รูปแบบการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน (นายภูวดล เม่งช่วย)
ด้วยกระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) โรงเรียนวัดไตรสามัคคี
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2
ผู้วิจัย ภูวดล เม่งช่วย
หน่วยงาน โรงเรียนวัดไตรสามัคคี
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2
ปีที่วิจัย 2563
บทคัดย่อ
รายงานการวิจัย เรื่องรูปแบบการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ด้วยกระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) โรงเรียนวัดไตรสามัคคี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2 มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อสร้างรูปแบบการพัฒนางานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน สำหรับนักเรียนกลุ่มเสี่ยง ด้วยกระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) โรงเรียนวัดไตรสามัคคี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2 2)เพื่อศึกษาความเหมาะสมของรูปแบบการพัฒนางานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน สำหรับนักเรียนกลุ่มเสี่ยง ด้วยกระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) โรงเรียนวัดไตรสามัคคี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2 3)เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของรูปแบบการพัฒนางานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน สำหรับนักเรียนกลุ่มเสี่ยง ด้วยกระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) โรงเรียนวัดไตรสามัคคี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2 4)เพื่อศึกษาผลการพัฒนานักเรียนกลุ่มเสี่ยงตามรูปแบบการพัฒนางานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ด้วยกระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) โรงเรียนวัดไตรสามัคคี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2 5)เพื่อศึกษาความพึงพอใจในการดำเนินงานวิจัยตามรูปแบบการพัฒนางานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ด้วยกระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) โรงเรียนวัดไตรสามัคคี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2 กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ดังนี้ ประชากรหัวหน้ากลุ่มงานบริหารสถานศึกษา ปีการศึกษา 2563 จำนวน 4 คน ประชากรคณะกรรมการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ปีการศึกษา 2563 จำนวน 18 คน กลุ่มตัวอย่างคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2563 จำนวน 13 คน กลุ่มตัวอย่างเครือข่ายผู้ปกครอง ปีการศึกษา 2563 จำนวน 12 คน กลุ่มตัวอย่างนักเรียน ปีการศึกษา 2563 จำนวน 35 คน โดยดำเนินการเลือกแบบเจาะจงนักเรียนกลุ่มเสี่ยง และกลุ่มตัวอย่างผู้ปกครองนักเรียน ปีการศึกษา 2563 จำนวน 35 คน โดยดำเนินการเลือกแบบเจาะจงผู้ปกครองของนักเรียนกลุ่มเสี่ยง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลสำหรับการวิจัย ทั้งสิ้น 4 ฉบับ ได้แก่ แบบสอบถามที่มีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 4 ฉบับ ที่มีการตรวจสอบค่าความเชื่อมั่น อยู่ระหว่าง .895 - .953 สถิติที่ใช้ในการวิจัย ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป ผลการวิจัย และข้อเสนอแนะสรุปได้ดังนี้
สรุปผลการวิจัย
ผลการวิจัย เรื่องรูปแบบการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน สำหรับนักเรียนกลุ่มเสี่ยง ด้วยกระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) โรงเรียนวัดไตรสามัคคี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2 สรุปผลได้ดังนี้
1.ผลการวิเคราะห์ข้อมูลความเหมาะสมของรูปแบบการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือ
นักเรียน สำหรับนักเรียนกลุ่มเสี่ยง ด้วยกระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) โรงเรียน
วัดไตรสามัคคี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2 ตามความคิดเห็นของหัวหน้ากลุ่มงานบริหารสถานศึกษา คณะกรรมการดำเนินงาน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และเครือข่ายผู้ปกครอง โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาตามกลุ่มผู้ประเมินพบว่า กลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และกลุ่มเครือข่ายผู้ปกครอง มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( = 4.34, = .61 และ .62) รองลงมาคือ กลุ่มหัวหน้ากลุ่มงานบริหารสถานศึกษา มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( = 4.16,
= .66) ส่วนกลุ่มคณะกรรมการดำเนินงาน มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด อยู่ในระดับมาก (= 4.15, = .64)
2.ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประสิทธิภาพของรูปแบบการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน สำหรับนักเรียนกลุ่มเสี่ยง ด้วยกระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) โรงเรียน
วัดไตรสามัคคี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2 ตามความคิดเห็นของหัวหน้ากลุ่มงานบริหารสถานศึกษา คณะกรรมการดำเนินงาน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เครือข่ายผู้ปกครอง นักเรียน และผู้ปกครอง โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาตามกลุ่มผู้ประเมินพบว่า กลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และกลุ่มนักเรียน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก
( = 4.34, S.D. = .58 และ .59) รองลงมาคือ กลุ่มเครือข่ายผู้ปกครอง มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก
( = 4.16, S.D. = .66) ส่วนกลุ่มหัวหน้ากลุ่มงานบริหารสถานศึกษา มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด อยู่ในระดับมาก (= 4.18, = .66)
3.ผลการวิเคราะห์ข้อมูลผลการพัฒนาของนักเรียนกลุ่มเสี่ยงตามรูปแบบการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน สำหรับนักเรียนกลุ่มเสี่ยง ด้วยกระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ(PLC) โรงเรียนวัดไตรสามัคคี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2 ตามความคิดเห็นของหัวหน้ากลุ่มงานบริหารสถานศึกษา คณะกรรมการดำเนินงาน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เครือข่ายผู้ปกครอง นักเรียน และผู้ปกครอง โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาตามกลุ่มผู้ประเมินพบว่า กลุ่มเครือข่ายผู้ปกครอง มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( = 4.42, S.D. = .58) รองลงมาคือ กลุ่มผู้ปกครอง มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( = 4.38, S.D. = .61) ส่วนกลุ่มหัวหน้ากลุ่มงานบริหารสถานศึกษา มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด อยู่ในระดับมาก (= 4.26, = .74)
4.ผลการวิเคราะห์ข้อมูลความพึงพอใจในการดำเนินงานวิจัยตามรูปแบบการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน สำหรับนักเรียนกลุ่มเสี่ยง ด้วยกระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ(PLC) โรงเรียนวัดไตรสามัคคี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2 ตามความคิดเห็นของหัวหน้ากลุ่มงานบริหารสถานศึกษา คณะกรรมการดำเนินงาน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เครือข่ายผู้ปกครอง นักเรียน และผู้ปกครอง โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาตามกลุ่มผู้ประเมินพบว่า กลุ่มเครือข่ายผู้ปกครอง มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( = 4.47, S.D. = .53) รองลงมาคือ กลุ่มนักเรียน และกลุ่มผู้ปกครอง มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( = 4.38, S.D. = .57 และ .58) ส่วนกลุ่มหัวหน้ากลุ่มงานบริหารสถานศึกษา มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด อยู่ในระดับมาก (= 4.26, = .63)
ข้อเสนอแนะ
1. ข้อเสนอแนะการนำผลวิจัยไปประยุกต์ใช้
1.1 โรงเรียนควรนำผลการวิจัยมาวิเคราะห์ หาจุดเด่น จุดที่ควรพัฒนา เพื่อกำหนดรูปแบบและแนวทางในการป้องกันและแก้ไขปัญหาสำหรับนักเรียนกลุ่มเสี่ยง เพื่อยกระดับคุณภาพงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนให้เหมาะสมกับบริบทของสถานศึกษา
1.2 โรงเรียนควรนำรูปแบบ วิธีการและกิจกรรมต่าง ๆ ในงานวิจัยไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนานักเรียนกลุ่มเสี่ยงพฤติกรรมด้านอื่นๆ เช่น พฤติกรรมก้าวร้าว พฤติกรรมการค้างส่งงาน พฤติกรรมการมาโรงเรียนสาย เป็นต้น
1.3 ผู้บริหารสถานศึกษา ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองนักเรียนมีความสำคัญในการช่วยเหลือ สนับสนุนการดำเนินงานเพื่อพัฒนาพฤติกรรมของนักเรียนด้วยรูปแบบและวิธีการที่เหมาะสม
2. ข้อเสนอแนะสำหรับการวิจัยครั้งต่อไป
2.1 ควรปรับเปลี่ยนจากงานวิจัยเป็นการรายงานประเมินโครงการเพื่อพัฒนานักเรียนกลุ่มเสี่ยงโดยใช้รูปแบบอื่นๆ เช่น รูปแบบซิปป์โมเดล (CIPP Model) เพื่อประเมินด้านบริบท ด้านปัจจัย ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต
2.2 ควรมีการศึกษาถึงปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการดำเนินงานวิจัยระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยเฉพาะสำหรับนักเรียนกลุ่มเสี่ยง ทั้งนี้เนื่องจากการแก้ไขปัญหาพฤติกรรมของนักเรียนนั้นเป็นเรื่องละเอียดอ่อน ต้องได้รับความร่วมมือจากบุคลากรหลายภาคส่วน ดังนั้น บุคลากรภายในสถานศึกษา ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา งานกิจการนักเรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษาควรชี้แจงให้คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองนักเรียน ตลอดถึงชุมชนที่มีส่วนเกี่ยวข้องเข้าใจในวัตถุประสงค์ของการดำเนินงาน และให้บุคลากรดังกล่าวมีส่วนร่วมในขั้นตอนการดำเนินการมากที่สุดก็จะทำให้งานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลมากที่สุด
2.3 การแก้ไขปัญหาพฤติกรรมของนักเรียนกลุ่มเสี่ยง ต้องทำควบคู่กันทั้งในระบบของโรงเรียน และระบบในชั้นเรียน โดยครูผู้สอนควรทำวิจัยในชั้นเรียนหรือศึกษานักเรียนรายกรณีเพื่อแก้ปัญหาพฤติกรรมของนักเรียนกลุ่มเสี่ยงคู่ขนานกับการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนจึงจะได้ผลดีที่สุด