การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยการเสริมพลังอำนาจ Key5 Model
ชื่อเรื่อง รูปแบบการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยการเสริมพลังอำนาจ Key5 Model
ของโรงเรียนวัดคูยาง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1
ชื่อผู้วิจัย นายขจรยศ บุรุษศรี
สังกัด โรงเรียนวัดคูยาง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1
ปีการศึกษา ปีการศึกษา 2562-2563
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
รูปแบบการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยการเสริมพลังอำนาจ Key5 Model
ของโรงเรียนวัดคูยาง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1 ได้ดำเนินการวิจัย
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยการเสริมพลังอำนาจ Key5 Model ของโรงเรียนวัดคูยาง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1 ปีการศึกษา 2562 และ
2) ประเมินรูปแบบการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยการเสริมพลังอำนาจ Key5 Model ของโรงเรียนวัดคูยาง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1 โดยดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 4 ขั้นตอน ได้แก่
ขั้นที่ 1 ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อกำหนดกรอบแนวคิดในการวิจัย
ขั้นที่ 2 การสร้างและพัฒนารูปแบบการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยการเสริมพลังอำนาจ Key5 Model
ขั้นที่ 3 การทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยการเสริมพลังอำนาจ Key5 Model และ
ขั้นที่ 4 การประเมินผลการใช้รูปแบบการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยการเสริมพลังอำนาจ Key5 Model
ผลการวิจัย พบว่า
1. รูปแบบการการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยการเสริมพลังอำนาจ Key5 Model ของโรงเรียนวัดคูยาง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1 ปีการศึกษา 2562 ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบหลัก และ 14 กิจกรรมย่อย ได้แก่
องค์ประกอบที่ 1 Key1 : Define and communicate
1.1) การสื่อสารอย่างมีความหมาย (Communication)
1.2) การสร้างคุณค่าของตนเอง (Self-esteem)
1.3) การยอมรับงานอย่างเต็มใจ (Acceptance)
องค์ประกอบที่ 2 Key2 : Set goals and strategies
2.1) การทำข้อตกลงร่วมกัน (โรงเรียนทำ MOU กับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชรเขต 1 และครูทำ MOU กับผู้อำนวยการโรงเรียน)
2.2) การจัดการความรู้ (Knowledge Management : KM)
2.3) การสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community)
องค์ประกอบที่ 3 Key3 : Train
3.1 การสร้างเครือข่าย (Network)
3.2) การประชันผลงาน (Competition)
3.3) การค้นหาความถนัด (Aptitude)
องค์ประกอบที่ 4 Key4 : Adjust the organization’s structure
4.1) ศาสตร์แห่งพระราชา (The King Philosophy)
4.2) แผนการจัดการเรียนการสอนเชิงรุก (Active Learning)
4.3) การประกาศยกย่อง และมอบรางวัล (Awards)
องค์ประกอบที่ 5 Key5 : Evaluate and improve
5.1) การนิเทศภายในแบบ 4.0 (Supervision)
5.2) การรายงานเชิงบูรณาการ (Integrated Report)
2. การสร้างและพัฒนารูปแบบการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยการเสริมพลังอำนาจ Key5 Model ของโรงเรียนวัดคูยาง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1 ปีการศึกษา 2562 ผลการประเมินร่างรูปแบบด้านความถูกต้องและความเหมาะสมในทุกองค์ประกอบอยู่ในระดับมากที่สุด
3. การทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยการเสริมพลังอำนาจ Key5 Model ของโรงเรียนวัดคูยาง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1 ปีการศึกษา 2562 การประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาพื้นฐาน พบว่า ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทุกรายวิชาระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 6 ปีการศึกษา 2563 อยู่ในระดับดีเยี่ยม
การประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน ตั้งแต่ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 6 ปีการศึกษา 2563 ผลการประเมินอยู่ในระดับดีขึ้นไปจนถึงระดับดีเยี่ยม ละการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ พบว่า ร้อยละของนักเรียนที่มีผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ในระดับดีขึ้นไป ตั้งแต่ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงระดับ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2563 คิดเป็นร้อยละ 100 อยู่ในระดับดีเยี่ยม การทดสอบความสามารถพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ (National Test : NT) พบว่า ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2563 เมื่อเปรียบเทียบกับระดับประเทศในภาพรวม มีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าระดับประเทศ และเมื่อพิจารณาความสามารถทั้ง 2 ด้าน พบว่า มีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าระดับประเทศเช่นกัน และการทดสอบระดับชาติ O-NET พบว่า วิชาภาษาไทย
วิชาภาษาอังกฤษ วิชาคณิตศาสตร์ และวิชาวิทยาศาสตร์ มีคะแนนสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยระดับเขตพื้นที่การศึกษา ระดับสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และระดับประเทศ
4. การประเมินผลการใช้รูปแบบการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยการเสริมพลังอำนาจ Key5 Model ของโรงเรียนวัดคูยาง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1 ปีการศึกษา 2562 พบว่า ด้านความเป็นไปได้และด้านความเป็นประโยชน์ เห็นด้วยอยู่ในระดับมากที่สุด