LASTEST NEWS

26 พ.ย. 2567สพฐ. เข้ม สั่งครูล่วงละเมิดนักเรียนออกจากราชการทันที ย้ำดูแลสภาพจิตใจเด็กเป็นสำคัญ 26 พ.ย. 2567สพฐ.เล็งทำบัตรสุขภาพนักเรียนออนไลน์ 26 พ.ย. 2567ทำไมครูส่วนใหญ่ ไม่สนใจสมัครสอบเป็นศึกษานิเทศก์ 26 พ.ย. 2567ก.พ.ยังนิ่งปมทบทวนจ้างเหมาบริการ “ธนุ” ไม่รอแล้วสั่งทำสัญญาจ่ายเงิน ตามระเบียบกรมบัญชีกลาง 25 พ.ย. 2567ล 1932/2567 หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู และที่แก้ไขเพิ่มเติม 25 พ.ย. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย จำนวน 81 อัตรา - รายงานตัว 28 พ.ย. 2567 25 พ.ย. 2567สพป.สมุทรสาคร เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 14 อัตรา รายงานตัว 3 ธันวาคม 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนเมืองสุรินทร์ รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 25-27 พฤศจิกายน 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนบ้านระไซร์(เด่นพัฒนา) รับสมัครครูอัตราจ้าง วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 7,000.- บาท  24 พ.ย. 2567สพป.เพชรบุรี เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 11 อัตรา - รายงานตัว 4 ธันวาคม 2567

การประเมินโครงการนิเทศการจัดการเรียนรู้

usericon

ชื่อโครงการ การประเมินโครงการนิเทศการจัดการเรียนรู้
โรงเรียนเทศบาล ๒ (บ้านมลายูบางกอก) ปีการศึกษา 2562
ผู้ประเมิน นางทองมัน สิทธิกัน
ปีการศึกษา 2562
บทคัดย่อ
    การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินด้านบริบทโครงการนิเทศการจัดการเรียนรู้ โรงเรียนเทศบาล ๒ (บ้านมลายูบางกอก) ปีการศึกษา 2562 2) ประเมินด้านปัจจัยเบื้องต้น 3) ประเมินด้านกระบวนการ 4) ด้านผลผลิตโครงการนิเทศการจัดการเรียนรู้ โรงเรียนเทศบาล ๒ (บ้านมลายูบางกอก) ปีการศึกษา 2562
                กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการนิเทศการจัดการเรียนรู้ โรงเรียนเทศบาล ๒ (บ้านมลายูบางกอก) ปีการศึกษา 2562 จำนวน 222 คน ได้มาด้วยการสุ่มอย่างง่าย ประกอบด้วย ผู้บริหาร จำนวน 3 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 15 คน ครูผู้สอน จำนวน 52 คน นักเรียนจำนวน 152 คน รวมทั้งสิ้น 222 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม จำนวน 3 ชุด คือ ชุดของผู้บริหาร,ชุดของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน, ชุดของครูผู้สอน มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .96 ,.95 และ.86 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัย พบว่า
    การดำเนินงานโครงการนิเทศการจัดการเรียนรู้ โรงเรียนเทศบาล ๒ (บ้านมลายูบางกอก)
ด้านบริบท ผู้บริหารและคณะกรรมการสถานศึกษามีความเห็นว่า มีความเหมาะสมในระดับมากที่สุดส่วนด้านอื่นๆ มีความเหมาะสมในระดับมากทุกด้าน ในส่วนของครูผู้สอนมีความเห็นว่า ด้านผลผลิต
มีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด ส่วนด้านอื่นๆ มีความเหมาะสมในระดับมากทุกด้าน เมื่อวิเคราะห์
ในระดับลึก พบว่า การประเมินด้านบริบท (Context Evaluation) การประเมินโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากเมื่อพิจารณาแต่ละรายการ พบว่าผู้บริหารมีความคิดเห็นโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
มีความเห็นว่า วัตถุประสงค์โครงการมีความชัดเจน มีความเหมาะสม และโครงการสอดคล้องกับ
แผนยุทธศาสตร์ด้านการศึกษาของเทศบาลนครยะลา อีกทั้งคณะกรรมการสถานศึกษามีความคิดเห็นโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีความเห็นว่า วัตถุประสงค์ของโครงการสอดคล้องกับนโยบายของกระทรวง สอดคล้องกับนโยบายของเทศบาล นโยบายของสำนักการศึกษา ความสอดคล้องโครงการ สอดคล้องกับนโยบายของสถานศึกษา และสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ด้านการศึกษาของเทศบาลนครยะลา ในส่วนครูผู้สอนมีความคิดเห็นโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากมีความเห็นว่า วัตถุประสงค์ของโครงการสอดคล้องกับนโยบายของสำนักการศึกษา
การประเมินด้านปัจจัยเบื้องต้น (Input Evaluation) ผลการประเมินโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาแต่ละรายการ พบว่าผู้บริหารมีความคิดเห็นโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก
เมื่อพิจารณาด้านบุคลากร พบว่า ผู้บริหารมีส่วนร่วมในการประชุมวางแผนการจัดกิจกรรม
สำหรับด้านงบประมาณ มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด คืองบประมาณมีการนำมาใช้ทันเวลา
ด้านการบริหารจัดการ มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด คือ ผู้บริหารให้การสนับสนุนโครงการอย่างเหมาะสม ในส่วนคณะกรรมการสถานศึกษา มีความคิดเห็นโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ด้านบุคลากร พบว่า รายการที่มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด คือ บุคลากรมีความเข้าใจตรงตามลักษณะโครงการที่ได้รับมอบหมาย ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอนมีความพร้อมและมีความรู้ความสามารถที่เหมาะสมต่อการบริหารจัดการโครงการ และผู้บริหารมีส่วนร่วมในการประชุมวางแผนการจัดกิจกรรม สำหรับด้านงบประมาณ มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด คือ งบประมาณมีการนำมาใช้ตามวัตถุประสงค์ มีการนำมาใช้ทันเวลา เกี่ยวกับด้านวัสดุอุปกรณ์มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุดคือสถานที่ที่ใช้ดำเนินกิจกรรมมีความพอเพียง และด้านการบริหารจัดการ มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด คือ ผู้บริหารให้การสนับสนุนโครงการอย่างเหมาะสม ในส่วนของครูผู้สอน มีความคิดเห็นโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาด้านบุคลากร พบว่า มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก คือ บุคลากรมีความกระตือรือร้นและมีเจตคติที่ดีต่อการดำเนินงานของโครงการ สำหรับด้านงบประมาณ มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุดคือ อัตราค่าตอบแทนวิทยากรในการปฏิบัติหน้าที่มีความเหมาะสม เกี่ยวกับด้านวัสดุอุปกรณ์ มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด คือ วัสดุ – อุปกรณ์ เอกสารต่างๆ ตลอดจนสื่อการเรียนรู้ ป้ายนิเทศเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมการดำเนินงานตามโครงการที่ใช้ในการจัดกิจกรรมมีความเพียงพอ ในส่วนด้านการบริหารจัดการ ครูผู้สอนมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด คือ ระยะเวลาในการดำเนินการมีความเหมาะสม และระยะเวลามีความเพียงพอในการดำเนินงาน ส่วนรายการที่มีความคิดเห็นน้อยที่สุด คือ การจัดกิจกรรมมีความหลากหลาย
