การพัฒนาแบบฝึกทักษะ เรื่องชนิดและหน้าที่ของคำ โดยใช้เทคนิคกลุ่ม
แบบ STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ผู้วิจัย : นางสาวอัญชลี ศรีบุญเรือง ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
โรงเรียนเทศบาล 1 (บ้านบัวใหญ่) เทศบาลเมืองบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา
ปีการศึกษา : 2563
บทคัดย่อ
การพัฒนาแบบฝึกทักษะ เรื่องชนิดและหน้าที่ของคำ โดยใช้เทคนิคกลุ่มร่วมมือ แบบ STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีวัตถุประสงค์การวิจัย คือ 1) เพื่อสร้างและพัฒนาแบบฝึกทักษะ เรื่องชนิดและหน้าที่ของคำ โดยใช้เทคนิคกลุ่มร่วมมือ แบบ STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนจากการเรียนด้วยแบบฝึกทักษะ เรื่องชนิดและหน้าที่ของคำ โดยใช้เทคนิคกลุ่มร่วมมือ แบบ STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยแบบฝึกทักษะ เรื่องชนิดและหน้าที่ของคำ โดยใช้เทคนิคกลุ่มร่วมมือ แบบ STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มเป้าหมาย เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเทศบาล 1 (บ้านบัวใหญ่) เทศบาลเมือง บัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แบบฝึกทักษะ เรื่องชนิดและหน้าที่ของคำ โดยใช้เทคนิคกลุ่มร่วมมือ แบบ STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 2) แผนการจัดการเรียนรู้ สาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทาง การเรียน สาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยแบบฝึกทักษะ เรื่องชนิดและหน้าที่ของคำ โดยใช้เทคนิคกลุ่มร่วมมือ แบบ STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 สถิติที่ใช้ คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ ค่า t-test (Dependent sample)
ผลการวิจัยพบว่า
1. แบบฝึกทักษะ เรื่องชนิดและหน้าที่ของคำ โดยใช้เทคนิคกลุ่มร่วมมือ แบบ STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.80/83.40
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนจากการเรียนด้วยแบบฝึกทักษะ เรื่องชนิดและหน้าที่ของคำ โดยใช้เทคนิคกลุ่มร่วมมือ แบบ STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยแบบฝึกทักษะ เรื่องชนิดและหน้าที่ของคำ โดยใช้เทคนิคกลุ่มร่วมมือ แบบ STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด