LASTEST NEWS

26 พ.ย. 2567สพฐ. เข้ม สั่งครูล่วงละเมิดนักเรียนออกจากราชการทันที ย้ำดูแลสภาพจิตใจเด็กเป็นสำคัญ 26 พ.ย. 2567สพฐ.เล็งทำบัตรสุขภาพนักเรียนออนไลน์ 26 พ.ย. 2567ทำไมครูส่วนใหญ่ ไม่สนใจสมัครสอบเป็นศึกษานิเทศก์ 26 พ.ย. 2567ก.พ.ยังนิ่งปมทบทวนจ้างเหมาบริการ “ธนุ” ไม่รอแล้วสั่งทำสัญญาจ่ายเงิน ตามระเบียบกรมบัญชีกลาง 25 พ.ย. 2567ล 1932/2567 หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู และที่แก้ไขเพิ่มเติม 25 พ.ย. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย จำนวน 81 อัตรา - รายงานตัว 28 พ.ย. 2567 25 พ.ย. 2567สพป.สมุทรสาคร เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 14 อัตรา รายงานตัว 3 ธันวาคม 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนเมืองสุรินทร์ รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 25-27 พฤศจิกายน 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนบ้านระไซร์(เด่นพัฒนา) รับสมัครครูอัตราจ้าง วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 7,000.- บาท  24 พ.ย. 2567สพป.เพชรบุรี เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 11 อัตรา - รายงานตัว 4 ธันวาคม 2567

เผยแพร่ผลงาน นายเทวินทร์ โตไทยะ

usericon

ชื่อเรื่อง    การพัฒนาโปรแกรมพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้ โดยใช้แนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้
        ทางวิชาชีพ (PLC) เพื่อส่งเสริมการคิดและแก้ปัญหาของนักเรียน
        โรงเรียนห้วยข่าพิทยาคม องค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี
ผู้วิจัย        นายเทวินทร์ โตไทยะ
ตำแหน่ง     รองผู้อำนวยการสถานศึกษา วิทยฐานะ รองผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ
        โรงเรียนห้วยข่าพิทยาคม องค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี
ปีที่วิจัย     2563

บทคัดย่อ

    การวิจัยในครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ    1) ศึกษาองค์ประกอบและตัวชี้วัดของการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้ โดยใช้แนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) เพื่อส่งเสริมการคิดและแก้ปัญหาของนักเรียน 2) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ของการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้ โดยใช้แนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) เพื่อส่งเสริมการคิดและแก้ปัญหาของนักเรียน 3) สร้างและพัฒนาโปรแกรมพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้ โดยใช้แนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) เพื่อส่งเสริมการคิดและแก้ปัญหาของนักเรียน 4) ศึกษาผลการใช้โปรแกรมพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้ โดยใช้แนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) เพื่อส่งเสริมการคิดและแก้ปัญหาของนักเรียน โรงเรียนห้วยข่าพิทยาคม องค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี 4.1 ศึกษาการวัดทักษะการจัดการเรียนรู้ของครู 4.2 ศึกษาพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้ แบ่งการวิจัยออกเป็น 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาองค์ประกอบและตัวชี้วัดของการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมการคิดและแก้ปัญหาของนักเรียน ระยะที่ 2 ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ของการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมการคิดและแก้ปัญหาของนักเรียน ระยะที่ 3 สร้างและพัฒนาโปรแกรมพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้ โดยใช้แนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) เพื่อส่งเสริมการคิดและแก้ปัญหาของนักเรียน ระยะที่ 4 ผลการใช้โปรแกรมพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้ โดยใช้แนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) เพื่อส่งเสริมการคิดและแก้ปัญหาของนักเรียน กลุ่มผู้ให้ข้อมูล คือ กลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน ข้าราชการครูโรงเรียนห้วยข่าพิทยาคม องค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี
ปีการศึกษา 2563 จำนวน 25 คน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม และแบบสอบถาม แบบประเมินโปรแกรม สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
    ผลการวิจัยพบว่า
     1. องค์ประกอบและตัวชี้วัดของการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้ มีองค์ประกอบจำนวน 5 องค์ประกอบ 15 ตัวชี้วัด ได้แก่ 1) ด้านการบูรณาการฝึกทักษะการคิดและแก้ปัญหาเนื้อหาในกลุ่มสาระการเรียนรู้ 2) ด้านการออกแบบการจัดการเรียนรู้ที่เน้นเน้นทักษะการคิดและแก้ปัญหา 3) ด้านการใช้รูปแบบและเทคนิควิธีการสอนด้านการคิดและแก้ปัญหา 4) ด้านการพัฒนาสื่อและนวัตกรรมที่เน้นการคิดและแก้ปัญหา และ 5) ด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ผลการประเมินองค์ประกอบการจัดการเรียนรู้ของครู พบว่า ทั้งทุกองค์ประกอบมีความเหมาะสมอยู่ในเกณฑ์ระหว่าง 0.60-1.00
     2. ผลการศึกษาสภาพปัจจุบันของการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้ โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.79 และสภาพที่พึงประสงค์ของการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้ โดยรวมมีค่าเฉลี่ยระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.34
     3. โปรแกรมพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมการคิดและแก้ปัญหาของนักเรียน มีองค์ประกอบดังนี้คือ หลักการ วัตถุประสงค์ เนื้อหา วิธีการพัฒนา และการวัดและประเมินผลโปรแกรม เพื่อพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้ ผู้วิจัยได้ออกแบบเนื้อหาของโปรแกรมโดยเน้นเนื้อหาตามค่าดัชนีความต้องการจำเป็นที่มีความต้องการเรียงตามลำดับคือ การใช้รูปแบบและเทคนิควิธีการสอนด้านการคิดและแก้ปัญหา (PNImodified =0.60) การพัฒนาสื่อและนวัตกรรมที่เน้นการคิดและแก้ปัญหา (PNImodified = 0.56) การบูรณาการฝึกทักษะการคิดและแก้ปัญหาวิเคราะห์เนื้อหาในกลุ่มสาระการเรียนรู้ (PNImodified =0.55) การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ (PNImodified =0.53) และการออกแบบการจัดการเรียนรู้ที่เน้นทักษะการคิดและแก้ปัญหา (PNImodified =0.50) ตามลำดับ วิธีการพัฒนาโดยใช้แนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ประกอบด้วยกิจกรรม การฝึกอบรม การใช้ระบบพี่เลี้ยง และการศึกษาดูงาน ผลการประเมินโปรแกรมพัฒนาโดยผู้ทรงคุณวุฒิพบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก
     4. ครูผู้เข้าร่วมการพัฒนาด้วยโปรแกรมพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมการคิดและแก้ปัญหาของนักเรียน มีคะแนนการจัดการเรียนรู้ก่อนเข้าร่วมการพัฒนา โดยรวมอยู่ในระดับน้อย ( =1.91) และภายหลังการเข้าร่วมโปรแกรมพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้ผ่านไป 4 สัปดาห์ ครูผู้เข้าร่วมโปรแกรมฯ มีคะแนนวัดทักษะการจัดการเรียนรู้ อยู่ในระดับมาก ( =4.44) มีพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ โดยใช้แนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้
ทางวิชาชีพ (PLC) โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( =4.47)

ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^