LASTEST NEWS

26 พ.ย. 2567สพฐ. เข้ม สั่งครูล่วงละเมิดนักเรียนออกจากราชการทันที ย้ำดูแลสภาพจิตใจเด็กเป็นสำคัญ 26 พ.ย. 2567สพฐ.เล็งทำบัตรสุขภาพนักเรียนออนไลน์ 26 พ.ย. 2567ทำไมครูส่วนใหญ่ ไม่สนใจสมัครสอบเป็นศึกษานิเทศก์ 26 พ.ย. 2567ก.พ.ยังนิ่งปมทบทวนจ้างเหมาบริการ “ธนุ” ไม่รอแล้วสั่งทำสัญญาจ่ายเงิน ตามระเบียบกรมบัญชีกลาง 25 พ.ย. 2567ล 1932/2567 หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู และที่แก้ไขเพิ่มเติม 25 พ.ย. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย จำนวน 81 อัตรา - รายงานตัว 28 พ.ย. 2567 25 พ.ย. 2567สพป.สมุทรสาคร เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 14 อัตรา รายงานตัว 3 ธันวาคม 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนเมืองสุรินทร์ รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 25-27 พฤศจิกายน 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนบ้านระไซร์(เด่นพัฒนา) รับสมัครครูอัตราจ้าง วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 7,000.- บาท  24 พ.ย. 2567สพป.เพชรบุรี เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 11 อัตรา - รายงานตัว 4 ธันวาคม 2567

โครงการพัฒนาศักยภาพครู เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้

usericon

ชื่อรายงาน     โครงการพัฒนาศักยภาพครู เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ สู่คุณภาพผู้เรียน
โดยใช้ WISDOM MODEL โรงเรียนบ้านลำชิง ปีการศึกษา 2563
ชื่อผู้รายงาน    นางสาวเฉลิม รัตน์แก้ว
ตำแหน่ง    ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านลำชิง
ปีที่รายงาน    ปีการศึกษา 2563

บทสรุป
    รายงานการประเมินโครงการพัฒนาศักยภาพครู เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ สู่คุณภาพผู้เรียน โดยใช้ WISDOM MODEL โรงเรียนบ้านลำชิง ปีการศึกษา 2563 มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินด้านสภาพแวดล้อมของโครงการพัฒนาศักยภาพครู เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ การจัดการเรียนรู้ สู่คุณภาพผู้เรียน โดยใช้ WISDOM MODEL โรงเรียนบ้านลำชิง ปีการศึกษา 2563 2) ประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการพัฒนาศักยภาพครู เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ การจัดการเรียนรู้ สู่คุณภาพผู้เรียน โดยใช้ WISDOM MODEL โรงเรียนบ้านลำชิง ปีการศึกษา 2563 3) ประเมินด้านกระบวนการดำเนินงานของโครงการพัฒนาศักยภาพครู เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ สู่คุณภาพผู้เรียน โดยใช้ WISDOM MODEL โรงเรียนบ้านลำชิง ปีการศึกษา 2563 4) ประเมินด้านผลผลิตของโครงการพัฒนาศักยภาพครู เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ สู่คุณภาพผู้เรียน โดยใช้ WISDOM MODEL โรงเรียนบ้านลำชิง ปีการศึกษา 2563 จำแนกเป็น 4.1) คุณภาพของการพัฒนาศักยภาพครู เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการเรียนรู้ สู่คุณภาพผู้เรียน โดยใช้ WISDOM MODEL โรงเรียนบ้านลำชิง ปีการศึกษา 2563 4.2) ประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนบ้านลำชิง ปีการศึกษา 2563 4.3) คุณภาพผู้เรียน โรงเรียนบ้านลำชิง ปีการศึกษา 2563 ประกอบด้วย ผลสัมฤทธิ์ระดับสถานศึกษา ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ผลการประเมินคุณภาพผู้เรียน ( NT ) ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ผลการทดสอบเพื่อประเมินความสามารถในการอ่าน ( RT ) ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ผลการประเมินสมรรถนะสำคัญของผู้เรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา และผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา 4.4) ความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีต่อการดำเนินงานโครงการพัฒนาศักยภาพครู เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ สู่คุณภาพผู้เรียน โดยใช้ WISDOM MODEL โรงเรียน บ้านลำชิง ปีการศึกษา 2563 กลุ่มเป้าหมายในการวิจัยประกอบด้วย 1) กลุ่มตัวอย่างนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - 6 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 101 คน 2) ประชากรครู ปีการศึกษา 2563 จำนวน 14 คน 3) กลุ่มตัวอย่างผู้ปกครองนักเรียน ปีการศึกษา 2563 จำนวน 94 คน 4) กลุ่มตัวอย่างคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2563 จำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินจำนวน 12 ฉบับ มี 2 ลักษณะ ได้แก่ 1) แบบสอบถามที่มีลักษณะเป็นมาตรส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 6 ฉบับ และ2) แบบบันทึกผลคุณภาพผู้เรียนตามสภาพจริง จำนวน 6 ฉบับ มีการตรวจสอบคุณภาพแบบสอบถามทุกฉบับได้ค่าความเชื่อมั่นอยู่ระหว่าง 0.892 – 0.997 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยใช้โปรแกรม SPSS version 23 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล โดยการหาค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย ( Mean ) และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)
    ผลการประเมินโครงการพบว่า
1. ผลการประเมินด้านสภาพแวดล้อมของโครงการพัฒนาศักยภาพครู เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ สู่คุณภาพผู้เรียน โดยใช้ WISDOM MODEL โรงเรียนบ้านลำชิง ปีการศึกษา 2563 ตามความคิดเห็นของครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวมพบว่า ทั้งสองกลุ่ม ที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด โดยกลุ่มครู มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมากที่สุด (μ = 4.52, σ = 0.35) รองลงมา กลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน อยู่ในระดับมาก ( = 4.41, S.D. = 0.41)
    2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้าตามโครงการพัฒนาศักยภาพครู เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ สู่คุณภาพผู้เรียนโดยใช้ WISDOM MODEL โรงเรียนบ้านลำชิง ปีการศึกษา 2563 ตามความคิดเห็นของครู โดยภาพรวมพบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( = 4.40, = 0.41 ) ทุกประเด็นตัวชี้วัด มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
    3. ผลการประเมินด้านกระบวนการดำเนินงานของโครงการพัฒนาศักยภาพครู เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ สู่คุณภาพผู้เรียนโดยใช้ WISDOM MODEL โรงเรียนบ้านลำชิง ปีการศึกษา 2563 ตามความคิดเห็นของครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและผู้ปกครอง โดยภาพรวมพบว่า ทั้งสามกลุ่มที่ประเมิน มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์การประเมิน โดยกลุ่มครู มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมากที่สุด (μ = 4.52, σ = 0.40) รองลงมา คือ กลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน อยู่ในระดับมาก ( = 4.46, S.D. = 0.45) ส่วนความคิดเห็นของ ผู้ปกครองมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( = 4.28 , S.D. = 0.54) อยู่ในระดับมากเช่นกัน
4. ผลการประเมินด้านผลผลิตโครงการพัฒนาศักยภาพครู เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ สู่คุณภาพผู้เรียน โดยใช้ WISDOM MODEL โรงเรียนบ้านลำชิง ปีการศึกษา 2563 จำแนกเป็น
        4.1 ผลการประเมินด้านคุณภาพการพัฒนาศักยภาพครู ตามโครงการพัฒนาศักยภาพครู เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ สู่คุณภาพผู้เรียน โดยใช้ WISDOM MODEL โรงเรียนบ้านลำชิง ปีการศึกษา 2563 ตามความคิดเห็นของครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครอง โดยภาพรวมพบว่า ทั้งสามกลุ่มที่ประเมิน มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน โดยกลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.54, S.D. = 0.44) รองลงมา คือกลุ่มครู ( μ = 4.31, σ = 0.37) อยู่ในระดับมาก ส่วนกลุ่ม ผู้ปกครองมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( = 4.21 , S.D. = 0.54) อยู่ในระดับมากเช่นกัน
    4.2 ผลการประเมินด้านประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ของครู ตามโครงการพัฒนาศักยภาพครู เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ สู่คุณภาพผู้เรียน โดยใช้ WISDOM MODEL โรงเรียนบ้านลำชิง ปีการศึกษา 2563 ตามความคิดเห็นของนักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครอง โดยภาพรวมพบว่า ทั้งสามกลุ่มที่ประเมิน มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน โดยกลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.54, S.D. = 0.44) รองลงมา คือกลุ่มผู้ปกครอง ( = 4.25, S.D. = 0.51) อยู่ในระดับมาก ส่วนกลุ่ม นักเรียนมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( = 4.14 , S.D. = 0.54) อยู่ในระดับมากเช่นกัน
        4.3 คุณภาพผู้เรียนโรงเรียนบ้านลำชิง จำแนกเป็น
                4.3.1 คะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับสถานศึกษา โรงเรียนบ้านลำชิง ปีการศึกษา 2563 โดยรวมมีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 80.91สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ผ่านเกณฑ์การประเมิน
        4.3.2 ผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2563 โดยรวม โรงเรียนบ้านลำชิง มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 46.70 ระดับเขตพื้นที่การศึกษา (สพป. สงขลา เขต 3) มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 37.65 และระดับประเทศ มีคะแนนเฉลี่ย 42.13 แสดงให้เห็นว่าโดยรวมโรงเรียนบ้านลำชิง มีคะแนนเฉลี่ย ร้อยละสูงกว่า ระดับเขตพื้นที่การศึกษา (สพป. สงขลา เขต 3) และระดับประเทศ สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ผ่านเกณฑ์การประเมิน
        4.3.3 ผลการประเมินคุณภาพผู้เรียน ( NT ) ชั้นประถมศึกษา ปีที่ 3 ปีการศึกษา 2563 โดยรวม โรงเรียนบ้านลำชิง มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 49.45 ระดับเขตพื้นที่การศึกษา (สพป. สงขลา เขต 3) มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 41.57 และระดับประเทศ มีคะแนนเฉลี่ย 43.97แสดงให้เห็นว่าโดยรวมโรงเรียนบ้านลำชิง มีคะแนนเฉลี่ย ร้อยละสูงกว่า ระดับเขตพื้นที่การศึกษา (สพป. สงขลา เขต 3) และระดับประเทศ สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ผ่านเกณฑ์การประเมิน
        4.3.4 ผลการทดสอบเพื่อประเมินความสามารถในการอ่าน ( RT ) ชั้นประถมศึกษา ปีที่ 1 ปีการศึกษา 2563 โดยรวม โรงเรียนบ้านลำชิง มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 84.14 ระดับเขตพื้นที่การศึกษา (สพป. สงขลา เขต 3) มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 72.23 และระดับประเทศ มีคะแนนเฉลี่ย 73.02 แสดงให้เห็นว่าโดยรวมโรงเรียนบ้านลำชิง มีคะแนนเฉลี่ย ร้อยละสูงกว่า ระดับเขตพื้นที่การศึกษา (สพป. สงขลา เขต 3) และระดับประเทศ สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ผ่านเกณฑ์การประเมิน
        4.3.5 ผลการประเมินสมรรถนะสำคัญของนักเรียนโรงเรียนบ้านลำชิง หลังดำเนินโครงการพัฒนาศักยภาพครู เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ สู่คุณภาพผู้เรียน โดยใช้ WISDOM MODEL ปีการศึกษา 2563 พบว่าโดยภาพรวมอยู่ในระดับดีขึ้นไปร้อยละ 87.80 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ผ่านเกณฑ์การประเมิน
    4.3.6 ผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียน บ้านลำชิง หลังดำเนินโครงการพัฒนาศักยภาพครู เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ สู่คุณภาพผู้เรียน โดยใช้ WISDOM MODEL ปีการศึกษา 2563 พบว่า โดยภาพรวมคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนทั้ง 8 ประการอยู่ในระดับดีขึ้นไป ร้อยละ 95.12 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ผ่านเกณฑ์การประเมิน
    4.4 ผลการประเมินความพึงพอใจต่อการดำเนินโครงการพัฒนาศักยภาพครู เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ สู่คุณภาพผู้เรียน โดยใช้ WISDOM MODEL โรงเรียนบ้านลำชิง ปีการศึกษา 2563 ตามความคิดเห็นของครู นักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครอง โดยภาพรวมพบว่า ทั้งสี่กลุ่มที่ประเมิน มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน โดยกลุ่มครู มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมากที่สุด ( μ = 4.54, σ = 0.40) รองลงมา คือ กลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ( = 4.53 , S.D. = 0.48) อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนกลุ่มนักเรียน มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( = 4.20 , S.D. = 0.52) อยู่ในระดับมาก

ข้อเสนอแนะ
1. ข้อเสนอแนะเพื่อนำผลการประเมินไปใช้
         1.1 W : Well Cognition ( การสร้างการรับรู้ที่ดี ) เนื่องจากการรับรู้เป็นพื้นฐานสำคัญที่ทำให้เกิดการเรียนรู้ การตอบสนองพฤติกรรมใดๆ จะขึ้นอยู่กับการรับรู้จากสภาพแวดล้อม และความสามารถในการแปลความหมายของสภาพนั้นๆ เมื่อรับรู้แล้วเกิดการรู้สึกและมีอารมณ์ พัฒนาเป็นเจตคติแล้วพฤติกรรมก็ตามมาในที่สุด สามารถก่อให้เกิดความคิดเชิงสร้างสรรค์ที่จะดำเนินการพัฒนา แก้ไข ปรับปรุง เปลี่ยนแปลงเลือกสรรและแยกแยะสิ่งเร้ารอบๆด้าน การสร้างการรับรู้ที่ดีในการดำเนินการพัฒนาศักยภาพครู เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ สู่คุณภาพผู้เรียน ช่วยให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีความเข้าใจและตระหนักถึงความต้องการจำเป็นในการพัฒนาศักยภาพครู ร่วมกันวิเคราะห์สภาพปัจจุบัน ปัญหา กำนดเป้าหมายและกรอบกิจกรรมการพัฒนาครู ที่สอดคล้องกับความต้องการจำเป็นของโรงเรียนและสอดคล้องกับความต้องการพัฒนาตนเองของครู
    1.2 I : Involvement Stakeholders ( การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ) เนื่องจากการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ทำให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเกิดความรู้สึกเป็นเจ้าของ เข้าใจในคุณค่าของตนเอง นำคุณค่านั้นมาสนับสนุนส่งเสริมการดำเนินงาน เกิดความพึงพอใจ เกิดการยอมรับร่วมกัน เกิดสัมพันธภาพที่¬ดีและมีน้ำใจต่อกัน ก่อให้เกิดความผูกพันกับองค์กร สามารถใช้ความสามารถและทักษะในการร่วมดำเนินงาน ส่งผลให้การดำเนินการพัฒนาศักยภาพครู เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ สู่คุณภาพผู้เรียนมีคุณภาพและมีประสิทธิภาพ
         1.3 S : Several Methods ( วิธีการที่หลากหลาย ) เนื่องจาการดำเนินการพัฒนาศักยภาพครู เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ สู่คุณภาพผู้เรียน ต้องดำเนินการให้สอดคล้องกับต้องการจำเป็นของโรงเรียนและสอดคล้องกับความต้องการพัฒนาตนเองของครู วิธีการพัฒนาศักยภาพครูจึงต้องมีความหลากหลาย ด้วยกิจกรรมพัฒนา 3 ลักษณะดังนี้1) กิจกรรมการพัฒนาตนเองโดยครูเป็นหลัก และมีโรงเรียนสนับสนุน ส่งเสริม 2) กิจกรรมการพัฒนาตนเองโดยโรงเรียนเป็นเจ้าภาพหลัก และ3) กิจกรรมการพัฒนาตนเองโดยหน่วยงานต้นสังกัด หรือหน่วยงานอื่นจัดขึ้น
