คู่มือการบริหารจัดการขยะทั่วไปของโรงเรียนบ้านแม่งาวใต้
ความเป็นมา
ในคราวประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2559 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบแผนแม่บทการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของประเทศ (พ.ศ.2559-2564) ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ เพื่อใช้เป็นกรอบและทิศทางในการดำเนินการแก้ไขปัญหาการจัดการขยะมูลฝอยและขยะอันตรายของประเทศ ซึ่งมีสาระสำคัญให้เกิดการจัดการขยะมูลฝอยอย่างครบวงจร โดยการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม มุ่งสู่การแก้ไขปัญหาขยะอย่างยั่งยืนลดผลกระทบปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีวิธีการที่สำคัญได้แก่ การลดการเกิดขยะมูลฝอยหรือขยะอันตรายที่แหล่งกำเนิด การนำขยะมูลฝอยกลับมาใช้ซ้ำและใช้ประโยชน์ใหม่ การเก็บขนขยะมูลฝอยที่มีประสิทธิภาพ การกำจัดขยะมูลฝอยด้วยวิธีการที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ การส่งเสริมภาคเอกชนให้เข้ามามีส่วนร่วมในการแปรรูปขยะมูลฝอยเป็นพลังงานหรือเชื้อเพลิง ในแผนยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี (พ.ศ.2561-2580) ได้กำหนดวิสัยทัศน์ “ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” โยในมิติ “ความยั่งยืน” ได้ระบุถึงการพัฒนาที่สามารถสร้างความเจริญรายได้และคุณภาพชีวิตของประชาชนให้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจที่ไม่ใช้ทรัพยากรธรรมชาติเกินพอดี ไม่สร้างมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อมจนเกินความสามารถในการรองรับและเยียวยาของระบบนิเวศน์ การผลิตและการบริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและสอดคล้องกับกฎระเบียบของประชาคมโลกซึ่งเป็นที่ยอมรับร่วมกัน (กระทรวงมหาดไทย, 2563 : 2)
ปัจจุบันในพื้นที่ที่มีการขยายตัวของชุมชนและมีจำนวนประชากรเพิ่มมากขึ้น ปริมาณขยะมูลฝอยก็มากขึ้นเป็นเงาตามตัว จากการที่ขยะมูลฝอยมีปริมาณเพิ่มมากขึ้น และการจัดเก็บขยะมูลฝอยไม่สามารถรับกับปริมาณขยะมูลฝอยที่ตกค้าง ทำให้ขยะมูลฝอยเป็นปัญหาที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งสภาพภูมิทัศน์ (ดินเสีย และน้ำเสีย) และสุขภาพอนามัยของประชากรในโรงเรียน การจัดการขยะจึงเป็นปัญหาสำคัญอย่างหนึ่งที่ต้องการแก้ไข จากปัญหาของขยะมูลฝอยที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และสุขภาพอนามัยของประชากรโดยตรงทั้งในชุมชนและโรงเรียน ทำให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องมีความตระหนักในการบริหารจัดการขยะมูลฝอย โดยอาศัยความร่วมมือของหน่วยงานราชการในการจัดการขยะมูลฝอย และการปลูกฝังจิตสำนึกในการมีส่วนร่วมของโรงเรียนและชุมชน โดยการเปิดโอกาสให้นักเรียนเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินการจัดการขยะ เพื่อให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้และเกิดจิตสำนึกที่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการจัดการขยะมูลฝอยในโรงเรียนและชุมชน โดยเริ่มจากการให้นักเรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับการจัดการขยะมูลฝอยอย่างเป็นระบบ เพื่อรองรับปัญหาขยะมูลฝอยที่เพิ่มมากขึ้นทุกวัน แต่การจัดการขยะมูลฝอยที่ครบวงจรมีต้นทุนสูงมาก ดังนั้น นักเรียนจึงควรมีความตระหนักในการลดปริมาณขยะมูลฝอยมากกว่าการพึ่งพาการกำจัดขยะมูลฝอย ด้วยการปลูกฝังจิตสำนึกให้กับนักเรียนเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการขยะมูลฝอย โดยการคัดแยกขยะในแต่ละประเภท การทำความสะอาดขยะให้สะอาดก่อนนำมาประดิษฐ์ การนำขยะเปียกมาทำปุ๋ยหมักชีวภาพ ลดปริมาณการใช้บรรจุภัณฑ์ การเลือกใช้วัสดุที่ย่อยสลายง่าย และการทิ้งขยะให้ถูกที่ เป็นต้น โรงเรียนจึงต้องมีการสร้างข้อตกลงในการบริหารจัดการขยะมูลฝอย ให้เป็นแนวทางเดียวกัน
และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานก็ได้ให้ความสำคัญในด้านปัญหาขยะมูลฝอยที่เป็นมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม จึงได้ดำเนินโครงการสร้างจิตสำนึกความรู้ในการผลิตและบริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (สพฐ) กิจกรรมย่อยโรงเรียนปลอดขยะ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (OBEC Zero Waste School) เพื่อให้โรงเรียนในสังกัดจัดทำรายงานวิจัยในประเด็นของการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564
ในส่วนการดำเนินการเกี่ยวกับการจัดการขยะทั่วไป/ขยะมูลฝอย สามารดำเนินการได้จากหลักการจัดการขยะ โดยอาศัยหลัก 5 R คือ1) Reduce การลดปริมาณขยะ โดยลดการใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีบรรจุภัณฑ์สิ้นเปลือง 2) Reuse การนำมาใช้ซ้ำ เช่น ขวดแก้ว กล่องกระดาษ กระดาษพิมพ์หน้าหลัง 3) Repair การซ่อมแซมแก้ไขสิ่งของต่างๆ ให้สามารถใช้งานต่อได้ 4) Reject การหลีกเลี่ยงใช้สิ่งที่ก่อให้เกิดมลพิษ 5) Recycle การแปรสภาพและหมุนเวียนนำกลับมาใช้ได้ใหม่ โดยนำไปผ่านกระบวนการผลิตใหม่อีกครั้ง ซึ่งก่อนจะดำเนินการตามหลัก 5 R ได้นั้น ต้องมีการคัดแยกขยะ เพื่อลดขยะที่ต้องนำไปกำจัดจริงๆ ให้เหลือน้อยที่สุดก่อนที่จะทิ้งเพื่อความสะดวกในการจัดการตามหลัก 5 R ดังนั้นต้องสร้างจิตสำนึก สร้างความตระหนักในการคัดแยกขยะ เช่น การให้ความรู้เกี่ยวกับขยะแต่ละประเภทเป็นอย่างไร เป็นขยะที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อได้หรือไม่ และต้องมีการบริหารจัดการจุดที่ทิ้งขยะ มีถังขยะที่แยกขยะแต่ละประเภทเพื่อความสะดวกในการทิ้งด้วย
ปัจจุบันโรงเรียนบ้านxxxาวใต้ ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 7 หมู่บ้าน xxxาวใต้ ตำบลบ้านร้อง อำเภองาว จังหวัดลำปาง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปางเขต 1 กำลังประสบปัญหาขยะทั่วไป/ขยะมูลฝอยมีจำนวนมาก ยากแก่การกำจัด และไม่มีการคัดแยกขยะ อาจก่อให้เกิดขยะมูลฝอยที่มีมลพิษต่อสุขภาพ เป็นมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม ก่อให้เกิดภาวะโลกร้อน อีกทั้งครู นักเรียน และบุคลากร ยังมีส่วนร่วมในการช่วยแก้ปัญหาขยะทั่วไป/ขยะมูลฝอย อยู่เป็นส่วนน้อย
ด้วยเหตุผลดังที่กล่าวมาข้างต้น จึงทำให้โรงเรียนบ้านxxxาวใต้จึงได้จัดทำคู่มือการบริหารจัดการขยะทั่วไปของโรงเรียนบ้านxxxาวใต้ โดยใช้หลักการบริหารแบบมีส่วนร่วม 5 ร เพื่อแก้ไขปัญหาในการจัดการขยะทั่วไป/ขยะมูลฝอยในโรงเรียนบ้านxxxาวใต้ โดยการเลือกใช้หลักการบริหารแบบมีส่วนร่วม 5 ร เพื่อประโยชน์ในการลดปริมาณขยะทั่วไป/ขยะมูลฝอยของโรงเรียนอย่างสร้างสรรค์ ที่ไม่ทำให้ขยะมูลฝอยมีมลพิษต่อสุขภาพ สิ่งแวดล้อม และลดภาวะโลกร้อน ภายใต้แนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามพระราชดำริ และมุ่งสร้างสังคมน่าอยู่ โดยมีการคัดแยกขยะในโรงเรียน และนำมาดำเนินการจัดกิจกรรมต่างๆ ได้แก่ กิจกรรมเปลี่ยนขยะเป็นเงิน กิจกรรมกล่องนมมีค่าอย่าทิ้ง และกิจกรรมประดิษฐ์ของเล่น ของใช้จากเศษวัสดุ เพื่อสร้างจิตสำนึกและสร้างความตระหนักในการเห็นคุณค่าของขยะและประโยชน์ ของการคัดแยกขยะ ส่งผลให้คณะครูและนักเรียนโรงเรียนบ้านxxxาวใต้ มีความรู้ความเข้าใจในการบริหารจัดการขยะทั่วไป มีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาขยะทั่วไปภายในโรงเรียนและสามารถนำความรู้ไปปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อไป
