LASTEST NEWS

05 ก.ย. 2567โรงเรียนเทศบาล 1 (ในระบบสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง) รับสมัครผู้ช่วยครู 10 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 6-11 กันยายน 2567 05 ก.ย. 2567สพป.สุรินทร์ เขต 3 ขอใช้บัญชีครูผู้ช่วย สพป.บุรีรัมย์ เขต 3 จำนวน 6 อัตรา - รายงานตัว12 กันยายน 2567 05 ก.ย. 2567โรงเรียนบ้านบุ รับสมัคร ธุรการโรงเรียน วุฒิปริญญาตรีทุกสาขา เงินเดือน 15,000.- บาท ตั้งแต่ 8 – 10 กันยายน 2567 05 ก.ย. 2567ระเบียบใหม่ ปี 67 กำหนดคุณสมบัติครู ร.ร.นอกระบบ ต้องมีอย่างน้อย 1 คนต่อห้องเรียน 05 ก.ย. 2567สพฐ.ออกหนังสือ ด่วนที่สุด ประกาศ มาตรการลดภาระการรายงานของสถานศึกษา 04 ก.ย. 2567สพป.ร้อยเอ็ด เขต 3 รับสมัครพนักงานราชการ 2 อัตรา วุฒิม.6 - ปริญญาตรีทุกสาขา ตั้งแต่ 9-13 กันยายน 2567 04 ก.ย. 2567ล่าสุด..ท้องถิ่น มีตำแหน่งว่าง เปิดสอบ 6,238 อัตรา ม.บูรพา ออกข้อสอบ คาดว่า มีผู้สมัครมากกว่า 5แสนคน 03 ก.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ (ต่อ) 03 ก.ย. 2567สพฐ.ปรับโฉมการประชุม ผอ.สพท.ทุกคนต้องโชว์ผลงาน 03 ก.ย. 2567โรงเรียนวัดคิรีวิหาร(สมเด็จพระวันรัต อุปถัมภ์) รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกประถมศึกษา หรือวิชาเอกภาษาไทย เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 5 ก.ย.2567

การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างทักษะชีวิตและอาชีพโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน

usericon

ชื่อเรื่อง            การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างทักษะชีวิตและอาชีพโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน
            การเรียนรู้ (CBL) ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนไพรวิทยาคม
ผู้วิจัย            นางนริศรารัตน์ ชัยภูริโภคหิรัญ
ตำแหน่ง     รองผู้อำนวยการสถานศึกษา วิทยฐานะรองผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ
สถานศึกษา        โรงเรียนไพรบึงวิทยาคม ตำบลไพรบึง อำเภอไพรบึง จังหวัดศรีสะเกษ
            สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ กระทรวงมหาดไทย
ปีการศึกษา         ภาคเรียนที่ 1 และภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563

บทคัดย่อ

    การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา และแนวทางในการเสริมสร้างทักษะอาชีพ การใช้ชุมชนเป็นฐานการเรียนรู้ (CBL) และการบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างทักษะชีวิตและอาชีพโดยใช้ชุมชนเป็นฐานการเรียนรู้ (CBL) ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 3) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการเสริมสร้างทักษะชีวิตและอาชีพโดยใช้ชุมชนเป็นฐานการเรียนรู้ (CBL) ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
4) เพื่อประเมินผลการใช้รูปแบบการเสริมสร้างทักษะชีวิตและอาชีพโดยใช้ชุมชนเป็นฐานการเรียนรู้ (CBL) ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งผู้วิจัยได้ใช้วิธีการวิจัยและพัฒนา (Research & Development) มีขั้นตอน 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา และแนวทาง
ในการเสริมสร้างทักษะอาชีพ การใช้ชุมชนเป็นฐานการเรียนรู้ ขั้นที่ 1 ผลการศึกษาเอกสาร แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ขั้นที่ 2 ผลการศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา และแนวทางในการเสริมสร้างทักษะอาชีพ การใช้ชุมชนเป็นฐานการเรียนรู้ ระยะที่ 2 เพื่อพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างทักษะชีวิตและอาชีพโดยใช้ชุมชนเป็นฐานการเรียนรู้ (CBL) ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ขั้นที่ 1 ผลการสร้างรูปแบบการเสริมสร้างทักษะชีวิตและอาชีพโดยใช้ชุมชนเป็นฐานการเรียนรู้ (CBL) ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนไพรวิทยาคม ขั้นที่ 2 ผลการประเมินคุณภาพของรูปแบบการเสริมสร้างทักษะชีวิตและอาชีพโดยใช้ชุมชนเป็นฐานการเรียนรู้ (CBL) ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ระยะที่ 3 การศึกษาผลการใช้รูปแบบการเสริมสร้างทักษะชีวิตและอาชีพโดยใช้ชุมชนเป็นฐานการเรียนรู้ (CBL) ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ขั้นที่ 1 ผลการทดลองใช้รูปแบบ ขั้นที่ 2 ผลการศึกษาผลการใช้รูปแบบ ระยะที่ 4 การประเมินผลการใช้รูปแบบการเสริมสร้างทักษะชีวิตและอาชีพโดยใช้ชุมชนเป็นฐานการเรียนรู้ (CBL) ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ขั้นที่ 1 การประเมินผลการใช้รูปแบบ ขั้นที่ 2 การศึกษาข้อเสนอแนะ และความคิดเห็นเพิ่มเติม กลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้บริหาร ครู นักเรียน โรงเรียนไพรบึงวิทยาคม จำนวน 73 คน และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 6 ที่ร่วมกิจกรรม “การเสริมสร้างทักษะชีวิตและอาชีพโดยใช้ชุมชนเป็นฐานการเรียนรู้ (CBL) ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 1,010 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) โดยใช้ผู้บริหาร ครู และนักเรียนทั้งหมดในการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) เครื่องมือที่ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ได้แก่ รูปแบบการเสริมสร้างทักษะชีวิตและอาชีพโดยใช้ชุมชนเป็นฐานการเรียนรู้ (CBL) ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 2) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบประเมินทักษะชีวิต


