การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการสู่คุณภาพผู้เรียน
ชื่อผู้วิจัย นายพิทักษ์ เอ็นดู
คำสำคัญ รูปแบบการบริหารงานวิชาการ, คุณภาพผู้เรียน
ปีการศึกษา 2562-2563
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ
1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนเทพศิรินทร์ร่มเกล้า
2) สร้างและใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการสู่คุณภาพผู้เรียน
3) ประเมินผลการใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการสู่คุณภาพผู้เรียน
4) ประเมินความพึงพอใจของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องที่มีต่อรูปแบบการบริหารงานวิชาการสู่คุณภาพผู้เรียน ขั้นตอนการวิจัย แบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนเทพศิรินทร์ร่มเกล้า โดยการศึกษาจากประชากร ได้แก่ ผู้บริหารและครูที่ปฏิบัติงานในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 จำนวนทั้งสิ้น 161 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประเมินค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ขั้นตอนที่ 2 การสร้างและใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการสู่คุณภาพผู้เรียน โดยนำผลจากการศึกษาขั้นตอนที่ 1 มากำหนดกรอบแนวคิดในการสัมภาษณ์ จากกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 7 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง นำผลจากการสัมภาษณ์มาประชุมสนทนากลุ่มกับกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้อำนวยการสถานศึกษาจากภายนอก และครูที่ปฏิบัติงานในภาคเรียนที่ 2
ปีการศึกษา 2562 จำนวนทั้งสิ้น 33 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง รูปแบบที่สร้างขึ้นไปใช้โดยตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อน จำนวน 9 คณะ ขั้นตอนที่ 3 การประเมินผลการใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการสู่คุณภาพผู้เรียน โดยวิเคราะห์ผลการประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน มาตรฐานที่ 1 คุณภาพผู้เรียน ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ผลการทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ผลที่ปรากฏต่อนักเรียนเชิงประจักษ์ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียน ปีการศึกษา 2563 จำนวน 3,232 คน สถิติที่ใช้ คือ ร้อยละ ประเมินความพึงพอใจของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครู นักเรียน และผู้ปกครอง
ปีการศึกษา 2563 จำนวนทั้งสิ้น 801 คน โดยการเทียบจากตารางของเครจซี่และมอรแกน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามประเมินความพึงพอใจแบบมาตราส่วนประเมินคำตอบ 5 ระดับ สถิติที่ใช้ คือ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า
1. ผลการศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาการงานวิชาการของโรงเรียนเทพศิรินทร์ร่มเกล้า มีจุดอ่อนที่ควรนำไปปรับปรุงพัฒนา คือ ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) บางรายวิชายังต่ำกว่าเป้าหมายคุณภาพ ครูบางกลุ่มยังขาดทักษะด้านเทคโนโลยี และขาด
การนำกระบวนการวิจัยไปใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอน ขาดการพัฒนาสื่อนวัตกรรมในการสอน ปัจจัยภายนอกด้านอุปสรรค มีระบบสัญญาณอินเตอร์เน็ตเพื่อเชื่อมต่อกับเทคโนโลยีสารสนเทศ
ไม่เสถียรและรองรับผู้ใช้บริการได้ไม่เพียงพอ ส่วนปัญหาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนภาพรวม
อยู่ในระดับปานกลาง องค์ประกอบที่มีปัญหา 4 อันดับแรก คือ ปัญหาด้านการจัดกระบวนการเรียนรู้ ปัญหาด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ปัญหาด้านวิจัยและพัฒนาการศึกษา และปัญหาด้าน
การพัฒนาสื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยี
2. รูปแบบการบริหารงานวิชาการสู่คุณภาพผู้เรียน ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ผู้นำการบริหารและวิชาการ 2) กระบวนการบริหารงานวิชาการ 3) การทำงานเป็นทีม 4) ขอบข่ายการบริหารงานวิชาการ 5) ระบบดิจิทัลเพื่อการบริหารงานวิชาการ และ 6) นโยบายทางการศึกษา
มีความตรงตามเนื้อหาอยู่ในระดับมาก
3. ผลการประเมินผลการใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการสู่คุณภาพผู้เรียน พบว่า ผลการประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2563 มาตรฐานที่ 1 คุณภาพผู้เรียน มีระดับคุณภาพอยู่ในระดับยอดเยี่ยม ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนและผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน ปีการศึกษา 2563 สูงขึ้นกว่าปีการศึกษา 2562 ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O–NET) ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สูงกว่าสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และภาพรวมทั้งประเทศทุกรายวิชา นักเรียนได้รับรางวัลเป็นที่ประจักษ์ทุกรายการที่เข้าร่วมแข่งขัน
4. ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องที่มีต่อรูปแบบการบริหาร
งานวิชาการสู่คุณภาพผู้เรียน พบว่า มีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
Title The Development of Academic Administration Model towards
the Quality of Debsirinromklao Students
Autor Pitug Eandoo
Keywords Academic Administration Model, Quality of Students
Academic Year 2019 - 2020
Abstract
The purposes of this study were: 1) to investigate current problems that drive academic quality at Debsirinromklao School; 2) to develop academic administration systems to enhance student quality; 3) to assess academic administration systems that enhance student quality; and 4) to assess stakeholders’ attitudes toward academic administration systems to enhance student quality. The research development method is consisted of 3 steps as follow: Step 1 Gathering and analyzing related documents to investigate current problems that drive academic quality. A sample of 161 teacher and director. The research instruments comprised five rating scales satisfaction questionnaires. The data were statistically analyzed with Descriptive statistics: mean, standard Deviation; Step 2 Applying the information learned from step one to indicate interview concept map from 7 different experts to construct academic administration systems to enhance student quality, here, the research instrument is a structured interview from focus group discussion, 33 selective audiences; 3 directors from different school and 30 Debsirinromklao School teachers who analyzed the context to construct academic administration systems. Step 3 Trying out the experiment then conclude and evaluate the results of applying academic administration systems that enhance student quality. Data was analyzed from the reported documents, learning achievement, and students’ desired characteristics. A sample of 3,232 students were included in this study whereas data were collected and analyzed employing percentage. A sample was selected from 801 teachers, student and parent. using Krejcie and Morgan’s table. The research instruments comprised five rating scales satisfaction questionnaires. The data were statistically analyzed with Descriptive statistics: mean, standard Deviation
The results of the research found that
1. The current conditions and problems which drove academic quality at Debsirinromklao School had its internal Whereas, students adhered to school philosophy. On the other hand, learning achievement in the Ordinary National Educational Test (O-NET) was indicated as weakness. Some subjects’ test results were lower than expected goals. Moreover, there were lack suggestive description and academic operation. Also, some teachers rarely applied technology, teaching innovation, or adapted classroom action research to improve teaching and learning outcome in their classrooms. While the external factors in addition, the school also assisted adequate effective technological materials although the internet connection was not stable enough. Whereas, the school’s overall academic administration was evaluated as moderate. The consideration had shown that there were 4 major problems: 1) teaching and learning process; 2) school curriculum; 3) research and development; and 4) technological materials development.
2. There were 6 elements in school’s academic administration Model towards the Quality Students: 1) chief; 2) academic administration; 3) teamwork; 4) academic scope; 5) digital for academic management; and 6) policy for education. and the experts confirmed that the consistent with the content at a high level.
3. The evaluation of academic administration Model had indicated that;.
Academic Year 2020 Standard 1 Quality of learners There is an excellent level of quality. Students achievement and desirable characteristics assessment results of the academic year 2020 were higher than that of the academic year 2019. The results of the Basic National Educational Test (O-NET) of Grade 9 and 12 students, higher than under the Office of the Basic Education Commission and the overall picture of the country in all subjects Students receive outstanding prizes in every competition.
4. The result of satisfaction questionnaires had indicated that teachers, students and parents were satisfy with the academic administration systems with statistical significance at the level of .05.