การบริหารจัดการขยะทั่วไป
ส่วนที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับขยะ
1.1 ขยะมูลฝอยคืออะไร
คำว่า ขยะมูลฝอย หากจะกล่าวถึงคำๆ นี้ ทุกคนคงคิดถึงของเสีย สิ่งปฏิxxxล สิ่งที่เป็นปัญหาที่ควรนำไปกำจัดทิ้ง แต่ถึงจะกล่าวว่าเป็นสิ่งที่ควรกำจัดทิ้งก็ใช่ว่าทุกคนที่สร้างขยะจะมีส่วนร่วมในการจัดการกับขยะที่แต่ละคนได้ก่อขึ้น เพราะคนส่วนใหญ่ต่างมองว่าเป็นหน้าที่ของหน่วยงานภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีหน้าที่ในการเก็บรวบรวม ขนส่ง และนำไปกำจัด แต่ในหลักความเป็นจริง การจัดการขยะมูลฝอยควรจะเป็นหน้าที่ของทุกคนที่เป็นผู้ก่อขยะมูลฝอยเหล่านี้ ดังนั้นหากต้องการให้ปัญหาของขยะมูลฝอยสามารถจัดการได้ง่ายขึ้นก็ควรอาศัยความร่วมมือของพวกเราทุกๆ คน โดยก่อนที่จะทราบถึงวิธีที่จะจัดการกับขยะมูลฝอยนั้น ก็ควรที่จะทราบถึงความหมายของคำว่า ขยะมูลฝอย กันก่อน
ขยะหรือมูลฝอย (Solid waste)*
คือ เศษกระดาษ เศษผ้า เศษอาหาร เศษสินค้า เศษวัตถุ ถุงพลาสติก ภาชนะที่ใส่อาหาร เถ้า มูลสัตว์ ซากสัตว์หรือสิ่งอื่นใดที่เก็บกวาดจากถนน ตลาด ที่เลี้ยงสัตว์หรือที่อื่น และหมายความรวมถึงมูลฝอยติดเชื้อ มูลฝอยที่เป็นพิษ หรืออันตรายจากชุมชนหรือครัวเรือน ยกเว้นวัสดุที่ไม่ใช้แล้วของโรงงานซึ่งมีลักษณะและคุณสมบัติที่กำหนดไว้ตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน
1.2 สาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาขยะในโรงเรียน
1) กิจกรรมต่างๆ ในโรงเรียนส่งผลให้เกิดสิ่งของที่ไม่ต้องการใช้และขยะในโรงเรียนสาเหตุเนื่องมาจากการขาดความสำนึก การผลิตหรือใช้สิ่งของมากเกินความจำเป็น การทิ้งขยะมูลฝอยไม่ถูกที่ การทิ้งขยะมูลฝอยโดยไม่แยกประเภทขยะมูลฝอย ซึ่งสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดปัญหาขยะในโรงเรียน ดังนี้
1.1 ความมักง่ายและขาดความสำนึกถึงผลเสียที่จะเกิดขึ้นเป็นสาเหตุที่พบบ่อยมากซึ่งจะเห็นได้จากการทิ้งขยะลงตามพื้น หรือแหล่งน้ำโดยไม่ทิ้งลงในถังรองรับที่จัดไว้ให้และโรงงานอุตสาหกรรมบางแห่งลักลอบนำสิ่งปฏิxxxลไปทิ้งตามที่ว่างเปล่า
1.2 การผลิตหรือใช้สิ่งของมากเกินความจำเป็น เช่น การผลิตสินค้าที่มีกระดาษหรือพลาสติกหุ้มหลายๆชั้น และการซื้อสิ้นค้าโดยห่อแยกหรือใส่ถุงพลาสติกหลายถุง ทำให้มีขยะปริมาณมาก
1.3 การเก็บและทำลาย หรือนำขยะไปใช้ประโยชน์ไม่มีประสิทธิภาพ จึงมีขยะตกค้าง กองหมักหมมและส่งกลิ่นเหม็นไปทั่วบริเวณจนก่อปัญหามลพิษให้กับสิ่งแวดล้อม
2) ปริมาณขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นในแต่ละวันมีมากกว่าความสามารถที่จะจัดเก็บ และขยะมูลฝอยที่เก็บได้ ก็จะนำไปกองไว้กลางแจ้ง ให้ย่อยสลายตามธรรมชาติ ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมมีขยะมูลฝอยเพียงส่วนน้อยที่ถูกนำไปกำจัดอย่างถูกหลักสุขาภิบาล โดยการถมที่ลุ่มนำไปทำปุ๋ยหมัก และเผาในเตาเผาขยะ ส่วนขยะที่ตกค้างไม่สามารถจัดเก็บได้ยังก่อให้เกิดความสกปรกและส่งกลิ่นเหม็น
2.2 การทิ้งขยะมูลฝอยไม่ถูกที่ คือ ไม่ทิ้งขยะมูลฝอยลงในภาชนะที่จัดเตรียมไว้รองรับขยะ แต่ทิ้งตามความสะดวก เช่น ตามถนนหนทาง ห้องเรียน หรือสนามเด็กเล่น เป็นต้น ซึ่งก่อให้เกิดความสกปรกของสถานที่นั้นๆ ทำให้ท่อระบายน้ำอุดตัน
2.3 การทิ้งขยะมูลฝอยโดยไม่แยกประเภทขยะมูลฝอย เช่น เศษอาหาร เศษกระดาษ ขยะมูลฝอยที่ย่อยสลายยาก โฟม ถุงพลาสติก โลหะ หรือขยะมูลฝอยที่เป็นอันตราย เช่น ของมีคม เศษแก้ว และขยะมูลฝอยติดเชื้อมาทิ้งรวมกัน ทำให้เกิดปัญหาในการแยกขยะมูลฝอย และการทำลาย
1.3 ผลกระทบที่เกิดจากขยะในโรงเรียน
1. ผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายโดยตรง ทำให้เกิดการเจ็บป่วย เกิดโรคทางเดินหายใจ โรคภูมิแพ้ทางด้านผิวหนังโพรงจมูก และตา โรคระบบทางเดินอาหาร โรคทางระบบประสาทและกล้ามเนื้อเช่น ปวดศีรษะ คลื่นไส้
2. ผลกระทบต่อสุขภาพทางอ้อม ขยะเป็นแหล่งสะสมเพาะพันธุ์ของสัตว์และพาหะนำโรคดังนี้ แมลงวันเป็นพาหะนำโรคระบบทางเดินอาหาร อหิวาตกโรค บิด ไทฟอยด์ นอกจากนี้แมลงวัน ยังเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของไข่หนอนพยาธิ และเชื้อโปรโตซัว สัตว์กัดแทะ เช่น หนูเป็นพาหะนำโรคสู่คน เช่น โรคฉี่หนู หรือโรคเลปโตสไปโรซิส นอกจากนี้หนูยังเป็นแหล่งอาศัยของปรสิตภายนอกร่างกาย เช่น หมัด ไร โลน เหา และสามารถแพร่สู่คนได้
3. ผลกระทบต่อจิตใจ เช่น เกิดความรำคาญ ความเครียด จากความสกปรก ฝุ่นละอองต่างๆ และขาดสมาธิ
4. ผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม ทำให้เกิดมลพิษของน้ำ มลพิษของดิน และมลพิษของอากาศ เนื่องจากขยะส่วนที่ขาดการเก็บรวบรวม หรือไม่นำมากำจัดให้ถูกวิธี ปล่อยทิ้งค้างไว้ เมื่อมีฝนตกลงมาจะไหลชะนำความสกปรก เชื้อโรค สารพิษจากขยะไหลลงสู่แหล่งน้ำ ทำให้แหล่งน้ำเน่าเสีย และนอกจากนี้ขยะยังส่งผลกระทบต่อคุณภาพดิน โดยเฉพาะขยะอันตราย เช่น ถ่านไฟฉาย ซากแบตเตอรี่ หลอดฟลูออเรสเซนต์ ซึ่งมีปริมาณโลหะหนักประเภทปรอท แคดเมียม ตะกั่ว จำนวนมาก สารอินทรีย์ในขยะเมื่อมีการย่อยสลาย จะทำให้เกิดสภาพความเป็นกรดในดิน เมื่อฝนตกชะกองขยะจะทำให้น้ำเสียจากกองขยะไหลปนเปื้อนดินทำให้เกิดมลพิษของดิน ถ้ามีการเผาขยะกลางแจ้งจะเกิดควันที่มีสารพิษทำให้คุณภาพของอากาศเสีย ส่วนมลพิษทางอากาศจากขยะอาจเกิดขึ้นได้ทั้งจากมลสารที่มีอยู่ในขยะและแก๊สหรือไอระเหยที่มีกลิ่นเหม็นจากการเน่าเปื่อยและสลายตัวของอินทรีย์สาร
5. ทำให้เสียภาพลักษณ์ของโรงเรียน การจัดการขยะที่ดี มีความเป็นระเบียบเรียบร้อยย่อมแสดงถึงความเจริญและวัฒนธรรมของโรงเรียน หากการจัดการขยะไม่ดีย่อมก่อให้เกิดความไม่น่าดูขาดความสวยงาม สกปรก และไม่เป็นระเบียบ ส่งผลกระทบต่อภาพรวมของโรงเรียน
1.4 นโยบายส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการขยะของ สพฐ. สู่โรงเรียนปลอดขยะ
นโยบายรัฐบาลและแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560 - 2564) ได้กำหนดให้การบูรณาการเชิงยุทธศาสตร์ ประเด็นการบริหารจัดการขยะและสิ่งแวดล้อมจึงได้มีการบูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านการบริหารจัดการขยะ โดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษา ขั้นพื้นฐานเป็นหน่วยงานหลักที่เกี่ยวข้องในการสร้างพลเมืองที่มีคุณภาพในการให้ความรู้ สร้างเจตคติ นำไปสู่การมีความตระหนักและมีจิตสำนึกที่ดีในด้านการจัดการขยะ โดยมุ่งเน้นการสร้างจิตสำนึกที่สำคัญใน 2 ประเด็นหลัก คือ การสร้างจิตสำนึกลดปริมาณขยะ ให้เหลือเฉลี่ย 1 กิโลกรัมต่อคนต่อวันและการใช้ประโยชน์จากขยะ สร้างจิตสำนึกและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม โดยส่งเสริมสนับสนุนให้สำนักงานเขตพื้นที่ สำนักงานคณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด และสถานศึกษาดำเนินการ ตามแนวทางดังนี้
1) การดำเนินการตามแนวทางการจัดการขยะ Zero Waste school ซึ่งเป็นปรัชญาที่ส่งเสริม การหมุนเวียนทรัพยากรกลับมาใช้ใหม่ เพื่อเป็นการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นการลดปริมาณของเสียที่เกิดขึ้นให้น้อยที่สุด โดยใช้หลักการของ 3 Rs (Reduce, Reuse, Recycle) รวมทั้งการออกแบบผลิตภัณฑ์ให้สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้เกือบทั้งหมด เพื่อเป็นการลดปริมาณของเสียที่ส่งไปกำจัดโดยวิธีการฝังกลบและเตาเผาทำลายให้มีปริมาณน้อยที่สุด
ที่มา: Zero Waste แนวทางการลดขยะให้เหลือศูนย์
การลดปริมาณขยะรูปแบบของ 3 Rs ในสถานศึกษามีดังนี้
1. กำหนดนโยบายด้านการจัดการขยะตามรูปแบบของโรงเรียน ZERO WASTE
2. ส่งเสริมการจัดกิจกรรมการคัดแยก ขยะ4 ประเภท ได้ขยะทั่วไป ขยะย่อย สลาย ขยะรีไซเคิล และขยะอันตราย
3. ส่งเสริมกิจกรรม 1A3R ลดขยะในสถานศึกษา 1A3R คือ กลยุทธ์ในการจัดการกับขยะมูลฝอยที่เริ่มต้นที่จะมีขยะเกิดขึ้น ประกอบด้วยขั้นตอนตั้งแต่การงด - เลิก ลด ใช้ซ้ำและหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่เป็นหลักการแก้ปัญหาขยะแบบประหยัด ที่ไม่ต้องอาศัยงบประมาณทางราชการใดๆ แต่ต้องอาศัยความตั้งใจ เสียสละเวลา รวมทั้งงบประมาณส่วนตัว โดยมีความหมาย ดังนี้
3.1 Avoid หรืองด – เลิก เป็นการงดหรือเลิกการบริโภคที่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภคโดยตรงการบริโภคที่เป็นอันตรายต่อผู้อื่นและต่อระบบนิเวศ โดยจะต้องงดหรือเลิกบริโภค
3.1.1 ผลิตภัณฑ์ที่ใช้แล้วทิ้งเลย
3.1.2 ผลิตภัณฑ์ที่เป็นอันตรายต่อผู้ใช้และระบบนิเวศ
3.1.3 ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากสัตว์ป่าหรือชิ้นส่วนของสัตว์ป่าทุกชนิด
3.1.4 กิจกรรมที่ทำให้เกิดอันตรายต่อชีวิตมนุษย์และสภาพแวดล้อม
3.2 Reduce หรือลดการบริโภคที่จะทำให้เกิดการร่อยหรอของทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด ทรัพยากรที่ใช้แล้วหมดไป รวมทั้งทรัพยากรที่ทดแทนใหม่ได้บางชนิดก็ต้องลดการใช้เนื่องจากทำให้เกิดการเสียสมดุลของระบบนิเวศ โดยการลดการใช้ทรัพยากร ดังนี้
3.2.1 ทรัพยากรที่ใช้แล้วหมดไป
3.2.2 ทรัพยากรที่ทดแทนใหม่ได้
3.2.3 ผลิตภัณฑ์ที่เมื่อนำมาใช้ จะทำให้เกิดความเสียหายต่อระบบนิเวศ
3.2.4 ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากขบวนการผลิตที่ต้องใช้พลังงานมาก
3.3 Reuse หรือใช้ซ้ำ - ใช้แล้วใช้อีกเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของการบริโภคอย่างเหมาะสมเพื่อลดการร่อยหรอของทรัพยากรที่มีอยู่ และลดการปล่อยมลพิษสู่สภาพแวดล้อม โดยการนำผลิตภัณฑ์และทรัพยากรกลับมาใช้ใหม่ในลักษณะที่เหมือนเดิม ไม่มีการเปลี่ยนรูปทรงด้วยการหลอม บด แยกใดๆ เพื่อหลีกเลี่ยงการสูญเสียพลังงาน เช่น
3.3.1 เสื้อผ้าทุกชนิด
3.3.2 ภาชนะบรรจุที่ทำด้วยแก้วทุกชนิด
3.3.3 ภาชนะบรรจุอื่นๆ เช่น ลังกระดาษ ลังพลาสติก ฯลฯ
3.3.4 กระดาษ
3.4 Recycle หรือหมุนเวียนกลับมาใหม่ผลิตภัณฑ์บางชนิดแม้จะมีความคงทนแต่กลับมีอายุการใช้งานสั้น มีปริมาณการใช้มากทำให้หมดเปลืองทรัพยากรและพลังงานอย่างรวดเร็ว จึงควรใช้ผลิตภัณฑ์หรือบรรจุภัณฑ์ประเภทนี้อย่างระมัดระวังและให้เกิดประโยชน์คุ้มค่ามากที่สุดเพื่อลดปริมาณของเสียที่จะถ่ายเทสู่สภาพแวดล้อม และเมื่อเลิกใช้แล้วควรจะจัดการเพื่อนำเอาทรัพยากรที่ครั้งหนึ่งถูกแปรเปลี่ยนเป็นผลิตภัณฑ์ดังกล่าว หมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่ ซึ่งจะต้องผ่านกระบวนการหลอมละลาย บด อัด ฯลฯ ผลิตภัณฑ์ที่สามารถนำมาหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่ได้ มีดังนี้
3.4.1 แก้ว ได้แก่ ขวดแก้วต่างๆ ทั้งที่มีสีใส สีน้ำตาลและสีเขียว
3.4.2 กระดาษ ได้แก่ กระดาษหนังสือพิมพ์ กล่องกระดาษ ถุงกระดาษ สมุด กระดาษสำนักงาน หนังสือต่างๆ
3.4.3 โลหะ ได้แก่ วัสดุหรือเศษเหล็กทุกชนิด กระป๋องอลูมิเนียม ทองแดง ทองเหลือง
3.4.4 พลาสติก ได้แก่ ขวดน้ำพลาสติกใส ขวดน้ำพลาสติกสีขาวขุ่น ถุงพลาสติกเหนียวภาชนะพลาสติกต่างๆ (กะละมัง ถังน้ำ ขวดแชมพู) รวมถึงบรรจุภัณฑ์ที่มีสัญลักษณ์รีไซเคิล
