LASTEST NEWS

26 พ.ย. 2567สพฐ. เข้ม สั่งครูล่วงละเมิดนักเรียนออกจากราชการทันที ย้ำดูแลสภาพจิตใจเด็กเป็นสำคัญ 26 พ.ย. 2567สพฐ.เล็งทำบัตรสุขภาพนักเรียนออนไลน์ 26 พ.ย. 2567ทำไมครูส่วนใหญ่ ไม่สนใจสมัครสอบเป็นศึกษานิเทศก์ 26 พ.ย. 2567ก.พ.ยังนิ่งปมทบทวนจ้างเหมาบริการ “ธนุ” ไม่รอแล้วสั่งทำสัญญาจ่ายเงิน ตามระเบียบกรมบัญชีกลาง 25 พ.ย. 2567ล 1932/2567 หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู และที่แก้ไขเพิ่มเติม 25 พ.ย. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย จำนวน 81 อัตรา - รายงานตัว 28 พ.ย. 2567 25 พ.ย. 2567สพป.สมุทรสาคร เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 14 อัตรา รายงานตัว 3 ธันวาคม 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนเมืองสุรินทร์ รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 25-27 พฤศจิกายน 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนบ้านระไซร์(เด่นพัฒนา) รับสมัครครูอัตราจ้าง วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 7,000.- บาท  24 พ.ย. 2567สพป.เพชรบุรี เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 11 อัตรา - รายงานตัว 4 ธันวาคม 2567

รายงานผลการประเมินโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพือเสริมสร้างประสิทธ

usericon

ชื่อเรื่อง    รายงานผลการประเมินโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนวัดสนามไชย
ผู้ประเมิน    นายณัฐวุฒิ ประเสริฐศรี
ปีการศึกษา    2563

บทคัดย่อ

    รายงานผลการประเมินโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนวัดสนามไชย มีวัตถุประสงค์ เพื่อการประเมินโครงการ 4 ด้าน ตามรูปแบบการประเมินซิปป์ (CIPP Model) ประกอบด้วย การประเมินด้านบริบท การประเมินด้านปัจจัยนำเข้า การประเมินด้านกระบวนการ และการประเมินด้านผลผลิต ประชากรที่ใช้ในการประเมินโครงการ ได้แก่ ครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 8 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน นักเรียน จำนวน 98 คน และผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 98 คน รวมทั้งหมดจำนวน 211 คนเครื่องมือที่ใช้ในการประเมินโครงการ ได้แก่ แบบสอบถามที่ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการทางสถิติการคำนวณหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตราฐาน

ผลการประเมินโครงการ พบว่า
1.    ผลการประเมินด้านบริบทของโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนวัดสนามไชย โดยภาพรวม มีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก (= 4.33,  = 0.78) ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ เมื่อพิจารณาเป็นรายการ พบว่า มีระดับความคิดเห็นในระดับมากที่สุด 2 รายการ ระดับความคิดเห็นในระดับมาก 8 รายการ โดยเรียงจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับแรก ได้แก่ กิจกรรมของการพัฒนาแหล่งเรียนรู้สอดคล้องกับนโยบาย ( = 4.87,  = 0.51) รองลงมา คือ วัตถุประสงค์ของโครงการสอดคล้องกับนโยบายของหน่วยงานต้นสังกัด (= 4.73,  = 0.45) และวัตถุประสงค์ของโครงการสอดคล้องกับนโยบายของโรงเรียน โครงการสอดคล้องกับสภาพปัญหาของโรงเรียนและชุมชน และการประสานงานสามารถทำให้เกิดความร่วมมือในการดำเนินโครงการ มีระดับความคิดเห็นในระดับมาก (= 4.40,  = 0.82) ส่วนรายการที่มีระดับความคิดเห็นต่ำสุด คือ ชุมชนมีส่วนร่วมสนับสนุนการจัดกิจกรรมพัฒนาแหล่งเรียนรู้ (= 3.80,  = 0.94) มีระดับความคิดเห็นในระดับมาก
2.    ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนวัดสนามไชย โดยภาพรวม มีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.72,  = 0.44) ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ เมื่อพิจารณาเป็นรายการ พบว่า ระดับความคิดเห็นในระดับมากที่สุดทุกรายการ โดยเรียงจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับแรก ได้แก่ การสนับสนุนจากหน่วยงานต้นสังกัด ( = 5.00,  = 0.00) รองลงมา ครูและบุคลากรทางการศึกษา นักเรียน ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานพร้อมที่จะให้ความร่วมมือในการดำเนินกิจกรรมตามโครงการ งบประมาณที่ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานอื่นในการดำเนินโครงการ และระบบการบริหารภายในโรงเรียนเอื้ออำนวยต่อการดำเนินกิจกรรม ( = 4.80,  = 0.41) และครูและบุคลากรมีความรู้ ความสามารถพร้อมที่จะดำเนินการตามโครงการ งบประมาณที่ได้รับจัดสรร เพื่อการดำเนินโครงการ วัสดุอุปกรณ์ มีความเหมาะสมและเพียงพอสำหรับดำเนินโครงการ แหล่งเรียนรู้และสภาพแวดล้อมเอื้อต่อการดำเนินกิจกรรมตามโครงการ และการสนับสนุนจากผู้ปกครอง ชุมชน และหน่วยงานอื่น ( = 4.73,  = 0.46) ส่วนรายการที่มีระดับความคิดเห็นต่ำสุด คือ มีการติดตาม ประเมิน และรายงานผลอย่างเป็นระบบ ( = 4.53,  = 0.52) มีระดับความคิดเห็นในระดับมากที่สุด
3.    ผลการประเมินด้านกระบวนการของโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนวัดสนามไชย โดยภาพรวม มีระดับการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.78,  = 0.42) ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ เมื่อพิจารณาเป็นรายการ พบว่า ระดับการปฏิบัติในระดับมากที่สุด 17 รายการ และระดับความคิดเห็นในระดับมาก 3 รายการ โดยเรียงจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับแรก ได้แก่ การประสานงานและการสร้างความเข้าใจกับผู้เกี่ยวข้อง และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมตามโครงการ ( = 4.95,  = 0.21) รองลงมา คือ การกำหนดกิจกรรมให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และเป้าหมายของโครงการ ( = 4.88,  = 0.32) และมีการติดตามและประเมินผลการดำเนินโครงการอย่างเป็นระบบ ( = 4.87,  = 0.32) ส่วนรายการที่มีระดับการปฏิบัติต่ำสุด คือ แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการโครงการที่มีคุณสมบัติเหมาะสมและเข้าใจโครงการอย่างชัดเจน ( = 4.43,  = 0.80) มีระดับการปฏิบัติในระดับมาก
4.    ผลการวิเคราะห์การประเมินโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนวัดสนามไชย หลังเสร็จสิ้นโครงการ ดังนี้
4.1    ผลการประเมินด้านผลผลิตเกี่ยวกับคุณภาพการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนวัดสนามไชย ตามความคิดเห็นของครูและบุคลากรทางการศึกษา นักเรียน และผู้ปกครอง โดยภาพรวมระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.79, = 0.42) ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ เมื่อพิจารณาเป็นรายการ พบว่า ระดับความคิดเห็นในระดับมากที่สุดทุกรายการ โดยเรียงจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับแรก ได้แก่ นักเรียน ใฝ่เรียนใฝ่รู้ มีทักษะในการแสวงหาความรู้ ด้วยตนเองจากแหล่งเรียนรู้ ( = 4.97, = 0.20) รองลงมา คือ จัดให้มีบอร์ด ป้ายนิเทศ มุมหนังสือภายในห้องเรียนเพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้และมีประสิทธิภาพต่อการเรียนรู้ ( = 4.96 , = 0.20) และห้องคอมพิวเตอร์มีความพร้อมในการสืบค้นข้อมูลและมีประสิทธิภาพต่อการเรียนรู้ ( = 4.88, = 0.32) ส่วนรายการที่มีระดับความคิดเห็นในระดับต่ำสุด คือ ส่งเสริมให้มีการจัดกิจกรรมนักเรียน เพื่อให้เห็นคุณค่าและเกิดความภูมิใจจากแหล่งเรียนรู้ภายนอกสถานศึกษา ( = 4.61,  = 0.54) มีระดับความคิดเห็นในระดับมากที่สุด
