การพัฒนาบทเรียนสำเร็จรูปเรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง กลุ่มสาระการเรียน
สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ผู้ศึกษา นางสาวมะลิวัลย์ พันธ์พิบูลย์
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
โรงเรียนเทศบาลตำบลตลาดแค
สังกัดกองการศึกษา เทศบาลตำบลตลาดแค อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา
กรมการปกครองส่วนท้องถิ่นกระทรวงมหาดไทย
ปีที่พิมพ์ 2562
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาบทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของบทเรียนสำเร็จรูปเพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยบทเรียนสำเร็จรูปที่พัฒนาขึ้นและเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลองเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนเทศบาลตลาดแค สังกัดกองการศึกษาเทศบาลตำบลตลาดแค อำเภอโนนสูงจังหวัดนครราชสีมา จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่บทเรียนสำเร็จรูป จำนวน 10 เล่ม แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า1)บทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5มีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.70/81.10 เท่ากับเกณฑ์ที่ตั้งไว้2) ดัชนีประสิทธิผลของบทเรียนสำเร็จรูป เท่ากับ 0.6667แสดงว่า หลังการใช้บทเรียนสำเร็จรูป ผู้เรียนมีคะแนนเพิ่มขึ้นร้อยละ 66.673)ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ โดยค่าเฉลี่ยก่อนเรียนเท่ากับ 12.15 คิดเป็นร้อยละ 40.50 และค่าเฉลี่ยหลังเรียนเท่ากับ 24.05คิดเป็นร้อยละ 80.17และ4)ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5ที่มีต่อบทเรียนสำเร็จรูป โดยภาพรวมนักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก
Research Title The Development of Programmed Instruction on Sufficiency Economy Social Studies,Religion and CultureDepartmentfor Prathomsuksa 5 Students
Author Ms. Maliwan Phanphiboon
Position Teacher, academician, special teacher.Talat Khae Municipality School.Under the EducationDivision Talat Khae Subdistrict Municipality. Non Sung District. Nakhon Ratchasima Province. Department of Local Administration, Ministry of Interior.
Year of publication 2019
ABSTRACT
The purpose of this research was to develop programmed Instruction on sufficiency economySocial Studies,Religion and CultureDepartment for Prathomsuksa 5 Students, to be effective on the 80/80 criteria, to study the effectiveness index of programmed Instruction. To compare the learning achievement of Prathomsuksa 5 students before and after learning with the developed programmed Instruction. and to study the satisfaction of Prathomsuksa 5 students. The sample group used in the experiment were Prathomsuksa5/2 students in the first semester of the 2019 academic year at Talat Khae Subdistrict Municipality School. 20 people under Talat Khae Subdistrict Municipality Education Division,Non Sung District, Nakhon Ratchasima Province. Including the programmed Instructionof 10 volumes, an achievement test. and the student satisfaction questionnaire The statistic used to analyze the data was the average percentage. and standard deviation.
The results of the research showed that 1) the programmed Instruction on Sufficiency Economy Social Studies,Religion and CultureDepartment for Prathomsuksa 5 Students efficiency was 82.70/81.11 equal to the set criteria. 2) The effectiveness index of the programmed Instructionwas 0.6667, indicating that after using the programmed Instruction,the students' scores increased by 67.67%. 3) The learning achievement of Prathomsuksa 5 students between before and after school differed significantly at the .01 level according to the hypothesis. The pre-test mean was 12.15 or 40.50% and the post-test mean was 24.05 or 80.17%. and 4) The students' satisfaction. Prathomsuksa 5 Students towards programmed Instruction overall, the students' satisfaction was at a high level.