การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการศึกษา ด้วยเทคนิค PILA
ของนักเรียนในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนจุมปีวนิดาภรณ์ เทศบาลเมืองน่าน (บ้านภูมินทร์)
ผู้ศึกษา : พิลาสินี ถาริยะวงศ์วนิช
ปีที่เขียน : 2563
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการบริหาร
จัดการศึกษา ด้วยเทคนิค PILA เพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตของนักเรียนในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนจุมปีวนิดาภรณ์ เทศบาลเมืองน่าน (บ้านภูมินทร์) 2) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการบริหารจัดการศึกษา ด้วยเทคนิค PILA เพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตของนักเรียนในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนจุมปีวนิดาภรณ์ เทศบาลเมืองน่าน (บ้านภูมินทร์) 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องที่มีต่อรูปแบบการบริหารจัดการศึกษา ด้วยเทคนิค PILA เพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิต ของนักเรียนในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนจุมปีวนิดาภรณ์ เทศบาลเมืองน่าน (บ้านภูมินทร์) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 2 คน ครูผู้สอน จำนวน 30 คน นักเรียนจำนวน 205 คน ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 205 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 14 คน กลุ่มตัวอย่างได้มาโดยวิธีการเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามรูปแบบการบริหารจัดการศึกษา ด้วยเทคนิค PILA เพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตของนักเรียนในศตวรรษที่ 21 แบบสังเกตพฤติกรรมนักเรียนเพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตของนักเรียนในศตวรรษที่ 21 และแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสถิติ t - test dependent Sample
ผลการศึกษาพบว่า
1. ผลการประเมินประสิทธิภาพรูปแบบการบริหารจัดการศึกษา ด้วยเทคนิค PILA เพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตของนักเรียนในศตวรรษที่ 21โรงเรียนจุมปีวนิดาภรณ์ เทศบาลเมืองน่าน (บ้านภูมินทร์) พบว่า รูปแบบการบริหารสถานศึกษามีความเป็นประโยชน์ มีความเป็นไปได้ มีความเหมาะสมและมีความถูกต้องต่อการพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษา ในระดับมากที่สุดเมื่อพิจารณาในรายด้าน พบว่า (1) ช่วยจัดระบบการปฏิบัติงานมิใช่เพิ่มภาระ ช่วยพัฒนาให้บุคลากรมีทักษะในการบริหาร ช่วยส่งเสริมการปฏิบัติงานจริงในสถานศึกษาสะท้อนให้เห็นจุดแข็งจุดอ่อนอย่างชัดเจน และมีความชัดเจนในการดำเนินงาน (2) สามารถนำ ไปใช้ได้จริง ในสถานศึกษามีทรัพยากรสนับสนุนอย่างเพียงพอ มีการจัดการบริหารอย่างเป็นระบบ สามารถ ทำความเข้าใจได้ง่าย และมีความคุ้มค่า (3) มีความสอดคล้องกับ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติพ.ศ. 2542
มีความสอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษาและเป็นองค์ประกอบการพัฒนาที่สอดคล้องกับระบบ ที่เป็นสากล (4) การบริหารสถานศึกษามีความถูกต้องตรงกับการปฏิบัติงานจริงในสถานศึกษา การพัฒนาบุคลากรมีความถูกต้องสอดคล้องกับหลักการและทฤษฎีการพัฒนาบุคลากร การจัดการเรียนรู้มีความถูกต้องสอดคล้องกับหลักการและทฤษฎีการจัดการเรียนรู้ และการประเมินผลการเรียนรู้ถูกต้องสอดคล้องกับหลักการวัดและประเมินผลการเรียนรู้
2. ผลการใช้รูปแบบการบริหารจัดการศึกษา ด้วยเทคนิค PILA เพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิต ของนักเรียนในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนจุมปีวนิดาภรณ์ เทศบาลเมืองน่าน (บ้านภูมินทร์) พบว่า อยู่ในระดับมาก
3. ผลการศึกษาความพึงพอใจของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องที่มีต่อรูปแบบการบริหารจัดการศึกษา ด้วยเทคนิค PILA เพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตของนักเรียนในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนจุมปีวนิดาภรณ์ เทศบาลเมืองน่าน (บ้านภูมินทร์) พบว่า ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน นักเรียน ผู้ปกครองนักเรียน และคณะกรรมการสถานศึกษา มีความพึงพอใจต่อรูปแบบการบริหารจัดการศึกษาด้วยเทคนิค PILA เพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตของนักเรียนในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนจุมปีวนิดาภรณ์ เทศบาลเมืองน่าน (บ้านภูมินทร์) อยู่ในระดับมาก