4.2    ผลการประเมินด้านผลผลิตเกี่ยวกับพฤติกรรมการสอนของครูโดยส่งเสริมให้นักเรียนใช้แหล่งเรียนรู้ทั้งในโรงเรียนและในท้องถิ่น ตามความคิดเห็นของครูและบุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน โดยภาพรวมระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.81, = 0.39) ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ เมื่อพิจารณาเป็นรายการ พบว่า ระดับความคิดเห็นในระดับมากที่สุดทุกรายการ โดยเรียงจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับแรก ได้แก่ มีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้ในชุมชนหรือท้องถิ่น และมีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้ภายในโรงเรียน ( = 4.97, = 0.16) รองลงมา คือ มีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ( = 4.91 , = 0.29) และมีการนำข้อมูลนักเรียนรายบุคคลไปใช้ในการวางแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้ภายในและภายนอกสถานศึกษา มีการจัดแหล่งเรียนรู้ในชั้นเรียนเหมาะสมตามความต้องการของนักเรียน ( = 4.88 , = 0.33) ส่วนรายการที่มีระดับความคิดเห็นในระดับต่ำสุด คือ มีการใช้สื่อ เทคโนโลยีและแหล่งเรียนรู้ที่เหมาะสมในการจัดการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับนักเรียน ( = 4.62,  = 0.54) มีระดับความคิดเห็นในระดับมากที่สุด
4.3    ผลการประเมินด้านผลผลิตเกี่ยวกับพฤติกรรมเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนวัดสนามไชย ตามความคิดเห็นของครูและบุคลากรทางการศึกษา นักเรียน และผู้ปกครอง โดยภาพรวมระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.74,  = 0.45) ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ เมื่อพิจารณาเป็นรายการ พบว่า ระดับความคิดเห็นในระดับมากที่สุด 13 รายการ และระดับความคิดเห็นในระดับมาก 2 รายการ โดยเรียง จากมากไปหาน้อย 3 ลำดับแรก ได้แก่ นักเรียนมีการเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่นและภูมิปัญญาท้องถิ่น (= 4.97,  = 0.18) รองลงมา คือ นักเรียนได้ศึกษาค้นคว้าจากแหล่งเรียนรู้ที่เป็นสถานที่สำคัญของชุมชน ( = 4.87,  = 0.33) และนักเรียนศึกษา ด้วยตนเองจากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ และนักเรียนมีความยินดี และเต็มใจต่อการจัดกิจกรรมจากแหล่งเรียนรู้กับครูและบุคลากรทางการศึกษาและเพื่อน (= 4.84,  = 0.39) ส่วนรายการที่มีระดับความคิดเห็นในระดับต่ำสุด คือ นักเรียนให้ความสำคัญและใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์จากแหล่งเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง (= 4.47,  = 0.65) มีระดับความคิดเห็นในระดับมาก
4.4    ผลการประเมินด้านผลผลิตเกี่ยวกับความพึงพอใจของครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน นักเรียนและผู้ปกครองที่มีต่อการดำเนินงานโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนวัดสนามไชย โดยรวมมีระดับความพึงพอใจ อยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.75,  = 0.44) ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้เมื่อพิจารณาเป็นรายการ พบว่า ระดับความพึงพอใจในระดับมากที่สุดทุกรายการ โดยเรียงจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับแรก ได้แก่ ได้รับการถ่ายทอดความรู้ที่ศึกษาเพิ่มพูนทักษะประสบการณ์ เป็นการเรียนที่สนุกมีความสุข และมีครูและบุคลากรทางการศึกษาเอาใส่ใจเป็นอย่างดี และแหล่งเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ (= 4.96,  = 0.24) รองลงมา คือ ได้ค้นคว้าหาความรู้นอกห้องเรียน เป็นการเปิดโลกทัศน์ให้กับนักนักเรียน (= 4.88,  = 0.32) และ การนำวิทยากรจากภายนอกและภูมิปัญญาท้องถิ่นมาร่วมจัดการเรียนรู้ (= 4.86,  = 0.37) ส่วนรายการที่มีระดับความพึงพอใจต่ำสุด คือ การที่ได้รวมกลุ่มตามความสมัครใจและได้ศึกษา ในหัวข้อที่นักเรียนสนใจ ทำให้มีความ กระตือรือร้นมีความตั้งใจที่จะศึกษา และอยากทำผลงานออกมาให้ดีที่สุด ( = 4.61,  = 0.53) มีระดับความพึงพอใจในระดับมากที่สุด

ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^