การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์บูรณาการอิสลาม
สะเต็มศึกษา (STEM Education) เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและ
ความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ผู้วิจัย ซารานี หะยีเจะเฮง
หน่วยงาน โรงเรียนเทศบาล ๒ (บ้านบาเละฮิเล)
ปีที่วิจัย ปีการศึกษา 2563
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์บูรณาการอิสลามตามแนวทางสะเต็มศึกษา (STEM Education) วิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง ระบบนิเวศ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพ (E1/E2) ตามเกณฑ์ 80/80 เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ก่อนและหลังได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์บูรณาการอิสลามตามแนวทางสะเต็มศึกษา (STEM Education) และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์บูรณาการอิสลามตามแนวทางสะเต็มศึกษา (STEM Education โดยใช้กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 โรงเรียนเทศบาล ๒ (บ้านบาเละฮิเล) สำนักการศึกษาเทศบาลเมืองนราธิวาส อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวน 30 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) ซึ่งมีห้องเรียนเป็นหน่วยการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์บูรณาการอิสลามตามแนวทางสะเต็มศึกษา (STEM Education) วิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง ระบบนิเวศ จำนวน 6 ชุดกิจกรรม แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 18 คาบ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 30 ข้อ แบบทดสอบความคิดสร้างสรรค์ จำนวน 3 ด้าน และแบบสอบถามความพึงพอใจ จำนวน 30 ข้อ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที (t-test Dependent Samples)
ผลการวิจัย พบว่า
1. ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์บูรณาการอิสลามตามแนวทางสะเต็มศึกษา (STEM Education) วิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง ระบบนิเวศ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่สร้างขึ้น
มีประสิทธิภาพเท่ากับ 81.70/83.76 สูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่ได้รับการสอนโดยชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์บูรณาการอิสลามตามแนวทางสะเต็มศึกษา (STEM Education) วิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง ระบบนิเวศ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนที่ได้รับการสอนโดยชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์บูรณาการอิสลามตามแนวทางสะเต็มศึกษา (STEM Education) วิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง ระบบนิเวศ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์บูรณาการอิสลามตามแนวทางสะเต็มศึกษา (STEM Education) วิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง ระบบนิเวศ อยู่ในระดับมาก ( = 4.29, S.D. = 0.51)