การประเมินด้านกระบวนการ (Process Evaluation) ผลการประเมินโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาแต่ละรายการ พบว่า ผู้บริหารมีความคิดเห็นโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาด้านการเตรียมการดำเนินงาน พบว่า ผู้บริหารมีความคิดเห็นส่วนใหญ่อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วน ด้านการปฏิบัติงานตามแผนมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด คือ มีการประชุมคณะกรรมการดำเนินงานเพื่อชี้แจงการปฏิบัติงานที่ชัดเจน มีการกำหนดวัน เวลาและสถานที่ในการดำเนินกิจกรรมต่างๆในโครงการอย่างชัดเจน ส่วนด้านการประเมินผล มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด คือ มีการประเมินผลหลังดำเนินกิจกรรมโครงการเสร็จ และด้านการสรุป รายงานผล มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด คือ มีการสรุปผลการปฏิบัติงานทุกกิจกรรม ในส่วนของคณะกรรมการสถานศึกษา มีความคิดเห็นโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาด้านการเตรียมการดำเนินงาน พบว่า มีความคิดเห็นส่วนใหญ่อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนรายการที่มีความคิดเห็นน้อยที่สุดคือ นักเรียน ครู ผู้ปกครอง ผู้สนับสนุนโครงการมีส่วนร่วมในการวางแผน ด้านการปฏิบัติงานตามแผนมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด คือ มีการประชุมคณะกรรมการดำเนินงานเพื่อชี้แจงการปฏิบัติงานที่ชัดเจน มีการกำหนดวัน เวลาและสถานที่ในการดำเนินกิจกรรมต่างๆในโครงการอย่างชัดเจน ส่วนด้านการประเมินผล มีความคิดเห็น
อยู่ในระดับมากที่สุด คือ มีการประเมินผลหลังดำเนินกิจกรรมโครงการเสร็จสิ้น มีการประเมินผลก่อนดำเนินกิจกรรมโครงการ มีการประเมินผลระหว่างดำเนินกิจกรรมโครงการ และด้านการสรุป รายงานผล มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก คือ มีการสรุปผลการปฏิบัติงานทุกกิจกรรม ในส่วนของครูผู้สอน
มีความคิดเห็นการปฏิบัติด้านกระบวนการ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาด้านการเตรียมการ
ดำเนินงานพบว่า มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด คือ มีการสำรวจความต้องการของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องก่อนการวางแผนกิจกรรมโครงการ มีการกำหนดขั้นตอนการจัดกิจกรรมโครงการไว้อย่างชัดเจนก่อนการนำไปปฏิบัติและการมีส่วนร่วมของนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการ สำหรับด้านการปฏิบัติงานตามแผนมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด คือ มีการประชาสัมพันธ์การดำเนินกิจกรรมทั่วถึง และรายการที่มีความคิดเห็นน้อยที่สุด คือ มีการประชุมคณะกรรมการดำเนินงานเพื่อชี้แจงการปฏิบัติงานที่ชัดเจน และมีการกำหนดวัน เวลา และสถานที่ในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ในโครงการอย่างชัดเจน ในด้านการประเมินผล มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด คือ มีเครื่องมือการประเมินผลที่เหมาะสมกับกิจกรรม และรายการที่มีความคิดเห็นน้อยที่สุด ได้แก่ มีการประเมินผลหลังดำเนินกิจกรรมโครงการเสร็จสิ้น ส่วนด้านการสรุปรายงานผล รายการที่มีความคิดเห็นมากที่สุด คือ
มีการสรุปผลการปฏิบัติงานทุกกิจกรรม
    การประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation)
    ผลการประเมินความพึงพอใจ ด้านผลผลิตของโครงการนิเทศการจัดการเรียนรู้ ครูผู้สอน
มีความพึงพอใจ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ครูผู้สอนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุดคือ ความหลากหลายของกิจกรรมนิเทศการจัดการเรียนรู้ที่โรงเรียนจัดขึ้น และความรู้ความเข้าใจที่ได้รับจากกิจกรรมนิเทศการจัดการเรียนรู้ ส่วนรายการที่มีความคิดเห็นน้อยที่สุดคือ ผู้บริหาร/หัวหน้าโครงการ มีการให้ความรู้ก่อนดำเนินการนิเทศ
    ครูผู้สอน โรงเรียนเทศบาล ๒ (บ้านมลายูบางกอก) ร้อยละ 98.08 เข้าร่วมกิจกรรมการให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการนิเทศการจัดการเรียนรู้ที่โรงเรียนจัดขึ้นซึ่งผลการประเมินการเข้าร่วมกิจกรรมนิเทศการจัดการเรียนการสอน พบว่า มีจำนวนครูผู้สอนเข้าร่วมกิจกรรมมากกว่าร้อยละ80
ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินที่ตั้งไว้
    ครูผู้สอน โรงเรียนเทศบาล ๒ (บ้านมลายูบางกอก) ร้อยละ 100 ได้ผลการประเมิน ประสิทธิภาพการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในระดับดีขึ้นไป ดังนั้นผลการประเมินประสิทธิภาพ
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ พบว่า ครูผู้สอนมากกว่าร้อยละ 80 ได้ผลการประเมินผ่านระดับดีขึ้นไป ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินที่ตั้งไว้
    นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาล ๒ (บ้านมลายูบางกอก) ปีการศึกษา 2562 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนใน 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ สูงกว่าปีการศึกษา 2561 ดังนั้น ผลการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนปีการศึกษา 2562 สูงกว่าปี 2561 ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินที่ตั้งไว้
    


ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^