัย (2) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์เรียนรู้บูรณาการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดแก้ปัญหาและความสามารถในการแสวงหาความรู้ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 (3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์เรียนรู้บูรณาการเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดแก้ปัญหาและความสามารถในการแสวงหาความรู้ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 (4) เพื่อประเมินประสิทธิผลการใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์เรียนรู้บูรณาการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดแก้ปัญหาและความสามารถในการแสวงหาความรู้ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนหรเทพ (รุ่งเรืองประชาสามัคคี) สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสระบุรี จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย รูปแบบการจัดประสบการณ์เรียนรู้ คู่มือการใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์เรียนรู้ แผนการจัดประสบการณ์เรียนรู้ แบบประเมินความสามารถในการคิดแก้ปัญหาและความสามารถในการแสวงหาความรู้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหา ค่าร้อยละ(%) ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน(S.D.) และสถิติทดสอบ t–test (Independent Sample t – test)
ผลการวิจัยพบว่า
1. รูปแบบการจัดประสบการณ์เรียนรู้บูรณาการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดแก้ปัญหาและความสามารถในการแสวงหาความรู้ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 ประกอบด้วยการบูรณาการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมีดังนี้ 1) ความพอประมาณ 2) ความมีเหตุผล 3) การมีภูมิคุ้มกันที่ดี โดยมีเงื่อนไขในการตัดสินใจและดำเนินกิจกรรมคือเงื่อนไขความรู้ และเงื่อนไขคุณธรรม กระบวนการจัดประสบการณ์เรียนรู้มี 3 ขั้นตอน คือขั้นที่ 1 ขั้นนำ ขั้นที่ 2 ขั้นกระบวนการเรียนรู้ ขั้นที่ 3 ขั้นสรุป ซึ่งในขั้นที่ 2 ขั้นกระบวนการเรียนรู้ มี 5 ขั้นตอนคือ ขั้นตั้งคำถาม ขั้นแสวงหาสารสนเทศ ขั้นสร้างความรู้ ขั้นสื่อความหมาย ขั้นประยุกต์และนำไปใช้
2. รูปแบบการจัดประสบการณ์เรียนรู้บูรณาการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดแก้ปัญหาและความสามารถในการแสวงหาความรู้ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 ตามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด (มีค่าเฉลี่ยตั้งแต่ 4.00 - 4.80) และความคิดเห็นของครูปฐมวัยต่อรูปแบบการจัดประสบการณ์ เพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดแก้ปัญหาและความสามารถในการแสวงหาความรู้ ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาล ปีที่ 3 มี ผลประเมินโดยรวม มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( = 2.70, S.D. = 0.47)
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์เรียนรู้บูรณาการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดแก้ปัญหาและความสามารถในการแสวงหาความรู้ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 เด็กปฐมวัยมีความสามารถในการคิดแก้ปัญหาและความสามารถในการแสวงหาความรู้เพิ่มขึ้นหลังจากได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดของอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แสดงว่าการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดของรูปแบบการจัดประสบการณ์เรียนรู้บูรณาการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดแก้ปัญหาและความสามารถในการแสวงหาความรู้ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 ทำให้เด็กปฐมวัยมีความสามารถในการคิดแก้ปัญหาและความสามารถในการแสวงหาความรู้เพิ่มขึ้น
4. ผลการประเมินประสิทธิผลการใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์เรียนรู้บูรณาการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดแก้ปัญหาและความสามารถในการแสวงหาความรู้ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 โดยมีวัตถุประสงค์ย่อย ดังนี้
1) เด็กปฐมวัยมีความสามารถในการคิดแก้ปัญหาหลังใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์เรียนรู้บูรณาการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดแก้ปัญหาและความสามารถในการแสวงหาความรู้สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ถือว่าผ่านเกณฑ์
2) เด็กปฐมวัยมีความสามารถในการแสวงหาความรู้หลังใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์เรียนรู้บูรณาการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดแก้ปัญหาและความสามารถในการแสวงหาความรู้สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ถือว่าผ่านเกณฑ์
3) เด็กปฐมวัยมีความพึงพอใจต่อการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดประสบการณ์เรียนรู้บูรณาการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดแก้ปัญหาและความสามารถในการแสวงหาความรู้ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 มีความพึงพอใจต่อการเรียนรู้ตามรูปแบบการจัดประสบการณ์เรียนรู้บูรณาการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดแก้ปัญหาและความสามารถในการแสวงหาความรู้ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาล ปีที่ 3 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ถือว่าผ่านเกณฑ์