การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์
ผู้วิจัย นางลำเพย ฟักเขียว
สถานศึกษา โรงเรียนเทศบาล ๔ (วัดมหาธาตุวรวิหาร) สังกัดเทศบาลเมือราชบุรี จังหวัดราชบุรี
ปีการศึกษา 2562
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนการสอนตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบความสามรถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ก่อนและหลังเรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ 3) ศึกษาดัชนีประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนการสอนตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 4) ศึกษาเจตคติต่อวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร และ 5) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อรูปแบบการเรียนการสอนตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร ประชากรที่ใช้ในการวิจัย เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาล ๔ (วัดมหาธาตุวรวิหาร) สังกัดเทศบาลเมืองราชบุรี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 2 ห้องเรียน รวมทั้งสิ้น 70 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1 จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวนนักเรียน 35 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster random sampling) ด้วยวิธีการจับสลากชื่อห้องเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย รูปแบบการเรียนการสอนตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบความสามารถทางการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร แบบวัดเจตคติต่อวิชาภาษาอังกฤษ และแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ร้อยละ (%) และการทดสอบค่า t-test dependent และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1. รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นมีชื่อเรียกว่า ARCRA Model มีองค์ประกอบคือ หลักการ
วัตถุประสงค์ กระบวนการเรียนการสอน ระบบสังคม หลักการตอบสนองและระบบสนับสนุนซึ่งมีกระบวนการเรียนการสอน 5 ขั้นตอน ประกอบด้วย 1) ขั้นกระตุ้นความสนใจ (Attention: A) 2) ขั้นทบทวนความรู้เดิม (Review Prior Knowledge: R) 3) ขั้นสร้างความรู้ใหม่ (Create Knowledge: C) 4) ขั้นสะท้อนความรู้ (Reflection of Knowledge: R) 5) ขั้นประยุกต์ใช้ (Application: A) ผลตรวจสอบคุณภาพจากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 ท่าน ได้ค่าความเหมาะสมของรูปแบบการเรียนการสอนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.57 ซึ่งมีความเหมาะสมมากที่สุดและผลการหาประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนการสอนตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์เพื่อส่งเสริมความสามารถทางการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.15/84.43 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้
2. ความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนด้วย
รูปแบบการเรียนการสอนตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยที่สำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. ค่าดัชนีประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนการสอนตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อส่งเสริม
ความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารมีค่าเท่ากับ 0.6652 แสดงว่านักเรียนมีความก้าวหน้าคิดเป็นร้อยละ 66.52
4. เจตคติต่อวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยรวมนักเรียนมีเจตคติต่อวิชา
ภาษาอังกฤษอยู่ในระดับดี ( = 4.29, S.D. = 0.29)
5. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการเรียนการสอนตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ช่วย
ส่งเสริมความสามารถทางการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร ภาพรวมพบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการเรียนการสอนตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.79, S.D. = 0.09)