การบริหารสถานศึกษาแบบมลายูโมเดลสู่โรงเรียนพอเพียงท้องถิ่น
สู่โรงเรียนพอเพียงท้องถิ่นนำร่อง ของโรงเรียนเทศบาล ๒ (บ้านมลายูบางกอก)
ผู้วิจัย ทองมัน สิทธิกัน
ปีที่วิจัย 2562
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการในการบริหารสถานศึกษาแบบมลายู โมเดล (MELAYU Model) สู่โรงเรียนพอเพียงท้องถิ่นนำร่อง ของโรงเรียนเทศบาล ๒ (บ้านมลายูบางกอก) 2) เพื่อออกแบบ และสร้างรูปแบบการบริหารสถานศึกษาแบบมลายู โมเดล (MELAYU Model) สู่โรงเรียนพอเพียงท้องถิ่นนำร่อง ของโรงเรียนเทศบาล ๒ (บ้านมลายูบางกอก) 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษาแบบมลายู โมเดล (MELAYU Model) สู่โรงเรียนพอเพียงท้องถิ่นนำร่อง ของโรงเรียนเทศบาล ๒ (บ้านมลายูบางกอก)
4) เพื่อประเมินความพึงพอใจของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน คณะทำงาน นักเรียน และผู้ปกครองที่มีต่อการบริหารสถานศึกษาแบบมลายู โมเดล (MELAYU Model) สู่โรงเรียนพอเพียงท้องถิ่นนำร่อง ของโรงเรียนเทศบาล ๒ (บ้านมลายูบางกอก) ดำเนินการวิจัยเป็น 4 ขั้นตอน คือ 1. ศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการในการบริหารสถานศึกษาแบบมลายู โมเดล (MELAYU Model) สู่โรงเรียนพอเพียงท้องถิ่นนำร่อง โดยดำเนินการระดมความคิด (Brain storming) ร่วมกับคณะครู จำนวน 59 คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 15 คน และดำเนินการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน 2. สร้างรูปแบบการบริหารสถานศึกษาแบบมลายู โมเดล (MELAYU Model) สู่โรงเรียนพอเพียงท้องถิ่นนำร่อง ประกอบด้วย 2.1 การยกร่างรูปแบบการบริหารสถานศึกษาแบบมลายู โมเดล (MELAYU Model) สู่โรงเรียนพอเพียงท้องถิ่นนำร่อง จากผลการระดมความคิดและผลการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ 2.2 การตรวจสอบความตรงและความเหมาะสมของรูปแบบการบริหารสถานศึกษาแบบมลายู โมเดล (MELAYU Model) สู่โรงเรียนพอเพียงท้องถิ่นนำร่อง โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน 3. ทดลองใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษาแบบมลายู โมเดล (MELAYU Model) สู่โรงเรียนพอเพียงท้องถิ่นนำร่อง ประกอบด้วยรองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ จำนวน 1 คน และคณะทำงานผู้รับผิดชอบในการดำเนินงานโรงเรียนพอเพียงท้องถิ่นนำร่องของโรงเรียน จำนวน 19 คนรวมทั้งสิ้นจำนวน 20 คน และ 4. ประเมินความพึงพอใจของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครูผู้สอน นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียน รวมทั้งสิ้น 444 คนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ 1) แบบบันทึกการประชุม เพื่อพิจารณาผลการทดลองใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษาแบบมลายู โมเดล (MELAYU Model) สู่โรงเรียนพอเพียงท้องถิ่นนำร่องของโรงเรียนในองค์ประกอบของการเป็นโรงเรียนพอเพียงท้องถิ่นนำร่อง 5 ด้าน 2) แบบบันทึกผลการประเมินโรงเรียนพอเพียงท้องถิ่นนำร่องใช้เกณฑ์การพิจารณาเชิงประจักษ์ 3) แบบประเมินความพึงพอใจของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครูผู้สอน นักเรียน และผู้ปกครอง มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .96, .95, .97 และ.96 ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
สภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการในการบริหารสถานศึกษาแบบมลายู โมเดล (MELAYU Model) สู่โรงเรียนพอเพียงท้องถิ่นนำร่อง ของโรงเรียนเทศบาล ๒ (บ้านมลายูบางกอก) พบว่า เกิดจากปัญหาหลายๆ ด้าน ดังต่อไปนี้
