LASTEST NEWS

26 พ.ย. 2567สพฐ. เข้ม สั่งครูล่วงละเมิดนักเรียนออกจากราชการทันที ย้ำดูแลสภาพจิตใจเด็กเป็นสำคัญ 26 พ.ย. 2567สพฐ.เล็งทำบัตรสุขภาพนักเรียนออนไลน์ 26 พ.ย. 2567ทำไมครูส่วนใหญ่ ไม่สนใจสมัครสอบเป็นศึกษานิเทศก์ 26 พ.ย. 2567ก.พ.ยังนิ่งปมทบทวนจ้างเหมาบริการ “ธนุ” ไม่รอแล้วสั่งทำสัญญาจ่ายเงิน ตามระเบียบกรมบัญชีกลาง 25 พ.ย. 2567ล 1932/2567 หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู และที่แก้ไขเพิ่มเติม 25 พ.ย. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย จำนวน 81 อัตรา - รายงานตัว 28 พ.ย. 2567 25 พ.ย. 2567สพป.สมุทรสาคร เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 14 อัตรา รายงานตัว 3 ธันวาคม 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนเมืองสุรินทร์ รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 25-27 พฤศจิกายน 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนบ้านระไซร์(เด่นพัฒนา) รับสมัครครูอัตราจ้าง วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 7,000.- บาท  24 พ.ย. 2567สพป.เพชรบุรี เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 11 อัตรา - รายงานตัว 4 ธันวาคม 2567

การพัฒนารูปแบบบริหารสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมชุมชนแห่งการเรียนรู้

usericon

ชื่อเรื่อง    การพัฒนารูปแบบบริหารสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพที่พัฒนา
สมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนอนุบาลอุดรธานี
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานีเขต 1     
ผู้วิจัย        นายพยัคฆพล รอดชมภู
ตำแหน่ง    ผู้อำนวยการโรงเรียนอนุบาลอุดรธานี
สังกัด        สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1
ปีที่พิมพ์    2564
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1)เพื่อศึกษาสภาพการจัดการเรียนรู้ และความต้องการจำเป็นในการส่งเสริมชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพที่พัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนอนุบาลอุดรธานี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 2) เพื่อสร้างรูปแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพที่พัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนอนุบาลอุดรธานี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 3) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพที่พัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนอนุบาลอุดรธานี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อรูปแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพที่พัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนอนุบาลอุดรธานี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 ใช้รูปแบบการวิจัยและพัฒนา มี 3 ระยะ โดยระยะที่ 1 การศึกษาสภาพการจัดการเรียนรู้ และความต้องการจำเป็นในการส่งเสริมชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพที่พัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนอนุบาลอุดรธานี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 ระยะที่ 2 การสร้างรูปแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพที่พัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนอนุบาลอุดรธานี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 ระยะที่ 3 การศึกษาผลการใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพที่พัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนอนุบาลอุดรธานี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1
ผลการวิจัยพบว่า
     ผู้วิจัยขอนำเสนอผลการศึกษาดังนี้
          1. ผลสภาพการจัดการเรียนรู้ และความต้องการจำเป็นในการส่งเสริมชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพที่พัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนอนุบาลอุดรธานี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 พบว่าสภาพการจัดการเรียนรู้ในการส่งเสริมชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพที่พัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูในศตวรรษที่ 21 นั้นเป็นการจัดการเรียนรู้ตามหน้าที่ปฏิบัติและนโยบายของหน่วยงานราชการในสังกัดเท่านั้น ไม่ได้มุ่งเน้นเป็นความสำเร็จหรือการพัฒนาผลสัมฤทธิ์เท่าที่ควร โดยมีการดำเนินการในระดับปานกลาง ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ(x-bar =3.27, S.D.=0.35) และด้านสื่อและเทคโนโลยี (x-bar =3.15, S.D.=0.61)
2. ผลการสร้างรูปแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพที่พัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนอนุบาลอุดรธานี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 ที่พัฒนาขึ้นมีองค์ประกอบหลักที่สำคัญ ได้แก่ 1)หลักการและเหตุผล 2) วัตถุประสงค์ 3) กระบวนการบริหารจัดการ ( ขั้นตอนที่ 1 การประเมินสภาพ (Assessing : A),ขั้นตอนที่ 2 การวางแผน (Planning : P), ขั้นตอนที่ 3การปฏิบัติการ (Acting : A) การปฏิบัติการมีแนวทาง (1) ระบุความต้องการของผู้เรียนและความสำคัญ, 2) ครูร่วมการวางแผนการเรียนรู้และทดลองใช้, 3) ตรวจสอบแผนและกระบวนการนาไปใช้,4) ปรับปรุงแก้ไขบนพื้นฐานของข้อมูล,5) ศึกษาแนวทางวิธีการสอนและทดลองใช้วิธีการใหม่,6)สะท้อนผลการทางานและพิจารณาแนวทางที่เหมาะสมกับผู้เรียน) ขั้นตอนที่ 4 การนิเทศ (Supervising : S),ขั้นตอนที่ 5 การสะท้อนผล (Reflecting : R ),ขั้นตอนที่ 6 การประเมิน (Evaluation : E)) 4) กลยุทธ์(AIA : Awards, Information Communication Technology , Active Learning) 5)บทบาทผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง (ผู้บริหาร,หัวหน้าฝ่าย/หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้,ครูผู้สอน, ผู้เชี่ยวชาญ) 6) เงื่อนไขความสำเร็จ 7)การกำกับติดตาม ประเมินผล
3. ผลการใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพที่พัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนอนุบาลอุดรธานี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 พบว่าครูกลุ่มเป้าหมายมีความรู้เรื่อง สมรรถนะครูในการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ มากกว่าก่อนใช้รูปแบบบริหารอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.5 นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ O-NET สูงกว่าระดับประเทศทุกรายวิชา
         4. ความพึงพอใจต่อรูปแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพที่พัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนอนุบาลอุดรธานี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 พบว่า กลุ่มเป้าหมายมีค่าเฉลี่ย ( =4.32, S.D.=0.12) ระดับความพึงพอใจอยู่ที่ระดับ ดี

คำสำคัญ: รูปแบบการบริหารสถานศึกษา,การพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูในศตวรรษที่ 21 , การส่งเสริมการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ PLC
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^