LASTEST NEWS

05 ก.ย. 2567โรงเรียนเทศบาล 1 (ในระบบสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง) รับสมัครผู้ช่วยครู 10 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 6-11 กันยายน 2567 05 ก.ย. 2567สพป.สุรินทร์ เขต 3 ขอใช้บัญชีครูผู้ช่วย สพป.บุรีรัมย์ เขต 3 จำนวน 6 อัตรา - รายงานตัว12 กันยายน 2567 05 ก.ย. 2567โรงเรียนบ้านบุ รับสมัคร ธุรการโรงเรียน วุฒิปริญญาตรีทุกสาขา เงินเดือน 15,000.- บาท ตั้งแต่ 8 – 10 กันยายน 2567 05 ก.ย. 2567ระเบียบใหม่ ปี 67 กำหนดคุณสมบัติครู ร.ร.นอกระบบ ต้องมีอย่างน้อย 1 คนต่อห้องเรียน 05 ก.ย. 2567สพฐ.ออกหนังสือ ด่วนที่สุด ประกาศ มาตรการลดภาระการรายงานของสถานศึกษา 04 ก.ย. 2567สพป.ร้อยเอ็ด เขต 3 รับสมัครพนักงานราชการ 2 อัตรา วุฒิม.6 - ปริญญาตรีทุกสาขา ตั้งแต่ 9-13 กันยายน 2567 04 ก.ย. 2567ล่าสุด..ท้องถิ่น มีตำแหน่งว่าง เปิดสอบ 6,238 อัตรา ม.บูรพา ออกข้อสอบ คาดว่า มีผู้สมัครมากกว่า 5แสนคน 03 ก.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ (ต่อ) 03 ก.ย. 2567สพฐ.ปรับโฉมการประชุม ผอ.สพท.ทุกคนต้องโชว์ผลงาน 03 ก.ย. 2567โรงเรียนวัดคิรีวิหาร(สมเด็จพระวันรัต อุปถัมภ์) รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกประถมศึกษา หรือวิชาเอกภาษาไทย เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 5 ก.ย.2567

การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาสุขศึกษาตามแนวคิดการเรียนรู้

usericon

ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาสุขศึกษาตามแนวคิดการเรียนรู้ของกานเย
        ผสมผสานกับกลวิธีการคิดอุปนัย เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และความสามารถ
        ในการแก้ปัญหา กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา
        สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ผู้วิจัย     ภณัฐภิฌา บุญมีมา
ปีการศึกษา 2563

