การพัฒนาหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติมโครงงานคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียน
สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ชื่อผู้วิจัย : นางธิติมา ศรีหมุน ตำแหน่ง ครู วิทยาฐานะชำนาญการพิเศษ
โรงเรียนเทศบาลเมืองเขาสามยอด ๑ สังกัดเทศบาลเมืองเขาสามยอด จังหวัดลพบุรี
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัย คือ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม โครงงานคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2) เพื่อพัฒนาหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม โครงงานคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 3) เพื่อทดลองใช้หลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม โครงงานคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 4) เพื่อประเมินผลและปรับปรุงหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม โครงงานคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เกี่ยวกับผลการเรียนรู้โครงงานคณิตศาสตร์ ความสามารถในการทำโครงงานคณิตศาสตร์ เจตคติทางคณิตศาสตร์ และความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อหลักสูตร โดยทดลองใช้หลักสูตรกับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาลเมืองเขาสามยอด ๑ สังกัดเทศบาล เมืองเขาสามยอด อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี จำนวน 30 คน ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 เป็นเวลา 20 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) หลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติมเรื่องโครงงานคณิตศาสตร์ผลิตภัณฑ์จากท้องถิ่น 2) แบบทดสอบวัดผลการเรียนรู้ 3) แบบประเมินความสามารถในการทำโครงงานคณิตศาสตร์ผลิตภัณฑ์จากท้องถิ่น 4) แบบประเมินเจตคติทางคณิตศาสตร์ 5) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อหลักสูตร การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบค่าทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน (t-test แบบ Dependent) และการิวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัยพบว่า
1. นักเรียนและผู้เกี่ยวข้องเห็นความสำคัญและต้องการให้มีการพัฒนาหลักสูตรเพิ่มเติม โครงงานคณิตศาสตร์ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ในท้องถิ่น คาดหวังให้นักเรียนได้ศึกษาเรื่องราว แหล่งเรียนรู้ในชุมชนของตนเอง โดยมีผู้รู้ในท้องถิ่นร่วมจัดกิจกรรมและประเมินผลการเรียนรู้
2. หลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม มีเป้าหมายให้นักเรียนเข้าใจทฤษฎีพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ที่ใช้ในการทำโครงงานคณิตศาสตร์ ส่งเสริมสมรรถภาพด้านการคิด คุณลักษณะอันพึงประสงค์ และเจตคติทางคณิตศาสตร์ มีสมรรถนะสำคัญด้านการคิด คุณลักษณะอันพึงประสงค์ และเจตคติทางคณิตศาสตร์ เนื้อหาเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาในท้องถิ่น ขั้นตอนการทำโครงงานคณิตศาสตร์ และทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ จัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ หน่วยการเรียนรู้ ได้แก่ 1) ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับโครงงานคณิตศาสตร์ 2) สำรวจข้อมูล 3) ออกแบบการจัดทำโครงงาน 4) ขั้นตอนการทำโครงงาน 5) การเขียนเค้าโครงงาน และ 6) การนำเสนอโครงงานคณิตศาสตร์ หลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติมมีความเหมาะสมและสอดคล้องโดยมีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) อยู่ระหว่าง 0.67-1.00
3. หลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติมโครงงานคณิตศาสตร์ นำไปใช้กับนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาลเมืองเขาสามยอด ๑ จำนวน 30 คน ใช้เวลา 20 ชั่วโมง จัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ โดยครูผู้สอนและผู้รู้ในท้องถิ่น ให้นักเรียนเล่นเกม ดูวีดีทัศน์ สืบค้นข้อมูลจากแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่นแล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์ เพื่อทำโครงงานคณิตศาสตร์ที่สอดคล้องกับบรรจุภัณฑ์ในท้องถิ่น พบว่านักเรียนมีความตั้งใจรับผิดชอบ เอาใจใส่ เพียรพยายาม อดทนและร่วมกันทำโครงงานคณิตศาสตร์
4. นักเรียนมีผลการเรียนรู้โครงงานคณิตศาสตร์ หลังการใช้หลักสูตรสูงกว่าก่อนการใช้หลักสูตรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 มีความสามารถในการทำโครงงานคณิตศาสตร์ อยู่ในระดับดี มีเจตคติทางคณิตศาสตร์อยู่ในระดับปานกลาง มีความพึงพอใจต่อหลักสูตรและเห็นว่าหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม โครงงานคณิตศาสตร์ ทำให้นักเรียนสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปพัฒนาท้องถิ่นของตนเองได้