การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ CHUJAY MODEL ภาษาไทย ม.4
ผู้วิจัย นางณัชธริกา สรเพชญ์พิสัย
ชื่อสถาบันที่สังกัด โรงเรียนครบุรี อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา
ปีที่ศึกษา 2562
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐาน 2) สร้างและพัฒนารูปแบบให้ มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3) ศึกษาผลการทดลอง และ 4) ยืนยันประสิทธิผลรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ CHUJAY MODEL เพื่อส่งเสริมการคิดเชิงวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 การวิจัยแบบการวิจัยและพัฒนา ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ 1) การศึกษาข้อมูลพื้นฐาน 2) การออกแบบและพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ 3) การทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ และ 4) การประเมินประสิทธิผลของการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/2 โรงเรียนครบุรี สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา ในภาคเรียนที่ 1 ปี การศึกษา 2562 จำนวน 40 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ CHUJAY MODEL 2) แผนการจัดการเรียนรู้ 3) แบบฝึกทักษะ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 45) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าทีแบบไม่อิสระ และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1. ข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมการคิดเชิงวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 พบว่า ครูมีการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนในภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง และนักเรียนมีความต้องการในการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
2. รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ CHUJAY MODEL เพื่อส่งเสริมการคิดเชิงวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ประกอบด้วย หลักการและเหตุผล 2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ 3) กระบวนการจัดการเรียนรู้ ประกอบด้วยขั้นตอนในการจัดการเรียนรู้ 6 ขั้น ได้แก่ ขั้นที่ 1 C (Creative Interest) ขั้นสร้างความสนใจอย่างสร้างสรรค์ ขั้นที่ 2 H (Habit Sufficiency) ขั้นสร้างลักษณะนิสัยแบบพอเพียง ขั้นที่ 3 U (Understanding) ขั้นเสนอความรู้ความเข้าใจ ขั้นที่ 4 J (JOY) ขั้นร่วมมือร่วมใจกันศึกษาหาความรู้อย่างสนุกสนานและมีความสุข ขั้นที่ 5 A (Adduction) ขั้นการเชื่อมความรู้เก่ากับความรู้ใหม่ ขั้นที่ 6 Y (Yardstick Evaluation) ขั้นประเมินผลอย่างเที่ยงธรรม
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ CHUJAY MODEL เพื่อส่งเสริมการคิดเชิงวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 พบว่า รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ CHUJAY MODEL เพื่อส่งเสริมการคิดเชิงวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีประสิทธิภาพ 85.03/83.44 ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80 /80
4. ประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ CHUJAY MODEL เพื่อส่งเสริมการคิดเชิงวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 พบว่า 1) นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการพัฒนาสูงกว่าก่อนการพัฒนา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2) ค่าดัชนีประสิทธิผลของการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ CHUJAY MODEL เพื่อส่งเสริมการคิดเชิงวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีค่าดัชนีประสิทธิผล 0.6924 ซึ่งแสดงว่านักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีความรู้เพิ่มขึ้น 0.6924 หรือคิดเป็นร้อยละ 69.24 3) ความพึงพอใจของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ CHUJAY MODEL เพื่อส่งเสริมการคิดเชิงวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีค่าเฉลี่ย 4.73 อยู่ในระดับ “พึงพอใจมากที่สุด” และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.23 แสดงว่านักเรียนมีความคิดเห็นสอดคล้องกันค่อนข้างสูง เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ทุกข้อนักเรียนมีความพึงพอใจในระดับ “พึงพอใจมาก” และ “มากที่สุด