LASTEST NEWS

30 ก.ค. 2567โรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราช รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาอังกฤษ เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่วันที่ 2-8 สิงหาคม 2567 30 ก.ค. 2567สพฐ.ผ่านการประเมิน ITA ปี 67 ได้คะแนนสูงสุดใน ศธ. 30 ก.ค. 2567สพฐ.มีหนังสือด่วนที่สุด ! แจ้งการโอนงบประมาณเหลือจ่ายฯ งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นฯ สำหรับจ้างเหมาบริการนักการภารโรง คืนส่วนกลาง 30 ก.ค. 2567ร้อง"บิ๊กอุ้ม"-กมธ.สส.ยังยั้ง ศธ.ปรับหลักสูตร-อ้างครูฯลงชื่อคัดค้านเพียบ 30 ก.ค. 2567สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA) เปิดรับสมัครวุฒิปริญญาโททุกสาขา เงินเดือน 22,750 บาท ตั้งแต่บัดนี้-20 สิงหาคม 2567 29 ก.ค. 2567ชี้ครู 80% เริ่มเข้าใจการเรียนการสอนแบบ Active Learning 29 ก.ค. 2567โรงเรียนอนุบาลนางรอง(สังขกฤษณ์อนุสรณ์) รับสมัครครูอัตราจ้าง เงินเดือน 9,140 บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 1 ส.ค.2567 29 ก.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ (ต่อ) 29 ก.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 28 ก.ค. 2567รัฐบาล เชิญชวนส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ ประชาชน สวมใส่เสื้อเหลืองตราสัญลักษณ์ฯ ทุกวันจันทร์โดยพร้อมเพรียง

การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ GKDMAE เพื่อส่งเสริมทักษะปฏิบัติ

usericon

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนารูปแบบ การจัดการเรียนรู้ GKDMAE เพื่อส่งเสริมทักษะปฏิบัติ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ GKDMAE เพื่อส่งเสริมทักษะปฏิบัติ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 3) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ GKDMAE เพื่อส่งเสริมทักษะปฏิบัติ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และ4) เพื่อประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยรูปแบบ การจัดการเรียนรู้ GKDMAE เพื่อส่งเสริมทักษะปฏิบัติ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1 โรงเรียนเทศบาล ๔ (วัดโพธาวาส) เทศบาลนครสุราษฎร์ธานี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 36 คน ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยมีห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) รูปแบบการจัดการเรียนรู้ GKDMAE เพื่อส่งเสริมทักษะปฏิบัติ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 2) แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 9 แผน 15 ชั่วโมง 3) แบบทดสอบ วัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเป็นแบบเลือกตอบ 4 ตัวเลือกจำนวน 40 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่น (KR-20) 0.83 4) แบบวัดทักษะปฏิบัติ โดยใช้เกณฑ์การให้คะแนนแบบรูบริค (Rubric Scoring) มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.91 และ 5) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียน มีค่าความเชื่อมั่น ( ) 0.93 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมติฐานกลุ่มตัวอย่างที่ไม่มีความเป็นอิสระต่อกัน (t-test Dependent Samples) และการวิเคราะห์เนื้อหา    
    ผลการศึกษา พบว่า
1. นักเรียนส่วนใหญ่ไม่ชอบเรียนกลุ่มสาระการงานอาชีพ เพราะไม่มีความถนัด ไม่มีความ สามารถทางด้านการงานอาชีพ โดยให้เหตุผลว่าต้องใช้ความละเอียด ประณีต รอบคอบ มีทักษะ ใจเย็นและ ต้องมีสมาธิ นักเรียนไม่มีทักษะการฝึกปฏิบัติ ขาดทักษะในกระบวนการทำงาน โดยเฉพาะทักษะการทำงานเป็นกลุ่ม นักเรียนกล่าวว่าวิชาเรียนยาก ไม่เหมาะกับสภาพของนักเรียน ไม่มีทักษะมาก่อน และนักเรียนบางกลุ่มไม่เข้าเรียนเลย โดยคิดว่าวิชาเหล่านั้นไม่เหมาะกับตัวนักเรียน อีกทั้งอาจไม่ชอบพฤติกรรมของครูผู้สอนบางคน ทำให้เกิดทัศนคติที่ไม่ดีต่อวิชาเรียน บางกิจกรรมที่ใช้เวลาค่อนข้างมากนักเรียนไม่ได้ทำกิจกรรมด้วยตนเอง ครูจะใช้วิธีการสาธิตให้ดูเป็นส่วนใหญ่ นำไปสู่การได้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ
    2. ครูผู้สอนยังใช้เทคนิควิธีการจัดการเรียนรู้แบบเดิม ใช้วิธีบรรยายตามตำรา หนังสือเรียนหรือให้นักเรียนอ่านและจดบันทึกเนื้อหาจากหนังสือเรียน นักเรียนไม่มีโอกาสได้ปฏิบัติจริง ไม่เข้าใจเนื้อหาบทเรียนที่มีขั้นตอนในการทำงานและฝึกปฏิบัติ เวลามีไม่เพียงพอในการปฏิบัติ สื่อการเรียนรู้ไม่ทันสมัย ไม่ตรงตามจุดประสงค์ของการเรียนรู้ ไม่เร้าความสนใจของนักเรียนที่จะทำให้นักเรียน มีความต้องการที่จะสืบค้นความรู้ใหม่ ๆ ทำให้นักเรียนไม่สามารถจัดลำดับขั้นตอนของการปฏิบัติงานได้ เพราะไม่ได้ลงมือปฏิบัติจริง นักเรียนไม่สามารถสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองได้ ขาดทักษะในการปฏิบัติ ขาดทักษะด้านการคิดสร้างสรรค์ และการวางแผนในการทำงาน เกิดความเบื่อหน่ายไม่สนใจเรียน ไม่ส่งงาน ขาดเจตคติที่ดีต่อการเรียน ไม่เห็นคุณค่าของทรัพยากรที่มีอยู่ในท้องถิ่น ไม่สามารถนำวัสดุเหลือใช้หรือวัสดุธรรมชาติที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และไม่เห็นคุณค่าของความรู้ ที่จะนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์ในชีวิตประจำวัน
    3. รูปแบบการจัดการเรียนรู้ GKDMAE เพื่อส่งเสริมทักษะปฏิบัติ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1. หลักการ 2. วัตถุประสงค์ 3. กระบวนการเรียนรู้ ประกอบด้วย 3.1 ขั้นเร่งเร้าความสนใจ (Gain Attention : G) 3.2 ขั้นแสวงหาความรู้ใหม่ (Knowledge Acquisition : K) 3.3 ขั้นที่ 3 การสาธิตทักษะ (Demonstration : D) 3.4 ขั้นลงมือกระทำ (Mechanism : M) 3.5 ขั้นนำไปใช้ (Apply : A) และ 3.6 ขั้นประเมินผล (Evaluation : E) 4. ระบบสังคม และ 5. การวัดและประเมินผล
    4. รูปแบบการจัดการเรียนรู้ GKDMAE เพื่อส่งเสริมทักษะปฏิบัติ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 83.85/83.40 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 80/80
    5.กผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ GKDMAE เพื่อส่งเสริมทักษะปฏิบัติ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
    6. ทักษะปฏิบัติของนักเรียนหลังเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ GKDMAE เพื่อส่งเสริมทักษะปฏิบัติ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
    7.กความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ GKDMAE เพื่อส่งเสริมทักษะปฏิบัติ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.63 S.D=0.34)
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^