ชุดกิจกรรมพัฒนาการอ่านคิดวิเคราะห์ รายวิชาภาษาไทย (ท31101)
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ด้วยกลวิธีเมตาคอกนิชัน
ผู้วิจัย นางณัชธริกา สรเพชญ์พิสัย ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
หน่วยงาน โรงเรียนครบุรี อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา
ปีที่พิมพ์ ปีการศึกษา 2563
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยมีความมุ่งหมายเพื่อผลิตชุดกิจกรรมพัฒนาการอ่านคิดวิเคราะห์ รายวิชาภาษาไทย (ท31101) ด้วยกลวิธีเมตาคอกนิชัน ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 เพื่อศึกษาค่าดัชนีประสิทธิผลของการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมพัฒนาการอ่านคิดวิเคราะห์ รายวิชาภาษาไทย (ท31101) ด้วยกลวิธีเมตาคอกนิชัน เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมพัฒนาการอ่านคิดวิเคราะห์ รายวิชาภาษาไทย (ท31101) ด้วยกลวิธีเมตาคอกนิชัน และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมพัฒนาการอ่านคิดวิเคราะห์ รายวิชาภาษาไทย (ท31101) ด้วยกลวิธีเมตาคอกนิชัน
กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 27 คน โรงเรียนครบุรี อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา สังกัดสำนักการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย กลุ่มตัวอย่างใช้การเลือกแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยในการสุ่ม เนื่องจากโรงเรียนจัดชั้นเรียนแบบคละผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ชุดกิจกรรมพัฒนาการอ่านคิดวิเคราะห์ รายวิชาภาษาไทย (ท31101) ด้วยกลวิธีเมตาคอกนิชัน แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 12 แผน แบบวัดความสามารถในการอ่านคิดวิเคราะห์ จำนวน 24 ข้อ แบบวัดความพึงพอใจ จำนวน 15 ข้อ สถิติพื้นฐานที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบข้อมูลโดยใช้ t-test (Dependents Sample) ที่ระดับ .05
สรุปผลการวิจัยได้ดังนี้
1. ชุดกิจกรรมพัฒนาการอ่านคิดวิเคราะห์ รายวิชาภาษาไทย (ท31101) ด้วยกลวิธีเมตาคอกนิชัน จำนวน 6 เล่ม มีประสิทธิภาพเท่ากับ 84.28/85.96 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80
2. ค่าดัชนีประสิทธิผลของการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมพัฒนาการอ่านคิดวิเคราะห์ รายวิชาภาษาไทย (ท31101) ด้วยกลวิธีเมตาคอกนิชัน มีค่าเท่ากับ 0.5956 หมายความว่า นักเรียนมีความก้าวหน้าคิดเป็นร้อยละ 59.56
3. ผลการเปรียบเทียบการวัดความสามารถในการอ่านคิดวิเคราะห์ของนักเรียนระหว่างก่อนเรียนกับหลังเรียน โดยใช้ชุดกิจกรรมพัฒนาการอ่านคิดวิเคราะห์ รายวิชาภาษาไทย (ท31101) ด้วยกลวิธีเมตาคอกนิชัน มีค่าเฉลี่ยก่อนเรียนและค่าเฉลี่ยหลังเรียนแตกต่างกัน โดยค่าเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าค่าเฉลี่ยก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมพัฒนาการอ่านคิดวิเคราะห์ รายวิชาภาษาไทย (ท31101) ด้วยกลวิธีเมตาคอกนิชันอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.74, S.D. = 0.55) เมื่อพิจารณารายข้อพบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจในระดับมากที่สุดทุกข้อ