จัดการเรียนการสอนเพื่อสร้างความรู้พื้นฐานไปสู่กระบวนการสิ่งแวดล้อม และกระบวนการวิทยาศาสตร์ควบคู่กันไปเพื่อสร้างจิตสำนึกสิ่งแวดล้อม โดยมีขั้นตอนในการสอดแทรก 5 ขั้น เพื่อให้ให้ผู้เรียนเกิดความรู้ เจตคติ ความสำนึก การตอบโต้ และทักษะทางสิ่งแวดล้อมที่ถูกต้อง ดังนี้
1. ความรู้ (Knowledge) ทางสิ่งแวดล้อมนั้นต้องเป็นความรู้ในแนวกว้าง ซึ่งเป็นฐานสำคัญของจิตสำนึกทางสิ่งแวดล้อม หมายความว่า รู้หลายสาขาหรือเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความรู้ เฉพาะทางสิ่งแวดล้อมนั้นๆ นอกจากนี้การรู้จักผสมผสาน (Integration) ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่สำคัญเช่นกันที่จะก่อให้เกิดความรู้ทางสิ่งแวดล้อมในแนวกว้าง ซึ่งหมายถึงการที่ความรู้เฉพาะด้านนั้นมีการเชื่อมโยงกับความรู้ทางด้านอื่นๆ ในลักษณะและทิศทางอันเป็นสิ่งสำคัญของจิตสำนึกที่ต้องปลูกฝัง ทั้งนี้เพื่อจะเป็นความรู้อย่างมีเหตุผล สามารถสร้างมโนภาพที่เป็นธรรมชาติของสิ่งนั้น ปัญหาและเหตุของปัญหาแนวทางแก้ไข แผนการแก้ไขและอื่นๆได้
2. เจตคติ (Attitudes) เป็นระดับความเข้มข้นของเนื้อหาสาระของจิตสำนึกทางสิ่งแวดล้อม ต่อจากความรู้ หมายความว่า ต้องมีความรู้อย่างถูกต้องตามหลักการ คือ รู้กว้างและรู้การผสมผสาน ซึ่งต้องมีการได้เห็น หรือสัมผัสของจริง และร่วมกิจกรรมกับกิจกรรมเสริมที่ผู้บริหารวางแผนไว้โดยเชื่อว่าการได้เห็นความเป็นจริง ปรากฏการณ์ พฤติกรรมในสิ่งเหล่านั้น รวมทั้งได้มีการร่วมกิจกรรมก็สามารถ มีเจตคติที่ถูกต้องและมั่นคงตลอดไป
3. ความสำนึก (Awareness) เป็นระดับความเข้มข้นของเนื้อหาสาระในระดับที่สามของการสร้างจิตสำนึกทางสิ่งแวดล้อมโดยการกำหนดกระบวนรายวิชา รายละเอียดรายวิชาให้มีเนื้อหาถึงขั้นละเอียด ผู้เรียนจะมีความรู้อย่างลึกซึ้ง เข้าใจอย่างฝังแน่น อีกทั้งต้องสร้างบทปฏิบัติการ อาจทดลองในห้องปฏิบัติการ ทดลองในพื้นที่จริง ทำกิจกรรมร่วม เขียนรายงานบทปฏิบัติการ ทำรายงาน เสนอผลงานต่อหน้ากลุ่มผู้เรียน เป็นต้น
4. การตอบโต้ (Sensitivity) ในทางสิ่งแวดล้อม หมายความว่า เมื่อเกิดเหตุการณ์ใด หรือสิ่งใดบังเกิดขึ้น ประสาทหรือความรู้ที่ได้สะสมไว้จะมีการตอบโต้โดยอัตโนมัติ แต่ถ้าไม่มีการตอบโต้เลย หมายถึงว่า การสร้างความสำนึกหรือจิตสำนึกยังไม่อยู่ในเกณฑ์ที่ใช้ได้ วิธีการสร้างให้เกิดอาการตอบโต้ หรือเกิดความรู้สึกก็คือ การสร้างพัฒนาการโดยการฝึกหัดทำ หรือฝึกให้ทำ อาจเป็นการบังคับจากกฎหมาย การให้ความรู้ ฝึกโดยการสมัครใจและเต็มใจรับการฝึกหัด
5. ทักษะ (Skills) เป็นระดับสูงสุดในเนื้อหาสาระของการสร้างจิตสำนึกทางสิ่งแวดล้อมเป็นระดับ ที่สร้างทักษะการทำได้อย่างถูกต้องและชำนาญการ วิธีการสร้างทักษะที่มีประสิทธิภาพ คือการฝึกทำ ฝึกหัดทำ ฝึกการเขียน ฝึกบรรยาย ฝึกการเสนอผลงานฝึกสอน และฝึกเป็นผู้ดำเนินการในเฉพาะเรื่องนั้นๆ ตามเวลาที่เหมาะสม การทดสอบปริมาณและคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิก็สามารถทราบได้
ส่วนที่ 2 การบริหารจัดการขยะทั่วไปในโรงเรียน
2.1 วิธีการคัดแยกขยะทั่วไป
ท่านทราบหรือไม่ว่า ในปี 2550 มีปริมาณขยะมูลฝอยเกิดขึ้นในประเทศไทยสูงถึงประมาณ 14.72 ล้านตันหรือประมาณ 40,332 ตันต่อวัน* แต่มีการคัดแยกและนำขยะมูลฝอยกลับมาใช้ใหม่ โดยการนำไปใช้ซ้ำ ขายให้ซาเล้ง ร้านรับซื้อของเก่า เพื่อส่งไปแปรรูปยังโรงงานต่างๆ ประมาณ 3.25 ล้านตัน หรือประมาณร้อยละ 22 เท่านั้น ซึ่งนับว่าเป็นปริมาณที่น้อยมากเมื่อเทียบกับปริมาณขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้น
ที่มา : กรมควบคุมมลพิษ. รายงานสถานการณ์มลพิษของประเทศไทยปี 2550. กรุงเทพมหานคร: 2551.
มาจาก :https://www.saikhao.go.th/detail.php?id=754
2.2 แนวทางการลด คัดแยก และนำขยะมูลฝอยกลับมาใช้ใหม่ (3Rs)
1. ลดการใช้ (Reduce)
ปฏิเสธหรือหลีกเลี่ยงสิ่งของหรือบรรจุภัณฑ์ที่จะสร้างปัญหาขยะ (Refuse)
1.1 ปฏิเสธการใช้บรรจุภัณฑ์ฟุ่มเฟือย รวมทั้งขยะที่เป็นมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม อาทิเช่น กล่องโฟม ถุงพลาสติก หรือขยะมีพิษอื่น ๆ
1.2 หลีกเลี่ยงการเลือกซื้อสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ที่ใช้บรรจุภัณฑ์ห่อหุ้มหลายชั้น
1.3 หลีกเลี่ยงการเลือกซื้อสินค้าชนิดใช้ครั้งเดียว หรือผลิตภัณฑ์ที่มีอายุการใช้งานต่ำ
1.4 ไม่สนับสนุนร้านค้าที่กักเก็บและจำหน่วยสินค้าที่ใช้บรรจุภัณฑ์ฟุ่มเฟือย และไม่มีระบบเรียกคืนบรรจุภัณฑ์ใช้แล้ว
1.5 กรณีการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ประจำบ้านที่ใช้เป็นประจำ เช่น สบู่ ผงซักฟอก น้ำยาล้างจาน ให้เลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่มีขนาดบรรจุใหญ่กว่า เนื่องจากใช้บรรจุภัณฑ์น้อยกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับหน่วยน้ำหนักของผลิตภัณฑ์
1.6 ลดหรืองดการบริโภคที่ฟุ่มเฟือย โดยเลือกใช้สินค้าหรือผลิตภัณฑ์ให้เหมาะสมกับความต้องการ
2. ใช้ซ้ำ (Reuse)
ใช้ซ้ำ เป็นหนึ่งในแนวทางการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรที่มีอยู่อย่างรู้คุณค่า การใช้ซ้ำเป็นการที่เรานำสิ่งต่างๆ ที่ใช้งานไปแล้ว และยังสามารถใช้งานได้ กลับมาใช้อีก เป็นการลดการใช้ทรัพยากรใหม่ รวมทั้งเป็นการลดปริมาณขยะที่จะเกิดขึ้นอีกด้วย ตัวอย่างของการใช้ซ้ำ ก็เช่น
2.1 เลือกซื้อหรือใช้ผลิตภัณฑ์ที่ออกแบบมาให้ใช้ได้มากกว่า 1 ครั้ง เช่น แบตเตอรี่ชาร์ตใหม่ได้
2.2 ซ่อมแซมเครื่องใช้ และอุปกรณ์ต่างๆ (Repair) ให้สามารถใช้ประโยชน์ต่อไปได้อีก
2.3 บำรุงรักษาเครื่องใช้ อุปกรณ์ต่างๆ ให้สามารถใช้งานได้คงทนและยาวนานขึ้น
2.4 นำบรรจุภัณฑ์และวัสดุเหลือใช้อื่นๆ กลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ เช่น การใช้ซ้ำถุงพลาสติก ถุงผ้า ถุงกระดาษ และกล่องกระดาษ การใช้ซ้ำขวดน้ำดื่ม เหยือกนม และกล่องใส่ขนม
2.5 ยืม เช่า หรือใช้สิ่งของหรือผลิตภัณฑ์ที่ใช้บ่อยครั้งร่วมกัน เช่น หนังสือพิมพ์ วารสาร
2.6 บริจาคหรือขายสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ เช่น หนังสือ เสื้อผ้า เฟอร์นิเจอร์ อื่นๆ
2.7 นำสิ่งของมาดัดแปลงให้ใช้ประโยชน์ได้อีก เช่น การนำยางรถยนต์มาทำเก้าอี้ การนำขวดพลาสติกมาดัดแปลงเป็นที่ใส่ของ แจกัน การนำเศษผ้ามาทำเปลนอน เป็นต้น
2.8 ใช้ซ้ำวัสดุสำนักงาน เช่น การใช้กระดาษทั้งสองหน้า เป็นต้น
3. รีไซเคิล (Recycle)
รีไซเคิลเป็นการนำวัสดุต่างๆ อย่างเช่น กระดาษ แก้ว พลาสติก เหล็ก อะลูมิเนียม ฯลฯ มาแปรรูปโดยกรรมวิธีต่างๆ เพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ ซึ่งนอกจากจะเป็นการลดปริมาณขยะมูลฝอยแล้ว ยังเป็นการลดการใช้พลังงานและลดมลพิษที่เกิดกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งเราสามารถทำได้โดย
3.1 คัดแยกขยะรีไซเคิลแต่ละประเภท ได้แก่ แก้ว กระดาษ พลาสติก โลหะ/อโลหะ เพื่อให้ง่ายต่อการนำไปรีไซเคิล
3.2 นำไปขาย/บริจาค/นำเข้าธนาคารขยะ/กิจกรรมขยะแลกไข่ เพื่อเข้าสู่วงจรของการนำกลับไปรีไซเคิล
2.3 กิจกรรมการบริหารจัดการขยะทั่วไปของโรงเรียนบ้านxxxาวใต้
2.3.1 กิจกรรมคัดแยกขยะ
ขั้นตอนที่ 1 ร่วมศึกษา ครูและนักเรียนโรงเรียนบ้านxxxาวใต้ร่วมกันศึกษาปัญหาที่เกิดจากการขยะทั่วไป
ขั้นตอนที่ 2 ร่วมวางแผน ครูและนักเรียนโรงเรียนบ้านxxxาวใต้ร่วมกันวางแผนการบริหารจัดการในการคัดแยกขยะ