และอาชีพโดยใช้ชุมชนเป็นฐานการเรียนรู้ (CBL) ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นชนิดมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.25 – 0.89 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .94 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)

    ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
        1. สภาพปัจจุบัน ปัญหา พบว่า โรงเรียนมีการเรียนรู้ผ่าน “ประสบการณ์ปฏิบัติ” และ “การพัฒนาทักษะคิด” โดยสอดแทรกกระบวนการทางจิตใจ และกระบวนการคิดที่ตระหนักรู้ต่อสิ่งแวดล้อมตามบริบท ที่เป็นจริง แต่ยังไม่มีรูปแบบที่เป็นรูปธรรมในการใช้หลักสูตร การจัดการเรียนรู้ และการวัดและประเมินผล ส่วนทักษะชีวิตและอาชีพ ประกอบด้วย 1) ความยืดหยุ่นและความสามารถในการปรับตัว (Flexibility and Adaptability 2) การริเริ่มและการกำกับดูแลตนเองได้ (Initiative and Self-Direction) 3) ทักษะด้านสังคมและทักษะข้ามวัฒนธรรม (Social and Cross-Cultural Skills) 4) การมีผลงานและความรับผิดชอบตรวจสอบได้ (Productivity and Account ability
5) ภาวะผู้นำและความรับผิดชอบ (Leadership and Responsibility) ซึ่งสามารถพัฒนาได้ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบใช้ชุมชนเป็นฐานการเรียนรู้ (CBL)
        2. ผลการพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างทักษะชีวิตและอาชีพโดยใช้ชุมชนเป็นฐานการเรียนรู้ (CBL) ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีองค์ประกอบสำคัญ 5 ประการ ได้แก่ 1) ความเป็นมาและความสำคัญ 2) หลักการ 3) จุดมุ่งหมาย 4) กระบวนการจัดการเรียนรู้ และ 5) การวัดและประเมินผล ซึ่งมีกระบวนการ 4 ขั้นตอน คือ 1) การสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ (Concrete Experience : CE) 2) การสะท้อนการเรียนรู้/ทบทวนการเรียนรู้ (Reflective Observation : RO) 3) การสรุปองค์ความรู้ (Abstract Conceptualization : AC) และ 4) การประยุกต์ใช้ความรู้ (Active Experimentation : AE) และบูรณาการกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ประกอบด้วยความพอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกัน และ 2 เงื่อนไข คือ มีคุณธรรม นำความรู้ ซึ่งมีผลการประเมินรูปแบบในภาพรวม อยู่ในระดับ มาก ( = 4.52, S.D. = 0.71)
        3. ผลการใช้รูปแบบการเสริมสร้างทักษะชีวิตและอาชีพโดยใช้ชุมชนเป็นฐานการเรียนรู้ (CBL) ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง พบว่า
            3.1 สมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้ของครูที่ใช้รูปแบบการเสริมสร้างทักษะชีวิตและอาชีพโดยใช้ชุมชนเป็นฐานการเรียนรู้ (CBL) ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้
            3.2 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการเสริมสร้างทักษะชีวิตและอาชีพโดยใช้ชุมชนเป็นฐานการเรียนรู้ (CBL) ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้
            3.3 ผลการประเมินทักษะชีวิตและอาชีพโดยใช้ชุมชนเป็นฐานการเรียนรู้ (CBL) ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.56, S.D. = 0.72)
        4. ผลการประเมินผลการใช้รูปแบบการเสริมสร้างทักษะชีวิตและอาชีพโดยใช้ชุมชนเป็นฐานการเรียนรู้ (CBL) ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.52, S.D. = 0.55)
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^