1) ด้านบริหารจัดการสถานศึกษา พบว่า ครูไม่เข้าใจหลักสูตรที่บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ไม่ตอบสนองความต้องการและความสามารถของนักเรียน ทั้งการนิเทศ ติดตาม และประเมินผลภายในโรงเรียนไม่สม่ำเสมอขาดการส่งเสริมการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ทั้งภายใน และภายนอกสถานศึกษา 2) ด้านหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน พบว่า กระบวนการเรียนรู้ไม่ตอบสนองต่อเป้าหมายของหลักสูตร ขาดการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์การใช้สื่อประกอบการเรียนการสอน การผลิตสื่อยังมีไม่เพียงพอกับความต้องการในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 3) ด้านการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน พบว่า หลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนยังไม่ส่งเสริมหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงการมีส่วนร่วมระหว่าง ครู นักเรียน ผู้ปกครอง และชุมชนยังมีน้อย การแนะแนวและระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนนั้น ครูยังขาดความรู้ ความเข้าใจในการแนะแนวและระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนเป็นรายบุคคล มีการดูแลไม่ทั่วถึงและไม่เพียงพอ 4) ด้านการพัฒนาบุคลากร พบว่า ครูใช้วิธีการสอนแบบเดิมๆ ไม่ปรับวิธีเรียนเปลี่ยนวิธีสอนส่วนใหญ่ไม่ได้ตระหนักถึงเรื่องของเศรษฐกิจพอเพียงขาดความรู้ความเข้าใจในรูปแบบการจัดกิจกรรม/โครงการพัฒนาบุคลากรเพื่อส่งเสริมให้บุคลากรในโรงเรียนนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
การบริหารสถานศึกษาแบบมลายู โมเดล (MELAYU Model) สู่โรงเรียนพอเพียงท้องถิ่นนำร่อง พบว่า มีความตรงและมีความเหมาะสมมากสำหรับนำไปจัดกิจกรรมการเรียนรู้และการบริหารจัดการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ผลการทดลองใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษาแบบมลายู โมเดล (MELAYU Model) สู่โรงเรียนพอเพียงท้องถิ่นนำร่อง ในภาพรวม พบว่า ผลการปฏิบัติงานตามรูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นโรงเรียนพอเพียงท้องถิ่นทั้ง 5 ด้าน ในภาพรวม ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านการบริหารสถานศึกษา และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษา เมื่อจำแนกรายด้าน พบว่า 1) ด้านการบริหารสถานศึกษา พิจารณาตามองค์ประกอบพบว่า ค่าเฉลี่ยขององค์ประกอบทุกด้านเท่ากันในทุกองค์ประกอบคือนโยบาย วิชาการ งบประมาณและการบริหารทั่วไป 2) ด้านหลักสูตรและการจัดการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ พบว่า องค์ประกอบที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ น้อยที่สุด คือ หน่วยการเรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สื่อและแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และการวัดและประเมินผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 3) ด้านการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน พบว่า องค์ประกอบที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ กิจกรรมนักเรียน และกิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์ น้อยที่สุด คือ คือ การแนะแนวและการดูแลช่วยเหลือผู้เรียน 4) ด้านการพัฒนาบุคลากรตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง พบว่า องค์ประกอบที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ การติดตามและขยายผล น้อยที่สุด คือ การพัฒนาบุคลากรตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 5) ด้านผลลัพธ์ /ภาพความสำเร็จ พบว่า องค์ประกอบที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ สถานศึกษา ผู้บริหารโรงเรียนพอเพียงท้องถิ่น และบุคลากรของสถานศึกษา และน้อยที่สุด คือ ผู้เรียน
ความพึงพอใจของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน คณะทำงาน นักเรียน และผู้ปกครองโดยภาพรวมที่มีต่อการบริหารสถานศึกษาแบบมลายู โมเดล (MELAYU Model) สู่โรงเรียนพอเพียงท้องถิ่นนำร่อง พบว่า คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนคณะทำงาน นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก