การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์
ผลการวิจัย พบว่า
1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานสำหรับการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ รายวิชา สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม (ส 11101) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 พบว่า ครูสอนแบบบรรยาย ขาดเทคนิคการสอน และขาดสื่อที่เร้าความสนใจ นักเรียนอ่านและจดบันทึกตามครู เปิดโอกาสให้นักเรียนได้ปฏิบัติน้อย แนวคิดและทฤษฎีที่เหมาะสมกับการจัดการเรียนรู้ ได้แก่ ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เป็นการเรียนรู้ด้วยการปฏิบัติกิจกรรมด้วยตนเอง การมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมด้วยวิธีการต่าง ๆ กัน การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ส่งเสริมการสร้างความรู้และประยุกต์ใช้ความรู้
2. รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ ร่วมกับสื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) รายวิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม (ส 11101) เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เรื่อง พุทธประวัติ มีชื่อเรียกว่า MPACC Model มีองค์ประกอบ คือ หลักการ วัตถุประสงค์ ขั้นตอนการเรียนรู้ สาระความรู้และทักษะกระบวนการ สิ่งที่ส่งเสริมการเรียนรู้ ระบบสังคม สิ่งสนับสนุน และหลักการตอบสนอง ซึ่งขั้นตอนการเรียนรู้ มี 5 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นกระตุ้นความสนใจ (Motivation : M) 2) ขั้นนำเสนอเนื้อหาหรือสถานการณ์ (Presentation : P) 3) ขั้นคิดวิเคราะห์ (Analysis : A) 4) ขั้นสร้างความรู้ (Construction : C) และ 5) ขั้นสรุป (Conclusion : C) และผลจากการประเมินความเหมาะสมของผู้เชี่ยวชาญ มีคะแนนเฉลี่ย 4.53 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.54 มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด นำไปทดลอง (Tryout) กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1/2 พบว่า รูปแบบการจัดการเรียนรู้ได้ปรับปรุงกิจกรรมในขั้นกระตุ้นความสนใจ โดยเฉพาะความเชื่อมโยงของสถานการณ์ให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้น
3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 หลังเรียนโดยใช้รูปแบบ การจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ ร่วมกับสื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) รายวิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม (ส 11101) เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ เรื่อง พุทธประวัติ สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 หลังเรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎี คอนสตรัคติวิสต์ ร่วมกับสื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) รายวิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม (ส 11101) เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ เรื่อง พุทธประวัติ สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้ ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ ร่วมกับสื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) รายวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม (ส 11101) เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ เรื่อง พุทธประวัติ อยู่ในระดับมาก ( = 2.61, S.D. = 0.20)