การพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคคู่คิด Think Pair Sha
ผู้วิจัย นางสาวทองประกาย ณ ถลาง
ปีการศึกษา 2563
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการในการพัฒนา การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคคู่คิด Think Pair Share ร่วมกับชุดกิจกรรม เรื่อง รูปหลายเหลี่ยมในชีวิตประจำวัน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2) พัฒนาและหาประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคคู่คิด Think Pair Share ร่วมกับชุดกิจกรรม เรื่อง รูปหลายเหลี่ยมในชีวิตประจำวัน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระหว่างก่อนและหลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคคู่คิด Think Pair Share ร่วมกับชุดกิจกรรม เรื่อง รูปหลายเหลี่ยมในชีวิตประจำวัน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 4) ประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคคู่คิด Think Pair Share ร่วมกับชุดกิจกรรม เรื่อง รูปหลายเหลี่ยมในชีวิตประจำวัน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มตัวอย่างของการวิจัยครั้งนี้คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/4 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนเทศบาลปลูกปัญญา ในพระอุปถัมภ์ฯ สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครภูเก็ต จำนวนนักเรียน 45 คน ได้มาด้วยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคคู่คิด Think Pair Share ร่วมกับชุดกิจกรรม เรื่อง รูปหลายเหลี่ยมในชีวิตประจำวัน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 12 แผน เวลา 18 ชั่วโมง 2) ชุดกิจกรรม เรื่อง รูปหลายเหลี่ยมในชีวิตประจำวัน ที่ผู้วิจัยได้สร้างและพัฒนาขึ้น จำนวน 5 ชุด 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคคู่คิด Think Pair Share ร่วมกับชุดกิจกรรมเรื่อง รูปหลายเหลี่ยม ในชีวิตประจำวัน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เป็นแบบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ (แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนเป็นข้อสอบชุดเดียวกัน แต่สลับข้อกัน) 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคคู่คิด Think Pair Share ร่วมกับชุดกิจกรรม เรื่อง รูปหลายเหลี่ยมในชีวิตประจำวัน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 10 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ(%) ค่าเฉลี่ย( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน(S.D.) และการทดสอบค่าที ( )
ผลการวิจัยพบว่า
1. ข้อมูลพื้นฐาน นักเรียนส่วนใหญ่มีความคุ้นเคยกับการเรียนแบบบรรยายที่รอรับความรู้จากครูเพียงฝ่ายเดียว ซึ่งสภาพการจัดการเรียนดังกล่าวทำให้นักเรียนรู้สึกเครียดและเบื่อหน่ายการเรียน ส่วนความต้องการเรียนรู้แบบคู่คิด พบว่า นักเรียนส่วนใหญ่ต้องการเรียนรู้โดยครูนำเสนอปัญหาให้คิด นักเรียนต้องการเรียนโดยจับคู่กันและช่วยกันคิดหาคำตอบที่ครูกำหนดให้ และช่วยกันตรวจสอบคำตอบ โดยนักเรียนรู้สึกว่าการเรียนแบบคู่คิดจะช่วยลดความเครียดในการเรียนลงได้ และช่วยให้นักเรียนสามารถทำความเข้าใจบทเรียนได้มากขึ้น นักเรียนสนใจการสร้างผลงานที่เน้นการแข่งขันกับเกณฑ์มากกว่าการแข่งขันระหว่างกลุ่ม นักเรียนไม่ต้องการแข่งขันกันมากเกินไปโดยเฉพาะกลุ่มที่เรียนไม่เก่ง เพราะมักไม่มีโอกาสชนะในการแข่งขัน จึงต้องการทำงานแบบแข่งกับเป้าหมายหรือแข่งกับเกณฑ์จะรู้สึกไม่กดดันกับการเรียนและสนุกกับการแก้ปัญหาที่ครูกำหนดให้มากขึ้น
2. ผลการพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคคู่คิด Think Pair Share ร่วมกับชุดกิจกรรม เรื่อง รูปหลายเหลี่ยมในชีวิตประจำวัน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยผู้วิจัยนำข้อมูลพื้นฐานและความต้องการมาออกแบบการจัดการเรียนรู้ ประกอบด้วย 6 ขั้นตอน ได้แก่ 1. ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน 2. ขั้นเรียนรู้ 3. ขั้นคู่คิด 4. ขั้นทำงานกลุ่ม 5. ขั้นตรวจสอบและทดสอบ 6. ขั้นสรุปและประเมินผล ซึ่งแต่ละแผนการจัดการเรียนรู้ได้นำชุดกิจกรรมที่เป็นสื่อสนับสนุนการเรียนรู้ประกอบด้วย แบบทดสอบก่อนเรียน ใบความรู้และตัวอย่าง กิจกรรมที่ 1-4 แบบทดสอบหลังเรียน และส่วนที่ใช้ประเมินผลการเรียนรู้ ได้แก่ ตารางบันทึกคะแนน เฉลยแบบทดสอบ แนวคำตอบชุดกิจกรรม ผลการประเมินแผนการจัดการเรียนรู้โดยผู้เชี่ยวชาญโดยรวมเท่ากับ 4.98 มีความเหมาะสมมากที่สุด และมีประสิทธิภาพเท่ากับ 86.47/86.56 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้
3. ผลการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคคู่คิด Think Pair Share ร่วมกับชุดกิจกรรม เรื่อง รูปหลายเหลี่ยมในชีวิตประจำวัน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคคู่คิด Think Pair Share ร่วมกับชุดกิจกรรม เรื่อง รูปหลายเหลี่ยมในชีวิตประจำวัน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบว่า โดยภาพรวมความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด