การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โดยบูรณาการทฤษฎีคอนสต
ชื่อผู้วิจัย ษิญาภา บัวศรี
ปีการศึกษา 2563
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี โดยบูรณาการทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์และแนวคิดการคิดอย่างมีวิจารณญาณ เพื่อ เสริมสร้างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความสามารถในการตัดสินใจอย่างสร้างสรรค์ทาง วิทยาศาสตร์ของผู้เรียน เรื่องวัสดุและสสาร ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 (Research : R, ) 2. เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยบูรณาการทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์และแนวคิดการคิดอย่างมีวิจารณญาณ เพื่อเสริมสร้างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความสามารถในการตัดสินใจอย่างสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ของ ผู้เรียน เรื่องวัสดุและสสาร ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 (Development : D1) 3. เพื่อทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยบูรณาการ ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์และแนวคิดการคิดอย่างมีวิจารณญาณ เพื่อเสริมสร้างผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียน และความสามารถในการตัดสินใจอย่างสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ของผู้เรียน เรื่องวัสดุและ สสาร ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 (Research : R2) 4. เพื่อประเมินผลและปรับปรุงรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดย บูรณาการทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์และแนวคิดการคิดอย่างมีวิจารณญาณ เพื่อเสริมสร้าง ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความสามารถในการตัดสินใจอย่างสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ของ ผู้เรียน เรื่องวัสดุและสสาร ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 (Development : D2) เป็นลักษณะของการวิจัยและพัฒนา (Research and Development : R&D) ใช้แบบแผนการวิจัยแบบกลุ่มเดียว ทดสอบก่อนและหลัง (The One Group Pretest – Posttest Design) โดยใช้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 30 คน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนเทศบาลตะพานหินวิทยาคาร สังกัดเทศบาลเมืองตะพานหิน จังหวัดพิจิตร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ คู่มือการใช้รูปแบบ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบ วัดความสามารถในการตัดสินใจอย่างสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน(S.D.) ค่าร้อยละ( ) ค่าที(t – test แบบ Dependent) และการวิเคราะห์เนื้อหา(Content Analysis)
ผลการวิจัย พบว่า รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดย บูรณาการทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์และแนวคิดการคิดอย่างมีวิจารณญาณ เพื่อเสริมสร้างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความสามารถในการตัดสินใจอย่างสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการของรูปแบบ คือมีการตรวจสอบความรู้เดิมของ ผู้เรียน นําเสนอสถานการณ์ปัญหา ตัดสินใจเลือกวิธีการแก้ปัญหา รวบรวมข้อมูลเชิงประจักษ์ อย่างรอบด้าน แลกเปลี่ยนแนวคิดกับผู้อื่น และสรุปอ้างอิงข้อมูลหรือสรุปความรู้อย่างสมเหตุสมผล ครูมีบทบาทเป็นผู้ส่งเสริมให้ผู้เรียนสร้างความรู้ด้วยตนเองและใช้คําถามกระตุ้นให้ผู้เรียนได้ฝึกคิด พิจารณาข้อมูลอย่างสมเหตุสมผล เปิดโอกาสให้ผู้เรียนร่วมกันแก้ปัญหาทั้งกลุ่มเล็ก และกลุ่มใหญ่ 2)วัตถุประสงค์ของรูปแบบเพื่อพัฒนาความสามารถในการตัดสินใจอย่างสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความพึงพอใจต่อการสอนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาตร์ 3) กระบวนการเรียนการสอนตามรูปแบบประกอบด้วย 4 ขั้นตอนคือ (1) ขั้นกระตุ้นให้คิด(2) ขั้นคิดพิจารณา(3) ขั้นสะท้อนความคิด(4) ขั้นนําแนวคิดไปใช้ 4)ผลที่ผู้เรียนจะได้รับจากการเรียนรู้ตามรูปแบบคือผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความสามารถในการตัดสินใจอย่างสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ และทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 5)การประเมินผลรูปแบบ โดยใช้(1)แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (2)แบบวัดความสามารถในการตัดสินใจอย่างสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ (3)แบบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ (4)แบบสำรวจความพึงพอใจ โดยรูปแบบที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 84.29/82.89 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2.หลังเรียนตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดย บูรณาการทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์และแนวคิดการคิดอย่างมีวิจารณญาณ เพื่อเสริมสร้างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความสามารถในการตัดสินใจอย่างสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ พบว่า 1.นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการตัดสินใจอย่างสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ และหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดย บูรณาการทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์และแนวคิดการคิดอย่างมีวิจารณญาณ เพื่อเสริมสร้างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความสามารถในการตัดสินใจอย่างสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ อยู่ในระดับมากที่สุด