การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ KUDSA เพื่อส่งเสริมสุขภาพที่
เรื่อง การสร้างเสริมสุขภาพและการดูแลตนเองเมื่อเจ็บป่วย กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษา
และพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
ผู้วิจัย นุxxxล ประทุมทิพย์
ปีที่วิจัย 2563
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ KUDSA เพื่อส่งเสริมสุขภาพที่ดี 2) เพื่อเปรียบเทียบคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ก่อนและหลังเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ KUDSA เพื่อส่งเสริมสุขภาพที่ดี 3) เพื่อศึกษาคะแนนพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพและการดูแลตนเองเมื่อเจ็บป่วยของนักเรียน และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน ที่มีต่อการเรียนด้วยรูปแบบการจัดการจัดการเรียนรู้แบบ KUDSA เพื่อส่งเสริมสุขภาพที่ดี เรื่อง การสร้างเสริมสุขภาพและการดูแลตนเองเมื่อเจ็บป่วย กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา
การวิจัยในครั้งนี้ ผู้วิจัย ใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) แบ่งขั้นตอนการดำเนินการเป็น 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน (Analysis Research : R1) ขั้นตอนที่ 2
การออกแบบและพัฒนา (Design and Development : D1) ขั้นตอน ที่ 3 การนำรูปแบบการจัดการเรียนรู้ไปใช้ (Implementation Research : R2) และขั้นตอนที่ 4 การประเมินผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ (Evaluation Development : D2) กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2/1 โรงเรียนเทศบาล๒ (บ้านลัดกะสัง) อำเภอเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 20 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random sampling) การวิเคราะห์ข้อมูล วิเคราะห์โดยการคำนวณหาค่าประสิทธิภาพ (E1/ E2) ค่าเฉลี่ย
ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบความแตกต่างของคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้สถิติที
(t - test แบบ Dependent Samples)
ผลการวิจัยพบว่า
1. รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ KUDSA เพื่อส่งเสริมสุขภาพที่ดี เรื่อง การสร้างเสริมสุขภาพและการดูแลตนเองเมื่อเจ็บป่วย กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ที่พัฒนาขึ้น มีองค์ประกอบสำคัญ 4 ประการ คือ หลักการ
จุดมุ่งหมาย กระบวนการเรียนการสอนและการวัดและการประเมินผล ซึ่งกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบ KUDSA ประกอบด้วย ขั้นที่ 1 ขั้นทบทวนความรู้เดิม (Knowledge review) ขั้นที่ 2 ขั้นทำความเข้าใจเป็นกลุ่ม (Understand) ขั้นที่ 3 ขั้นลงมือปฏิบัติ (Do) ขั้นที่ 4 ขั้นสรุปและประเมินผล (Summary and Evaluation) และขั้นที่ 5 ขั้นประยุกต์ใช้ (Apply) และรูปแบบการจัดการเรียนรู้มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 83.03/82.67 ถือว่ามีประสิทธิภาพเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด สามารถนำไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนได้
2. นักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ KUDSA เพื่อส่งเสริมสุขภาพที่ดี เรื่อง การสร้างเสริมสุขภาพและการดูแลตนเองเมื่อเจ็บป่วย กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสุขศึกษา
และพลศึกษาหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. นักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ KUDSA เพื่อส่งเสริมสุขภาพที่ดี เรื่อง การสร้างเสริมสุขภาพและการดูแลตนเองเมื่อเจ็บป่วย กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา มีคะแนนพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพและการดูแลตนเองในระดับดีมาก คิดเป็นร้อยละ 79.50
4. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ KUDSA เพื่อส่งเสริมสุขภาพที่ดี เรื่อง การสร้างเสริมสุขภาพและการดูแลตนเองเมื่อเจ็บป่วย กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา อยู่ในระดับความพึงพอใจมากที่สุด ( = 4.56, S.D. = 0.50)