บทคัดย่อ

    การวิจัย เรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาสุขศึกษาตามแนวคิดการเรียนรู้ของกานเย ผสมผสานกับกลวิธีการคิดอุปนัย เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และความสามารถในการแก้ปัญหา กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย คือ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาสุขศึกษาตามแนวคิดการเรียนรู้ของกานเยผสมผสานกับกลวิธีการคิดอุปนัย เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และความสามารถ ในการแก้ปัญหา กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาสุขศึกษาตามแนวคิดการเรียนรู้ ของกานเยผสมผสานกับกลวิธีการคิดอุปนัย เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ และความสามารถในการแก้ปัญหา กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3) เพื่อศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาสุขศึกษาตามแนวคิดการเรียนรู้ของกานเยผสมผสานกับกลวิธีการคิดอุปนัย เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และความสามารถในการแก้ปัญหา กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ดังนี้ 3.1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาสุขศึกษาตามแนวคิดการเรียนรู้ของกานเยผสมผสานกับกลวิธีการคิดอุปนัย เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และความสามารถในการแก้ปัญหา กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 3.2) เพื่อศึกษาผลการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาสุขศึกษาตามแนวคิดการเรียนรู้ของกานเย ผสมผสานกับกลวิธีการคิดอุปนัย เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และความสามารถในการแก้ปัญหา กลุ่มสาระการเรียนรู้ สุขศึกษาและพลศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาสุขศึกษาตามแนวคิดการเรียนรู้ของกานเย ผสมผสานกับกลวิธีการคิดอุปนัย เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และความสามารถในการแก้ปัญหา กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 โรงเรียนเทศบาลอุโมงค์ ๑ ตำบลอุโมงค์ อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน สังกัดกองการศึกษา เทศบาลตำบลอุโมงค์ จำนวน 18 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) แบบวิเคราะห์ข้อมูลการประชุมกลุ่มย่อย (Focus Group) จำนวน 1 ฉบับ 2) รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาสุขศึกษาตามแนวคิดการเรียนรู้
ของกานเยผสมผสานกับกลวิธีการคิดอุปนัย เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และความสามารถในการแก้ปัญหา กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 3) ชุดการเรียนรู้ วิชาสุขศึกษา เรื่อง ความปลอดภัยในชีวิต จำนวน 10 ชุด 4) แผนการจัดการเรียนรู้ วิชาสุขศึกษา เรื่อง ความปลอดภัยในชีวิต จำนวน 20 แผน 5) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ จำนวน 30 ข้อ 6) แบบวัดความคิดสร้างสรรค์และความสามารถในการแก้ปัญหา จำนวน 20 ข้อ และ 7) แบบสอบถามความพึงพอใจ จำนวน 1 ชุด วิเคราะห์ข้อมูล โดยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) การหาค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละและค่าประสิทธิภาพ ผลการวิจัยพบว่า
1. ข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาสุขศึกษาตามแนวคิดการเรียนรู้ของกานเยผสมผสานกับกลวิธีการคิดอุปนัย เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และความสามารถในการแก้ปัญหา กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จากการวิเคราะห์เอกสารมีหลากหลาย ประกอบด้วย 1) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2564) ภาพรวมการพัฒนาในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 หลักการสำคัญของการพัฒนาตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 จุดเปลี่ยนสำคัญในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 2) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2560 หมวด 5 หน้าที่ของรัฐ ตามมาตรา 54 มาตรา 69 และมาตราอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา 3) แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560-2579 วิสัยทัศน์ในการจัดการศึกษา วัตถุประสงค์ในการจัดการศึกษา เป้าหมายด้านผู้เรียน เป้าหมายของการจัดการศึกษายุทธศาสตร์ เป้าหมาย และตัวชี้วัดในแผนการศึกษาแห่งชาติ 4) พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2553 5) สภาพปัจจุบันปัญหาการจัด การเรียนการสอนวิชาสุขศึกษาและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 6) หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 7) ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 8)แนวคิดการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning 9) แนวคิดทฤษฎีการเรียนรู้ของกานเย (Gagne) 10) แนวคิดทฤษฎีกลวิธีการคิดอุปนัย 11) แนวคิดทฤษฎีการคิดสร้างสรรค์ 12) แนวคิดทฤษฎีความสามารถในการแก้ปัญหา และ 13) การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน
2. รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาสุขศึกษาตามแนวคิดการเรียนรู้ของกานเยผสมผสานกับกลวิธีการคิดอุปนัย เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และความสามารถในการแก้ปัญหา กลุ่มสาระ การเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมีชื่อเรียกว่า “GASWS Model” (กาเอสดับเบิ้ลยูเอส โมเดล) ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ขั้นตอนที่ 1 เร่งเร้าความสนใจ (Gain Attention : G) 2) ขั้นตอนที่ 2 การนำเสนอเนื้อหาใหม่และ การทำความเข้าใจอย่างละเอียด (Acquisition and Elaboration : A) 3) ขั้นตอนที่ 3 การเรียนรู้ด้วยตนเองจากการปฏิบัติ (Students’ Self learning by doing : S) 4) ขั้นตอนที่ 4 การอภิปรายทั้งชั้นเรียนและการเปรียบเทียบ (Whole Class Discussion and Comparison : W) และ 5) ขั้นตอนที่ 5 การสรุปโดยการเชื่อมโยงแนวคิดที่เกิดขึ้นในชั้นเรียน (Summarization Through Connecting Students’ Ideas Emerged in the Classroom : S) พบว่า รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาสุขศึกษาตามแนวคิดการเรียนรู้ของกานเยผสมผสานกับกลวิธีการคิดอุปนัย เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และความสามารถในการแก้ปัญหา กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 82.82/83.89 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาสุขศึกษาตามแนวคิดการเรียนรู้ของกานเยผสมผสานกับกลวิธีการคิดอุปนัย เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และความสามารถในการแก้ปัญหา กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบว่า
        3.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาสุขศึกษาตามแนวคิดการเรียนรู้ของกานเย ผสมผสานกับกลวิธีการคิดอุปนัย เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และความสามารถในการแก้ปัญหา กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
        3.2 การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาสุขศึกษาตามแนวคิดการเรียนรู้ของกานเยผสมผสานกับกลวิธีการคิดอุปนัย เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และความสามารถในการแก้ปัญหา กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
    4. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาสุขศึกษาตามแนวคิดการเรียนรู้ของกานเยผสมผสานกับกลวิธีการคิดอุปนัย เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และความสามารถในการแก้ปัญหา กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 อยู่ในระดับพึงพอใจมาก




































































































ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^