การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเขียนวิชาภาษาไทย
กลยุทธ์พุทธิปัญญาและอภิปัญญาเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเขียนภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้น
ประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
ผู้วิจัย ดรุณี ศิริต๊ะ
ปีการศึกษา 2563
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเขียนวิชาภาษาไทยโดยใช้ทฤษฎีกระบวนการเขียนเชิงปัญญาร่วมกับกลยุทธ์พุทธิปัญญาและอภิปัญญาเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเขียนภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย 2) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพ รูปแบบการเรียนการสอนเขียน วิชาภาษาไทย โดยใช้ทฤษฎีกระบวนการเขียนเชิงปัญญาร่วมกับกลยุทธ์พุทธิปัญญาและอภิปัญญา เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเขียนภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ตามเกณฑ์ 80/80 3) เพื่อศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนเขียนวิชาภาษาไทย โดยใช้ทฤษฎีกระบวนการเขียนเชิงปัญญาร่วมกับกลยุทธ์พุทธิปัญญาและอภิปัญญา เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเขียนภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ดังนี้ 3.1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนเขียนวิชาภาษาไทย โดยใช้ทฤษฎีกระบวนการเขียนเชิงปัญญาร่วมกับกลยุทธ์พุทธิปัญญาและอภิปัญญา เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเขียนภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย 3.2) เพื่อศึกษาความสามารถในการเขียนภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนเขียนวิชาภาษาไทยโดยใช้ทฤษฎีกระบวนการเขียนเชิงปัญญาร่วมกับกลยุทธ์พุทธิปัญญาและอภิปัญญา เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเขียนภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อรูปแบบการเรียนการสอนเขียนวิชาภาษาไทย โดยใช้ทฤษฎีกระบวนการเขียนเชิงปัญญาร่วมกับกลยุทธ์พุทธิปัญญาและอภิปัญญา เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเขียนภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนเทศบาลอุโมงค์ ๑ ตำบลอุโมงค์ อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน สังกัดกองการศึกษา เทศบาลตำบลอุโมงค์ จำนวนทั้งสิ้น 36 คน ประกอบด้วย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 จำนวน 18 คน และชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/2 จำนวน 18 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 โรงเรียนเทศบาลอุโมงค์ ๑ ตำบลอุโมงค์ อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน สังกัดกองการศึกษา เทศบาลตำบลอุโมงค์ จำนวน 18 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย 1) แบบวิเคราะห์ข้อมูลการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเขียนวิชาภาษาไทยโดยใช้ทฤษฎีกระบวนการเขียนเชิงปัญญาร่วมกับกลยุทธ์พุทธิปัญญาและอภิปัญญาเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเขียนภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย จำนวน 1 ฉบับ 2) แบบฝึกเสริมทักษะการเขียนภาษาไทย เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเขียนภาษาไทยสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย จำนวน 5 เล่ม 3) แผนการจัดการเรียนรู้รูปแบบการเรียนการสอนเขียนวิชาภาษาไทย โดยใช้ทฤษฎีกระบวนการเขียนเชิงปัญญาร่วมกับกลยุทธ์พุทธิปัญญาและอภิปัญญา เพื่อเสริมสร้างความสามารถ ในการเขียนภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย จำนวน 27 แผน 4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการเรียนการสอนเขียนวิชาภาษาไทย โดยใช้ทฤษฎีกระบวนการเขียนเชิงปัญญาร่วมกับกลยุทธ์พุทธิปัญญาและอภิปัญญา เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเขียนภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย จำนวน 30 ข้อ 5) แบบวัดความสามารถในการเขียนภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย จำนวน 2 ข้อ (20 คะแนน) 6) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการเรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนเขียนวิชาภาษาไทย โดยใช้ทฤษฎีกระบวนการเขียนเชิงปัญญาร่วมกับกลยุทธ์พุทธิปัญญาและอภิปัญญา เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเขียนภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 1 ฉบับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ ค่าประสิทธิภาพ และวิเคราะห์ความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยโดยใช้ t-test (Dependent Samples) ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเขียนวิชาภาษาไทยโดยใช้ทฤษฎีกระบวนการเขียนเชิงปัญญาร่วมกับกลยุทธ์พุทธิปัญญาและอภิปัญญาเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเขียนภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ประกอบด้วยการศึกษา การวิเคราะห์ และการสังเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานจากการประชุมกลุ่มย่อย (Focus Group) สร้างและทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนเขียนวิชาภาษาไทย โดยใช้ทฤษฎีกระบวนการเขียนเชิงปัญญาร่วมกับกลยุทธ์พุทธิปัญญาและอภิปัญญาได้ตามสภาพจริง
2. ผลการสร้างและหาประสิทธิภาพรูปแบบการเรียนการสอนเขียนวิชาภาษาไทยโดยใช้ทฤษฎีกระบวนการเขียนเชิงปัญญาร่วมกับกลยุทธ์พุทธิปัญญาและอภิปัญญาเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเขียนภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยที่พัฒนาขึ้น มีชื่อว่า “PPLPC MODEL” (ดับเบิ้ลพีแอลพีซี โมเดล) ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นที่ 1 ขั้นเตรียมความพร้อม สร้างแรงจูงใจ เร้าความสนใจ (Provide Motivational Anticipatory Step : P) ขั้นที่ 2 ขั้นนำเสนอบทเรียน (Presentation of Learning Task Step : P) ขั้นที่ 3 ขั้นฝึกปฏิบัติ (Learning by Doing Step : L) ขั้นที่ 4 ขั้นนำเสนอและอภิปรายผล (Presentation and Discussion Step : P) ขั้นที่ 5 ขั้นสรุปผลการเรียนรู้ (Conclusion step : C) และมีมีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.10/84.07 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ตั้งไว้ 80/80
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนเขียนวิชาภาษาไทยโดยใช้ทฤษฎีกระบวนการเขียนเชิงปัญญาร่วมกับกลยุทธ์พุทธิปัญญาและอภิปัญญาเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเขียนภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย พบว่า
3.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนเขียนวิชาภาษาไทยโดยใช้ทฤษฎีกระบวนการเขียนเชิงปัญญาร่วมกับกลยุทธ์พุทธิปัญญาและอภิปัญญาเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเขียนภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3.2 ความสามารถในการเขียนภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนเขียนวิชาภาษาไทยโดยใช้ทฤษฎีกระบวนการเขียนเชิงปัญญาร่วมกับกลยุทธ์พุทธิปัญญาและอภิปัญญาเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเขียนภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย หลังเรียน
สูงกว่าก่อนเรียน
4. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีความพึงพอใจต่อรูปแบบการเรียนการสอนเขียนวิชาภาษาไทยโดยใช้ทฤษฎีกระบวนการเขียนเชิงปัญญาร่วมกับกลยุทธ์พุทธิปัญญาและอภิปัญญา เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเขียนภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โดยภาพรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมาก