LASTEST NEWS

30 ก.ค. 2567โรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราช รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาอังกฤษ เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่วันที่ 2-8 สิงหาคม 2567 30 ก.ค. 2567สพฐ.ผ่านการประเมิน ITA ปี 67 ได้คะแนนสูงสุดใน ศธ. 30 ก.ค. 2567สพฐ.มีหนังสือด่วนที่สุด ! แจ้งการโอนงบประมาณเหลือจ่ายฯ งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นฯ สำหรับจ้างเหมาบริการนักการภารโรง คืนส่วนกลาง 30 ก.ค. 2567ร้อง"บิ๊กอุ้ม"-กมธ.สส.ยังยั้ง ศธ.ปรับหลักสูตร-อ้างครูฯลงชื่อคัดค้านเพียบ 30 ก.ค. 2567สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA) เปิดรับสมัครวุฒิปริญญาโททุกสาขา เงินเดือน 22,750 บาท ตั้งแต่บัดนี้-20 สิงหาคม 2567 29 ก.ค. 2567ชี้ครู 80% เริ่มเข้าใจการเรียนการสอนแบบ Active Learning 29 ก.ค. 2567โรงเรียนอนุบาลนางรอง(สังขกฤษณ์อนุสรณ์) รับสมัครครูอัตราจ้าง เงินเดือน 9,140 บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 1 ส.ค.2567 29 ก.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ (ต่อ) 29 ก.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 28 ก.ค. 2567รัฐบาล เชิญชวนส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ ประชาชน สวมใส่เสื้อเหลืองตราสัญลักษณ์ฯ ทุกวันจันทร์โดยพร้อมเพรียง

เผยแพร่ผลงานทางวิชาการ นายอภิวัฒน์ จตุรพันธุ์สถาพร

usericon

ชื่อเรื่อง        การพัฒนารูปแบบการสอนแบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD ประกอบชุดกิจกรรม
การเรียนรู้ เรื่อง โรคติดต่อและโรคไม่ติดต่อ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและ
พลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ผู้รายงาน    นายอภิวัฒน์ จตุรพันธุ์สถาพร
พุทธศักราช    2563

บทคัดย่อ

    การรายงานครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อพัฒนารูปแบบการสอนแบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD ประกอบชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง โรคติดต่อและโรคไม่ติดต่อ กลุ่มสาระการเรียนรู้
สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 1) เพื่อหาประสิทธิภาพของการพัฒนารูปแบบ
การสอนแบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD ประกอบชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง โรคติดต่อและ
โรคไม่ติดต่อ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของการพัฒนารูปแบบการสอนแบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD ประกอบชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง โรคติดต่อและโรคไม่ติดต่อ กลุ่มสาระ
การเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนจากการพัฒนารูปแบบการสอนแบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD ประกอบชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง โรคติดต่อและโรคไม่ติดต่อ กลุ่มสาระ
การเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการพัฒนารูปแบบการสอนแบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD ประกอบชุดกิจกรรม
การเรียนรู้ เรื่อง โรคติดต่อและโรคไม่ติดต่อ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ประชากร คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาลจันทบุรี ๒ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 89 คน กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 โรงเรียนเทศบาลเมืองจันทบุรี ๒ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 30 คน โดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ คือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการสอนแบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD ประกอบชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง โรคติดต่อและ
โรคไม่ติดต่อ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2) ชุดกิจกรรม
การเรียนรู้ เรื่อง โรคติดต่อและโรคไม่ติดต่อ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 3 ) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 30 ข้อ ซึ่งมีค่า
ความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.84 และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจ จำนวน 20 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และดัชนีประสิทธิผล
ผลการรายงานปรากฏ ดังนี้
    1. ประสิทธิภาพของการพัฒนารูปแบบการสอนแบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD ประกอบชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง โรคติดต่อและโรคไม่ติดต่อ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาลจันทบุรี ๒ เท่ากับ 87.36/87.67 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้
2. ค่าดัชนีประสิทธิผลของการพัฒนารูปแบบการสอนแบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD ประกอบชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง โรคติดต่อและโรคไม่ติดต่อ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและ
พลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีค่าเท่ากับ 0.7218 แสดงว่านักเรียนมีความก้าวหน้าในการเรียนรู้ เพราะมีคะแนนเพิ่มขึ้นร้อยละ 72.18
3. คะแนนประเมินผลหลังการพัฒนารูปแบบการสอนแบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD ประกอบชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง โรคติดต่อและโรคไม่ติดต่อ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและ
พลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีความแตกต่างกับคะแนนประเมินผลก่อนการใช้ชุดกิจกรรม
การเรียนรู้ เรื่อง โรคติดต่อและโรคไม่ติดต่อ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 นั่นคือ การจัดการเรียนการสอน เรื่อง โรคติดต่อและโรคไม่ติดต่อ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีการนำชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง โรคติดต่อและโรคไม่ติดต่อ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและ
พลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มาประกอบการจัดการเรียนรู้ นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงขึ้นกว่าก่อนเรียน เรื่อง โรคติดต่อและโรคไม่ติดต่อ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
4. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยรูปแบบการสอนแบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD ประกอบชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง โรคติดต่อและโรคไม่ติดต่อ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในระดับพึงพอใจมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ย 4.61 ทั้งนี้เพราะ
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการสอนแบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD ประกอบชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง โรคติดต่อและโรคไม่ติดต่อ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนสูงขึ้น

ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^