LASTEST NEWS

30 ก.ค. 2567โรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราช รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาอังกฤษ เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่วันที่ 2-8 สิงหาคม 2567 30 ก.ค. 2567สพฐ.ผ่านการประเมิน ITA ปี 67 ได้คะแนนสูงสุดใน ศธ. 30 ก.ค. 2567สพฐ.มีหนังสือด่วนที่สุด ! แจ้งการโอนงบประมาณเหลือจ่ายฯ งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นฯ สำหรับจ้างเหมาบริการนักการภารโรง คืนส่วนกลาง 30 ก.ค. 2567ร้อง"บิ๊กอุ้ม"-กมธ.สส.ยังยั้ง ศธ.ปรับหลักสูตร-อ้างครูฯลงชื่อคัดค้านเพียบ 30 ก.ค. 2567สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA) เปิดรับสมัครวุฒิปริญญาโททุกสาขา เงินเดือน 22,750 บาท ตั้งแต่บัดนี้-20 สิงหาคม 2567 29 ก.ค. 2567ชี้ครู 80% เริ่มเข้าใจการเรียนการสอนแบบ Active Learning 29 ก.ค. 2567โรงเรียนอนุบาลนางรอง(สังขกฤษณ์อนุสรณ์) รับสมัครครูอัตราจ้าง เงินเดือน 9,140 บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 1 ส.ค.2567 29 ก.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ (ต่อ) 29 ก.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 28 ก.ค. 2567รัฐบาล เชิญชวนส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ ประชาชน สวมใส่เสื้อเหลืองตราสัญลักษณ์ฯ ทุกวันจันทร์โดยพร้อมเพรียง

การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย

usericon

ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีพหุปัญญา ร่วมกับสื่อสังคมออนไลน์
(Social Media) เพื่อสร้างเสริมทักษะการอ่านจับใจความ และการเขียนสรุปความ สำหรับนักเรียนชั้น
ประถมศึกษาปีที่ 3        
ผู้วิจัย นางสาวทองใส คำมี ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
โรงเรียนเทศบาลบ้านสามเหลี่ยม สำนักการศึกษา เทศบาลนครขอนแก่น
ปีที่พิมพ์ 2562
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานสำหรับการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ รายวิชา
ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 2) สร้างและพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย โดยประยุกต์ใช้
ทฤษฎีพหุปัญญาร่วมกับสื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) เพื่อสร้างเสริมทักษะการอ่านจับใจความและการเขียนสรุป
ความ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 3) ศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย โดยประยุกต์
ใช้ทฤษฎีพหุปัญญาร่วมกับสื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) เพื่อสร้างเสริมทักษะการอ่านจับใจความและการเขียนสรุป
ความ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และ 4) ประเมินความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อ
การเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีพหุปัญญาร่วมกับสื่อสังคมออนไลน์ (Social
Media) เพื่อสร้างเสริมทักษะการอ่านจับใจความและการเขียนสรุปความ ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยและพัฒนา (Research
and Development) กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/1 ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา
2562 โรงเรียนเทศบาลบ้านสามเหลี่ยม สำนักการศึกษา เทศบาลนครขอนแก่น จำนวน 32 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
ประกอบด้วย 1) แบบสัมภาษณ์ 2) แบบวิเคราะห์เอกสาร 3) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ภาษา
ไทย โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีพหุปัญญาร่วมกับสื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) เพื่อสร้างเสริมทักษะการอ่านจับใจ
ความและการเขียน สรุปความ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 14 แผน 4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียน เป็นแบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 3 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ และแบบอัตนัย ชนิดแบบวัดภาคปฏิบัติ จำนวน 2
ข้อ และ 5) แบบสอบถามความพึงพอใจ เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 3 ระดับ จำนวน 10 ข้อ
การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t – test) แบบ Dependent และการ
วิเคราะห์เนื้อหา
สรุปผลการวิจัย
1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานสำหรับการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ รายวิชาภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถม
ศึกษาปีที่ 3 พบว่า ครูสอนแบบบรรยาย ขาดเทคนิคการสอน และขาดสื่อที่เร้าความสนใจ นักเรียนอ่านและจดบันทึกตาม
ครู เปิดโอกาสให้นักเรียนได้มีการแลกเปลี่ยนระหว่างกลุ่มเพื่อนและครูน้อย แนวคิดและทฤษฎีนำมาประยุกต์ใช้คือ
ทฤษฎีพหุปัญหา ที่เชื่อว่า สติปัญญาของมนุษย์มีหลายด้านที่มีความสัมพันธ์เท่าเทียมกัน ขึ้นอยู่กับว่าใครจะโดดเด่น
ในด้านไหนบ้าง แล้วแต่ละด้านผสมผสานกัน แสดงออกมาเป็นความสามารถในเรื่องใด เป็นลักษณะเฉพาะตัวของแต่ละ
บุคคล พหุปัญญา 8 ด้าน คือ ปัญญาด้านภาษา ปัญญาด้านตรรกะและคณิตศาสตร์ ปัญญาด้านมิติสัมพันธ์ ปัญญาด้าน
ร่างกายและการเคลื่อนไหว ปัญญาด้านดนตรี ปัญญาด้านมนุษยสัมพันธ์ ปัญญาด้านการเข้าใจ ตนเอง ปัญญาด้านการ
เข้าใจธรรมชาติ สืบค้นข้อมูล นำเสนอข้อมูลและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) และใช้ใน
การกระตุ้นให้นักเรียนเกิดความสนใจในการเรียนรู้ ซึ่งจะส่งผลต่อการพัฒนาความสามารถด้านการอ่านจับใจความและ
เขียนสรุปความของนักเรียน
2. การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีพหุปัญญาร่วมกับสื่อสังคมออนไลน์ (Social
Media) เพื่อสร้างเสริมทักษะการอ่านจับใจความและการเขียนสรุปความ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มี
วัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐาน สำหรับการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ รายวิชาภาษาไทย
สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีชื่อเรีกว่า MNP3RPE Model มีองค์ประกอบ คือ หลักการ วัตถุประสงค์ ขั้นตอน
การเรียนรู้ สาระความรู้และทักษะกระบวนการ สิ่งที่ส่งเสริมการเรียนรู้ระบบสังคม ระบบสนับสนุน และหลักการตอบสนอง
ซึ่งขั้นตอนการเรียนรู้มี 5 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นกระตุ้นความสนใจ (Motivation : M) 2) ขั้นเรียนรู้เนื้อหาใหม่ (New
Content : N) 3) ขั้นลงมือปฏิบัติ (Practice : P) โดยมีกิจกรรมย่อย 3 กิจกรรม คือ 3.1) กิจกรรมอ่านละเอียด (Read :
R1) 3.2) กิจกรรมจดบันทึก (Record : R2) และ 3.3) กิจกรรมเขียนสรุปใจความสำคัญ (Recite : R3) 4) ขั้นนำเสนอ
(Presentation : P) และ 5) ขั้นประเมินผล (Evaluation : E) และผลการประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการจัดการ
เรียนรู้ โดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน โดยรวมอยู่ในระดับความเหมาะสมมากที่สุด ( = 4.62, S.D. = 0.22)
3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทยด้านการอ่านจับใจความและการเขียนสรุปความของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
หลังเรียนโดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบ การจัดการเรียนรู้ภาษาไทย โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีพหุปัญญาร่วมกับ
สื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) เพื่อสร้างเสริมทักษะการอ่านจับใจความและการเขียนสรุปความ สูงกว่าก่อนเรียน
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการเรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย โดย
ประยุกต์ใช้ทฤษฎีพหุปัญญาร่วมกับสื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) เพื่อสร้างเสริมทักษะการอ่านจับใจความและการ
เขียนสรุปความ อยู่ในระดับมาก ( = 2.59, S.D. = 0.27)
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^