         1.4 D : Definite Reinforcement ( การเสริมแรงเชิงบวก ) เนื่องจากการเสริมแรงเชิงบวก เป็นสิ่งเร้าที่ช่วยเพิ่มพลังในการตอบสนอง ทำให้เกิดความพึงพอใจ เป็นวิธีหนึ่งที่มีประสิทธิภาพในการเพิ่มพฤติกรรม ส่งผลให้การตอบสนองนั้นคงอยู่ต่อไป โรงเรียนบ้านลำชิงใช้ตัวเสริมแรงที่เป็นสิ่งของ คำพูดหรือสภาพการณ์ ที่จะช่วยให้ครูเกิดแรงจูงใจในการดำเนินการพัฒนาศักยภาพครู เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ สู่คุณภาพผู้เรียนและแสดงพฤติกรรมมากยิ่งขึ้น ด้วยรูปแบบของการ ยกย่อง เชิดชูเกียรติ การเสริมสร้างโอกาสแสดงศักยภาพและความสามารถ การประเมินผลการปฏิบัติงานเพื่อพิจารณาความดี ความชอบด้วยความยุติธรรม ส่งผลให้ครูมีขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงาน มีความสุขและสนุกกับการจัดการเรียนรู้ มุ่งสู่คุณภาพผู้เรียน
         1.5 O : Outstanding Supervision ( การนิเทศ กำกับ ติดตามที่ดี ) เนื่องจากการนิเทศ กำกับ ติดตามเป็นกระบวนชี้แนะ แนะนำ และให้ความร่วมมือ เพื่อพัฒนาและปรับปรุงคุณภาพการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของครู เป็นกระบวนการที่จำเป็นและสำคัญอย่างยิ่ง ที่ต้องดำเนินการเพื่อให้สอดคล้องกับสภาพสังคม ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ครูจึงต้องปรับปรุง ฝึกฝนตนเองให้เป็นบุคคลที่ทันสมัยอยู่เสมอ สามารถจัดการเรียนรู้ได้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป โรงเรียนบ้านลำชิงได้ดำเนินการใน 2 รูปแบบ คือการนิเทศแบบกัลยาณมิตรและการนิเทศแบบสอนงาน (Coaching) ทำให้ครูเป็นบุคคลที่ทันสมัย มีความเชื่อมั่นในการจัดการเรียนรู้ ที่ส่งผลให้ผู้เรียนได้รับการพัฒนาเต็มตามศักยภาพและบรรลุตามจุดหมายของหลักสูตร
         1.6 M : Maintain Improvement ( การปรับปรุง แก้ไข พัฒนาอย่างต่อเนื่อง ) เป็นการพิจารณาตัดสินเกี่ยวกับการปฏิบัติงาน การวัดและประเมินพฤติกรรมในการทำงาน พิจารณาผลงานในเชิงปฏิบัติว่าได้ผลมากน้อยเพียงใด เพื่อนำมาเป็นข้อมูลในการตัดสินใจ เพื่อการการปรับปรุง แก้ไข พัฒนาอย่างต่อเนื่อง โรงเรียนบ้านลำชิงได้ดำเนินการในรูปแบบ การทบทวนหลังปฏิบัติงาน ( AAR : After Action Review ) ร่วมกันสะท้อนและทบทวนกระบวนการต่างๆ นำบทเรียนที่ได้จากความสำเร็จและปัญหาที่เกิดขึ้น มาพัฒนากระบวนการดำเนินงานพัฒนาศักยภาพครูให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น

    2.ข้อเสนอแนะเพื่อการประเมิน และวิจัยครั้งต่อไป
2.1 ควรศึกษาการประเมินโครงการพัฒนาศักยภาพครู เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ สู่คุณภาพผู้เรียน ในเชิงคุณภาพ เพื่อให้ได้ ข้อมูลเชิงลึกอันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน
2.2 ควรนำรูปแบบหรือวิธีการประเมินอื่น ๆ นอกเหนือจากการประเมินโดยใช้ซิป โมเดล (CIPP Model) มาประเมินโครงการพัฒนาศักยภาพครูเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ สู่คุณภาพผู้เรียน เพื่อการยืนยันผล
2.3 ควรประเมินผลกระทบของโครงการในระยะยาว เช่น ผลการเรียนรู้ที่ผู้เรียนได้รับจากการดำเนินโครงการพัฒนาศักยภาพครู เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ สู่คุณภาพผู้เรียน
2.4 ควรศึกษาผลกระทบที่มีต่อการดำเนินงานโครงการพัฒนาศักยภาพครูเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ สู่คุณภาพผู้เรียน ตามบริบทของโรงเรียนที่แตกต่างกัน เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการวางแผนการพัฒนาการดำเนินงานตามโครงการต่อไป

ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^