ขั้นตอนที่ 3 ร่วมปฏิบัติ ครูและนักเรียนโรงเรียนบ้านxxxาวใต้ร่วมกันทำสัญลักษณ์แยกขยะติดบริเวณถังขยะแต่ละถัง จัดจุดทิ้งขยะให้เป็นระเบียบ
ขั้นตอนที่ 4 ร่วมสรุป ครูและนักเรียนโรงเรียนบ้านxxxาวใต้ร่วมกันสรุปหลังจากที่จัดทำสัญลักษณ์แยกขยะและจัดจุดทิ้งขยะแล้ว เกิดผลดีคือนักเรียนทิ้งขยะโดยแยกตามประเภทของขยะ ไม่ค่อยมีขยะเรี่ยราด
ขั้นตอนที่ 5 ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ครูและนักเรียนโรงเรียนบ้านxxxาวใต้ร่วมกันแลกเปลี่ยนความคิดเห็นว่ายังเกิดปัญหาขยะล้นถัง จึงควรต้องมีการเพิ่มจุดทิ้งขยะ และขยะทั่วไปที่ไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้คงต้องดำเนินการเผาทำลาย ที่เตาเผาขยะ
2.3.2 กิจกรรมเปลี่ยนขยะเป็นเงิน
ขั้นตอนที่ 1 ร่วมศึกษา ครูและนักเรียนโรงเรียนบ้านxxxาวใต้ร่วมกันศึกษาปัญหาขยะที่มีมาก ล้นถังซึ่งบางชิ้นเป็นขยะที่สามารถนำมารีไซเคิลได้
ขั้นตอนที่ 2 ร่วมวางแผน ครูและนักเรียนโรงเรียนบ้านxxxาวใต้ร่วมกันวางแผนกิจกรรมเปลี่ยนขยะเป็นเงินโดยการสร้างแรงจูงใจให้กับนักเรียนในการนำขยะมาขายให้กับครู
ขั้นตอนที่ 3 ร่วมปฏิบัติ ครูและนักเรียนโรงเรียนบ้านxxxาวใต้ร่วมกันทำกิจกรรมเปลี่ยนขยะเป็นเงิน โดยที่นักเรียนให้ความร่วมมือในการคัดแยกขยะที่สามารถนำมารีไซเคิลได้แล้วนำไปทำความสะอาด เพื่อนำมาขายให้กับครูโดยขยะจำนวน 5 ชิ้น ขายได้ 1 บาท ครูจะเป็นผู้ตรวจสอบว่าขยะสามารถรีไซเคิลได้หรือไม่ ถ้าได้จะจ่ายเงินให้นักเรียน
ขั้นตอนที่ 4 ร่วมสรุป ครูและนักเรียนโรงเรียนบ้านxxxาวใต้ร่วมกันสรุปหลังจากทำกิจกรรมเปลี่ยนขยะเป็นเงินว่าเป็นกิจกรรมที่ดี ทำให้นักเรียนเห็นคุณค่าของขยะ ตระหนักในการนำขยะที่สามารถรีไซเคิลได้มาทำความสะอาดแล้วขายเปลี่ยนเป็นเงิน
ขั้นตอนที่ 5 ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ครูและนักเรียนโรงเรียนบ้านxxxาวใต้ร่วมกันแลกเปลี่ยนความคิดเห็นว่ายังเกิดปัญหาว่ายังมีนักเรียนบางคนไม่รู้ว่าขยะแบบใดบ้างสามารถนำมารีไซเคิลได้ จึงควรมีการให้ความรู้เพิ่มเติม ยกตัวอย่างขยะที่พบบ่อยในโรงเรียนให้เห็นชัดเจน
2.3.3 กิจกรรมกล่องนมมีค่าอย่าทิ้ง
ขั้นตอนที่ 1 ร่วมศึกษา ครูและนักเรียนโรงเรียนบ้านxxxาวใต้ร่วมกันศึกษาปัญหากล่องนมที่นักเรียนบางคนไม่ยอมล้าง แอบนำไปทิ้ง
ขั้นตอนที่ 2 ร่วมวางแผน ครูและนักเรียนโรงเรียนบ้านxxxาวใต้ร่วมกันวางแผนกิจกรรมกล่องนมมีค่าอย่าทิ้ง โดยการให้ความรู้ว่ากล่องนมมีประโยชน์ด้านใดบ้าง
ขั้นตอนที่ 3 ร่วมปฏิบัติ ครูและนักเรียนโรงเรียนบ้านxxxาวใต้ร่วมกันทำกิจกรรมกล่องนมมีค่าอย่าทิ้ง โดยครูให้ความรู้เกี่ยวกับประโยชน์ของกล่องนม ให้นักเรียนรับชม สื่อออนไลน์ คลิปวีดีโอ ในการสร้างคุณค่าให้กล่องนม เช่น การประดิษฐ์ตะกร้าจากกล่องนม การประดิษฐ์มู่ลี่จากหลอดดูดนม เป็นต้น
ขั้นตอนที่ 4 ร่วมสรุป ครูและนักเรียนโรงเรียนบ้านxxxาวใต้ร่วมกันสรุปหลังจากทำกิจกรรมกล่องนมมีค่าอย่าทิ้ง ว่านักเรียนเกิดความตระหนักและเห็นความสำคัญของกล่องนมมากขึ้น ไม่แอบเอาไปทิ้ง และมีความกระตือรือร้นในการทำกิจกรรมประดิษฐ์ตะกร้าจากกล่องนม และมู่ลี่จากหลอดดูดนม
ขั้นตอนที่ 5 ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ครูและนักเรียนโรงเรียนบ้านxxxาวใต้ร่วมกันแลกเปลี่ยนความคิดเห็นว่ายังเกิดปัญหานักเรียนบางคนล้างกล่องนมไม่สะอาดจึงต้องมีการตรวจสอบขั้นตอนการล้างให้ละเอียดขึ้น
2.3.4 กิจกรรมประดิษฐ์ของเล่นของใช้จากเศษวัสดุ
ขั้นตอนที่ 1 ร่วมศึกษา ครูและนักเรียนโรงเรียนบ้านxxxาวใต้ร่วมกันศึกษาปัญหาขยะเศษวัสดุ ขวดพลาสติก กิ่งไม้ แกนกระดาษทิชชู่ ถุงใส่อาหารพลาสติกแข็ง มีมากไม่เกิดประโยชน์
ขั้นตอนที่ 2 ร่วมวางแผน ครูและนักเรียนโรงเรียนบ้านxxxาวใต้ร่วมกันวางแผนกิจกรรมประดิษฐ์ของเล่นของใช้จากเศษวัส